ทำเนียบรัฐบาล--11 ม.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการประชุม APEC Privatisation Forum (APEC-PF) ครั้งที่ 1 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 15 - 16 พฤศจิกายน 2542 ณ โรงแรม Le Royal Meridien กรุงเทพฯเป็นการจัดประชุมครั้งแรกภายใต้กรอบความร่วมมือเอเปค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับผิดชอบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในภาคราชการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในกิจการสาธารณูปโภคของประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิก APEC รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือ และส่งเสริมการลงทุนในกิจกรรมการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และนำไปสู่การกำหนดหลักการสำคัญของการแปรรูป (Principle of Best Practice) ในแต่ละหัวข้อ (Session) และหลักการดังกล่าวจะนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีคลัง APEC เพื่อใหัสัตยาบันต่อไป ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการแข่งขัน (Relationship between Privatisation andCompetition)
หลักการที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมการแข่งขันควบคู่ไปกับการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จะเป็นการเพิ่มประโยชน์แก่ผู้บริโภคและระบบเศรษฐกิจโดยรวม
2. ข้อดีและข้อเสียของการให้เอกชนเข้าร่วมการงานในรูปแบบของสัญญา (Contracting as a form of PrivateParticipation : Upsides and Downsides)
หลักการที่ 2 การทำสัญญาสัมปทานระยะยาวเป็นแนวทางที่จะเพิ่มบทบาทภาคเอกชนให้มาเข้ามาร่วมดำเนินงานในกิจการที่ผูกขาดโดยธรรมชาติ
หลักการที่ 3 ควรดำเนินการพิจารณาอย่างรอบคอบว่า การทำสัญญาระยะยาวมิได้มีผลกระทบต่อการดำเนินการแข่งขันและการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการอื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักการที่ 4 การพิจารณาให้มีความโปร่งใส และการบริหารจัดการที่ดี เป็นสิ่งสำคัญก่อนที่จะมีการทำสัญญา
3. องค์กรกำกับดูแลและการแข่งขัน (Regulators and Competitions)
หลักการที่ 5 ความจำเป็นในการจัดให้มีองค์กรกำกับดูแลรายสาขาจะลดลงหรือหมดไปเมื่อตลาดมีการแข่งขันเพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและอื่น ๆ
หลักการที่ 6 การกำหนดเครื่องมือในการกำกับดูแลและองค์กรการกำกับดูแลควรมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
หลักการที่ 7 เมื่อมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลควบคู่กับองค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลทางด้านการแข่งขันควรต้องมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลให้แคบลง โดยทั้งสององค์กรควรมีหลักการเพื่อส่งเสริมการแข่งขัน
4. การลดความเสี่ยงของการกำกับดูแล (Minimizing Regulatory Risks)
หลักการที่ 8 การประเมินความเสี่ยงของนักลงทุนขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ คือ นโยบายทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคการบริหารจัดการ และความน่าเชื่อถือของรัฐบาล โดยความเสี่ยงนั้นสามารถทำให้ลดลงได้โดยผ่านกระบวนการสร้างความน่าเชื่อถือการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ การปฏิรูปกฎกระเบียบและเงื่อนไขทางกฎหมาย
หลักการที่ 9 องค์กรกำกับดูแลควรมีการดำเนินงานอย่างเป็นอิสระ และโปร่งใส ภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน
หลักการดังกล่าว ตัวแทนของประเทศต่าง ๆ จะนำกลับไปปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศของตน และประเทศไทยในฐานะฝ่ายเลขานุการการประชุมในครั้งนี้ จะนำร่างหลักการขององค์กรกำกับดูแลและการแข่งขัน (Regulators and Competitions) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการทางด้านการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิก APEC เพื่อให้กรอบหลักการนั้นมีความสอดคล้องกัน เนื่องจากคณะกรรมการดังกล่าวได้เสนอกรอบเกี่ยวกับองค์กรกำกับดูแลและการแข่งขันเข้าสู่การประชุมระดับผู้นำ APEC ปี พ.ศ. 2542 ณ เมืองโอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ก่อนที่จะมีการนำเสนอขอสัตยาบันจากการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังเอเปค(APEC Finance Minister Meeting) ต่อไป
และหลังจากการประชุม APEC - PF ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรเพิ่มวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม APEC - PF อีก 1 ข้อ ตามข้อเสนอของผู้แทนธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) คือการกระตุ้นให้เกิดหลักการสำคัญในการบริหารจัดการภายในรัฐวิสหกิจของกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปค
สำหรับการประชุม APEC - PF ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นในปี ค.ศ. 2000 จะมีขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย ประมาณเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคม 2543
