แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
สำนักนายกรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า พ.ศ. …. ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วเสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครายงานว่า เนื่องจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ศึกษาถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า (Product Liability) ขึ้นใช้บังคับภายในประเทศ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นมาตรการป้องกันการผลิต การนำเข้าหรือจำหน่ายสินค้าที่เป็นอันตราย อันเนื่องมาจากการเปิดเสรีทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าได้ง่าย และโดยที่หน่วยงานของรัฐยังไม่สามารถให้การคุ้มครองผู้บริโภคได้เต็มที่ จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายพิเศษที่ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิในการคุ้มครองของตนเองได้ง่ายขึ้น สมอ. จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า พ.ศ. …. ขึ้นโดยมีผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน เมื่อคณะทำงานได้ยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จแล้ว สมอ. จึงได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ประกอบการ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และองค์กรผู้บริโภค ซึ่งต่อมา สมอ. ได้นำข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาไปปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จแล้ว จึงได้ส่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มายังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อพิจารณา และเมื่อได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า พ.ศ. …. แล้วเห็นว่ามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการคุ้มครองผู้บริโภคและยังเป็นการสนับสนุนให้การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการนำหลักการความรับผิดเด็ดขาดมาใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้สินค้า มีผลให้ผู้เสียหายไม่ต้องรับภาระในการพิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายและได้รับการเยียวยาชดใช้ค่าเสียหายได้ง่ายขึ้น
ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า พ.ศ. …. มีสาระสำคัญคือ
1. พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. กำหนดให้ผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายต่อความเสียหายอันเกิดขึ้นจากสินค้าที่ตนผลิต หรือนำเข้า หรือจำหน่าย ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม
3. นำหลักการความรับผิดเด็ดขาดมาใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้สินค้า โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการเป็นผู้รับภาระการพิสูจน์ว่าความเสียหายนั้นมิได้เกิดจากความบกพร่องของสินค้าของตน
4. การฟ้องคดีให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและองค์กรเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ฟ้องคดีแทนได้
5. กำหนดอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไว้แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยให้ใช้สิทธิภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ต้องรับผิด และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ผู้ประกอบการส่งมอบสินค้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า พ.ศ. …. ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วเสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครายงานว่า เนื่องจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ศึกษาถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า (Product Liability) ขึ้นใช้บังคับภายในประเทศ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นมาตรการป้องกันการผลิต การนำเข้าหรือจำหน่ายสินค้าที่เป็นอันตราย อันเนื่องมาจากการเปิดเสรีทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าได้ง่าย และโดยที่หน่วยงานของรัฐยังไม่สามารถให้การคุ้มครองผู้บริโภคได้เต็มที่ จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายพิเศษที่ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิในการคุ้มครองของตนเองได้ง่ายขึ้น สมอ. จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า พ.ศ. …. ขึ้นโดยมีผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน เมื่อคณะทำงานได้ยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จแล้ว สมอ. จึงได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ประกอบการ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และองค์กรผู้บริโภค ซึ่งต่อมา สมอ. ได้นำข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาไปปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จแล้ว จึงได้ส่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มายังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อพิจารณา และเมื่อได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า พ.ศ. …. แล้วเห็นว่ามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการคุ้มครองผู้บริโภคและยังเป็นการสนับสนุนให้การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการนำหลักการความรับผิดเด็ดขาดมาใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้สินค้า มีผลให้ผู้เสียหายไม่ต้องรับภาระในการพิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายและได้รับการเยียวยาชดใช้ค่าเสียหายได้ง่ายขึ้น
ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า พ.ศ. …. มีสาระสำคัญคือ
1. พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. กำหนดให้ผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายต่อความเสียหายอันเกิดขึ้นจากสินค้าที่ตนผลิต หรือนำเข้า หรือจำหน่าย ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม
3. นำหลักการความรับผิดเด็ดขาดมาใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้สินค้า โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการเป็นผู้รับภาระการพิสูจน์ว่าความเสียหายนั้นมิได้เกิดจากความบกพร่องของสินค้าของตน
4. การฟ้องคดีให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและองค์กรเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ฟ้องคดีแทนได้
5. กำหนดอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไว้แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยให้ใช้สิทธิภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ต้องรับผิด และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ผู้ประกอบการส่งมอบสินค้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ค. 2543--
-สส-