คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ภายใต้หลักการและแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ดังนี้
1. หลักการ
กระทรวงการคลังได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและประหยัดพลังงานในระยะยาว จึงเห็นควรให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งได้ทำการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เดิมเป็นอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน สามารถหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนได้ในอัตรา 1.25 เท่าของมูลค่าทรัพย์สิน สำหรับมูลค่าการลงทุน 50 ล้านบาทแรก โดยให้ทยอยหักรายจ่ายดังกล่าวภายใน 5 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นใช้งานได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) อุปกรณ์ประหยัดพลังงานดังกล่าวจะต้องพร้อมใช้งานภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2549
2) ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ฯ จะต้องไม่ได้รับหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาขอรับการสนับสนุนจากโครงการอื่นใดเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
3) การหักรายจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด
2. แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย
การให้สิทธิประโยชน์ตามเสนอ สามารถดำเนินการได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ซึ่งเมื่อร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้วกรมสรรพากรจะดำเนินการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในทันที
3. การวิเคราะห์ผลกระทบ
การดำเนินการข้างต้นจะมีผลกระทบ ดังนี้
3.1 เป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน ซึ่งจะเป็นการประหยัดพลังงานของประเทศในระยะยาว
3.2 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากรประมาณทั้งสิ้น 3,210 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลกระทบจากดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้เงินมาลงทุน อย่างไรก็ดีมาตรการนี้จะช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศจากการนำเข้าพลังงาน อันจะส่งผลดีต่อดุลการชำระเงินและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--
1. หลักการ
กระทรวงการคลังได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและประหยัดพลังงานในระยะยาว จึงเห็นควรให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งได้ทำการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เดิมเป็นอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน สามารถหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนได้ในอัตรา 1.25 เท่าของมูลค่าทรัพย์สิน สำหรับมูลค่าการลงทุน 50 ล้านบาทแรก โดยให้ทยอยหักรายจ่ายดังกล่าวภายใน 5 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นใช้งานได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) อุปกรณ์ประหยัดพลังงานดังกล่าวจะต้องพร้อมใช้งานภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2549
2) ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ฯ จะต้องไม่ได้รับหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาขอรับการสนับสนุนจากโครงการอื่นใดเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
3) การหักรายจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด
2. แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย
การให้สิทธิประโยชน์ตามเสนอ สามารถดำเนินการได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ซึ่งเมื่อร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้วกรมสรรพากรจะดำเนินการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในทันที
3. การวิเคราะห์ผลกระทบ
การดำเนินการข้างต้นจะมีผลกระทบ ดังนี้
3.1 เป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน ซึ่งจะเป็นการประหยัดพลังงานของประเทศในระยะยาว
3.2 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากรประมาณทั้งสิ้น 3,210 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลกระทบจากดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้เงินมาลงทุน อย่างไรก็ดีมาตรการนี้จะช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศจากการนำเข้าพลังงาน อันจะส่งผลดีต่อดุลการชำระเงินและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--