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 มกราคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการประชุม APEC Privatisation Forum (APEC-PF) ครั้งที่ 1 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 15 - 16 พฤศจิกายน 2542 ณ โรงแรม Le Royal Meridien กรุงเทพฯเป็นการจัดประชุมครั้งแรกภายใต้กรอบความร่วมมือเอเปค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับผิดชอบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในภาคราชการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในกิจการสาธารณูปโภคของประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิก APEC รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือ และส่งเสริมการลงทุนในกิจกรรมการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และนำไปสู่การกำหนดหลักการสำคัญของการแปรรูป (Principle of Best Practice) ในแต่ละหัวข้อ (Session) และหลักการดังกล่าวจะนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีคลัง APEC เพื่อใหัสัตยาบันต่อไป ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการแข่งขัน (Relationship between Privatisation andCompetition)
หลักการที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมการแข่งขันควบคู่ไปกับการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จะเป็นการเพิ่มประโยชน์แก่ผู้บริโภคและระบบเศรษฐกิจโดยรวม
2. ข้อดีและข้อเสียของการให้เอกชนเข้าร่วมการงานในรูปแบบของสัญญา (Contracting as a form of PrivateParticipation : Upsides and Downsides)
หลักการที่ 2 การทำสัญญาสัมปทานระยะยาวเป็นแนวทางที่จะเพิ่มบทบาทภาคเอกชนให้มาเข้ามาร่วมดำเนินงานในกิจการที่ผูกขาดโดยธรรมชาติ
หลักการที่ 3 ควรดำเนินการพิจารณาอย่างรอบคอบว่า การทำสัญญาระยะยาวมิได้มีผลกระทบต่อการดำเนินการแข่งขันและการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการอื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักการที่ 4 การพิจารณาให้มีความโปร่งใส และการบริหารจัดการที่ดี เป็นสิ่งสำคัญก่อนที่จะมีการทำสัญญา
3. องค์กรกำกับดูแลและการแข่งขัน (Regulators and Competitions)
หลักการที่ 5 ความจำเป็นในการจัดให้มีองค์กรกำกับดูแลรายสาขาจะลดลงหรือหมดไปเมื่อตลาดมีการแข่งขันเพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและอื่น ๆ
หลักการที่ 6 การกำหนดเครื่องมือในการกำกับดูแลและองค์กรการกำกับดูแลควรมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
หลักการที่ 7 เมื่อมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลควบคู่กับองค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลทางด้านการแข่งขันควรต้องมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลให้แคบลง โดยทั้งสององค์กรควรมีหลักการเพื่อส่งเสริมการแข่งขัน
4. การลดความเสี่ยงของการกำกับดูแล (Minimizing Regulatory Risks)
หลักการที่ 8 การประเมินความเสี่ยงของนักลงทุนขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ คือ นโยบายทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคการบริหารจัดการ และความน่าเชื่อถือของรัฐบาล โดยความเสี่ยงนั้นสามารถทำให้ลดลงได้โดยผ่านกระบวนการสร้างความน่าเชื่อถือการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ การปฏิรูปกฎกระเบียบและเงื่อนไขทางกฎหมาย
หลักการที่ 9 องค์กรกำกับดูแลควรมีการดำเนินงานอย่างเป็นอิสระ และโปร่งใส ภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน
หลักการดังกล่าว ตัวแทนของประเทศต่าง ๆ จะนำกลับไปปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศของตน และประเทศไทยในฐานะฝ่ายเลขานุการการประชุมในครั้งนี้ จะนำร่างหลักการขององค์กรกำกับดูแลและการแข่งขัน (Regulators and Competitions) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการทางด้านการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิก APEC เพื่อให้กรอบหลักการนั้นมีความสอดคล้องกัน เนื่องจากคณะกรรมการดังกล่าวได้เสนอกรอบเกี่ยวกับองค์กรกำกับดูแลและการแข่งขันเข้าสู่การประชุมระดับผู้นำ APEC ปี พ.ศ. 2542 ณ เมืองโอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ก่อนที่จะมีการนำเสนอขอสัตยาบันจากการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังเอเปค(APEC Finance Minister Meeting) ต่อไป
และหลังจากการประชุม APEC - PF ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรเพิ่มวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม APEC - PF อีก 1 ข้อ ตามข้อเสนอของผู้แทนธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) คือการกระตุ้นให้เกิดหลักการสำคัญในการบริหารจัดการภายในรัฐวิสหกิจของกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปค
สำหรับการประชุม APEC - PF ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นในปี ค.ศ. 2000 จะมีขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย ประมาณเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคม 2543
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 มกราคม 2543--