ทำเนียบรัฐบาล--5 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ รายงานผลการจำหน่ายกิจการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2542 โดยคัดเลือกธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ เป็นผู้ร่วมลงทุนในธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ซึ่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ขายหุ้นธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,484,998,000,000 หุ้น ให้แก่ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ ในราคา 15,089,524,030 บาท และได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสิน จำกัด
กระทรวงการคลังรายงานผลการจำหน่ายกิจการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแนวทางในการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 ซึ่งตามแผนดังกล่าวกำหนดให้ธนาคารแหลมทอง จำกัด (มหาชน) ซึ่งทางการเข้าแทรกแซงรวมกิจการกับธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) โดยรับผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้สินทรัพย์สาขา และพนักงานทั้งหมดของธนาคารแหลมทอง จำกัด (มหาชน) มาเป็นของธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน)
2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแนวทางการชดเชยลูกหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ทางการเข้าแทรกแซงเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 เพื่อเป็นแนวทางในการให้ผู้ลงทุนเข้ามาเสนอราคาซื้อกิจการของธนาคารพาณิชย์ที่ทางการเข้าแทรกแซง ซึ่งรวมทั้งธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ด้วย และเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางในการจำหน่ายกิจการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ไว้เป็น 2 แนวทาง
3. กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งที่ 93/2542 ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ซึ่งคณะกรรมการได้เสนอผลการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2542 โดยคัดเลือกธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ เป็นผู้ร่วมลงทุนในธนาคาร รัตนสิน จำกัด (มหาชน)
4. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ขายหุ้นธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,484,998,000,000 หุ้น ให้แก่ ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ ในราคา 15,089,524,030 บาท
5. การจำหน่ายกิจการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน)เป็นไปตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดย ธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสิน จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) มีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสิน ได้ลงนามในสัญญา Loan Transfer Agreement เพื่อรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพและสินทรัพย์อื่นจากธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ด้วยการออกตั๋วเงินระยะยาวที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นผู้อาวัล และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับโอนหุ้นบริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสินทั้งจำนวนแล้ว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542
6. บริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสิน ได้ลงนามในสัญญา Loan Transfer Agreement เพื่อว่าจ้างธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับโอนมาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) จะร่วมแบ่งรับผลกำไรขาดทุนจากการเรียกเก็บหนี้ด้วย โดยหากไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้ตามเป้าหมาย จะแบ่งรับผลขาดทุนในอัตราร้อยละ 15 ของส่วนที่เรียกเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และจะแบ่งรับผลกำไรในอัตราร้อยละ 5 ของส่วนที่เรียกเก็บได้เกินเป้าหมาย
7. เมื่อจำหน่ายหุ้นธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) แล้ว กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะถือหุ้นในธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วนร้อยละ 24.97 ของทุนชำระแล้ว ซึ่งเป็นไปตามสัญญา Shareholders Agreement ที่ได้กำหนดเงื่อนไขในการถือหุ้ว่า ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จะต้องถือหุ้นในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของหุ้นทั้งหมดเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี นับแต่วันลงนามในสัญญา โดยหลังจาก 1 ปีนับแต่วันลงนามในสัญญา ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ มีสิทธิที่จะโอนหุ้นในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 24 ให้กับบริษัทในเครือที่ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ เป็นเจ้าของทั้งหมด หรือเป็น Holding Company ของธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะเป็นผู้กระจายหุ้นในส่วนของตนร้อยละ 10 เสนอขายให้ประชาชนเพื่อให้หุ้นของธนาคารดำรงสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
8. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ลงนามในสัญญา Radanatun Agreement เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 เพื่อตกลงรับซื้อหุ้นบริษัทเงินทุนรัตนทุน จำกัด จากธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ตามมูลค่าที่ตราไว้ในราคา 499,999,850 บาท ภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่ลงนามในสัญญา โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะดำเนินการหาผู้ซื้อ และโอนสิทธิการซื้อหุ้นบริษัทเงินทุนรัตนทุน จำกัด ให้ผู้ซื้อ โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะรับส่วนต่างของราคาที่ขายให้ผู้ซื้อ กับราคาที่ตกลงซื้อจากธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนี้บริษัทเงินทุนเกียรตินาคินได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นสามัญ บริษัทเงินทุนรัตนทุน จำกัด จำนวน 49,999,985 หุ้น ในราคา 1,385,000,000 บาท กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2543 แล้ว
9. ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีระบบการกำกับดูแลโดยกำหนดให้ผู้บริหาร AMC จะต้องนำเสนอแนวนโยบายและผลการดำเนินงานให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยจะติดตามวิเคราะห์ความคืบหน้าในลักษณะ Off-Site Examination รวมทั้งมีการติดตามในรูปแบบ Management Monitoring ทุกรายไตรมาส และในขณะเดียวกันก็จัดให้มีระบบการติดตามตรวจสอบแบบ On-Site Examination ด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ รายงานผลการจำหน่ายกิจการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2542 โดยคัดเลือกธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ เป็นผู้ร่วมลงทุนในธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ซึ่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ขายหุ้นธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,484,998,000,000 หุ้น ให้แก่ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ ในราคา 15,089,524,030 บาท และได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสิน จำกัด
กระทรวงการคลังรายงานผลการจำหน่ายกิจการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแนวทางในการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 ซึ่งตามแผนดังกล่าวกำหนดให้ธนาคารแหลมทอง จำกัด (มหาชน) ซึ่งทางการเข้าแทรกแซงรวมกิจการกับธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) โดยรับผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้สินทรัพย์สาขา และพนักงานทั้งหมดของธนาคารแหลมทอง จำกัด (มหาชน) มาเป็นของธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน)
2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแนวทางการชดเชยลูกหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ทางการเข้าแทรกแซงเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 เพื่อเป็นแนวทางในการให้ผู้ลงทุนเข้ามาเสนอราคาซื้อกิจการของธนาคารพาณิชย์ที่ทางการเข้าแทรกแซง ซึ่งรวมทั้งธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ด้วย และเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางในการจำหน่ายกิจการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ไว้เป็น 2 แนวทาง
3. กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งที่ 93/2542 ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ซึ่งคณะกรรมการได้เสนอผลการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2542 โดยคัดเลือกธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ เป็นผู้ร่วมลงทุนในธนาคาร รัตนสิน จำกัด (มหาชน)
4. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ขายหุ้นธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,484,998,000,000 หุ้น ให้แก่ ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ ในราคา 15,089,524,030 บาท
5. การจำหน่ายกิจการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน)เป็นไปตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดย ธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสิน จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) มีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสิน ได้ลงนามในสัญญา Loan Transfer Agreement เพื่อรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพและสินทรัพย์อื่นจากธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ด้วยการออกตั๋วเงินระยะยาวที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นผู้อาวัล และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับโอนหุ้นบริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสินทั้งจำนวนแล้ว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542
6. บริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสิน ได้ลงนามในสัญญา Loan Transfer Agreement เพื่อว่าจ้างธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับโอนมาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) จะร่วมแบ่งรับผลกำไรขาดทุนจากการเรียกเก็บหนี้ด้วย โดยหากไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้ตามเป้าหมาย จะแบ่งรับผลขาดทุนในอัตราร้อยละ 15 ของส่วนที่เรียกเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และจะแบ่งรับผลกำไรในอัตราร้อยละ 5 ของส่วนที่เรียกเก็บได้เกินเป้าหมาย
7. เมื่อจำหน่ายหุ้นธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) แล้ว กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะถือหุ้นในธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วนร้อยละ 24.97 ของทุนชำระแล้ว ซึ่งเป็นไปตามสัญญา Shareholders Agreement ที่ได้กำหนดเงื่อนไขในการถือหุ้ว่า ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จะต้องถือหุ้นในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของหุ้นทั้งหมดเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี นับแต่วันลงนามในสัญญา โดยหลังจาก 1 ปีนับแต่วันลงนามในสัญญา ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ มีสิทธิที่จะโอนหุ้นในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 24 ให้กับบริษัทในเครือที่ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ เป็นเจ้าของทั้งหมด หรือเป็น Holding Company ของธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะเป็นผู้กระจายหุ้นในส่วนของตนร้อยละ 10 เสนอขายให้ประชาชนเพื่อให้หุ้นของธนาคารดำรงสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
8. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ลงนามในสัญญา Radanatun Agreement เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 เพื่อตกลงรับซื้อหุ้นบริษัทเงินทุนรัตนทุน จำกัด จากธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ตามมูลค่าที่ตราไว้ในราคา 499,999,850 บาท ภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่ลงนามในสัญญา โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะดำเนินการหาผู้ซื้อ และโอนสิทธิการซื้อหุ้นบริษัทเงินทุนรัตนทุน จำกัด ให้ผู้ซื้อ โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะรับส่วนต่างของราคาที่ขายให้ผู้ซื้อ กับราคาที่ตกลงซื้อจากธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนี้บริษัทเงินทุนเกียรตินาคินได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นสามัญ บริษัทเงินทุนรัตนทุน จำกัด จำนวน 49,999,985 หุ้น ในราคา 1,385,000,000 บาท กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2543 แล้ว
9. ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีระบบการกำกับดูแลโดยกำหนดให้ผู้บริหาร AMC จะต้องนำเสนอแนวนโยบายและผลการดำเนินงานให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยจะติดตามวิเคราะห์ความคืบหน้าในลักษณะ Off-Site Examination รวมทั้งมีการติดตามในรูปแบบ Management Monitoring ทุกรายไตรมาส และในขณะเดียวกันก็จัดให้มีระบบการติดตามตรวจสอบแบบ On-Site Examination ด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-