แท็ก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการเตรียมมาตรการรองรับเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ที่ประชุมมีมติให้ช่วยเหลือชดเชยราคาน้ำมันเป็นรายสาขาให้แก่สาขาเกษตร ประมง และขนส่ง ดังนี้
1.1 สาขาเกษตร ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ช่วยเหลือชดเชยราคาน้ำมันดีเซลแก่เกษตรกร จำนวน5.64 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 15 ลิตร/เดือน โดยชดเชยให้ลิตรละ 3 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 - 31 สิงหาคม 2544 โดยใช้งบของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวงเงินประมาณ 754 ล้านบาท
1.2 สาขาประมง ให้กรมประมงช่วยเหลือชดเชยราคาน้ำมันดีเซลให้เรือประมงขนาดเล็กที่มีความยาวไม่เกิน 14 เมตร ในราคาไม่เกินลิตรละ 3 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 - 31 สิงหาคม 2544 โดยใช้งบของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวงเงินประมาณ 321 ล้านบาท
1.3 สาขาขนส่ง
- ให้กระทรวงคมนาคมช่วยเหลือชดเชยราคาน้ำมันดีเซลให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ จำนวนประมาณ 32,000 คัน ในอัตราเฉลี่ย40 ลิตร/วัน/คัน อัตราลิตรละ 1.20 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2544 - 31 สิงหาคม 2544 โดยใช้งบกลาง ในวงเงินประมาณ 140 ล้านบาท
- ให้กระทรวงคมนาคมตรึงราคาค่าโดยสารสำหรับรถโดยสาร ขสมก. รถไฟ และรถรับส่งสินค้าขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
2. โครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
2.1 ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดเพียงสิ้นปี 2544 เพื่อพิจารณาทบทวนผลประโยชน์ที่ได้รับ ปัญหาอุปสรรคและผลเสียที่เกิดขึ้น หากเห็นว่ามีประโยชน์คุ้มค่าจึงพิจารณาขยายเวลาให้ดำเนินการได้ต่อไป
2.2 ให้กรมศุลกากรพิจารณาอนุญาตให้นำน้ำมันไปจำหน่ายในเขตต่อเนื่องในปริมาณจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นแก่การใช้งานของเรือประมง เพื่อป้องกันมิให้มีการนำน้ำมันส่วนเกินการใช้งานของชาวประมงลักลอบขึ้นฝั่งโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้รับทราบ ดังนี้
1. การช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบเป็นรายสาขาโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ได้มีการดำเนินการ ดังนี้
1) ขยายการลดราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลลง 0.25 บาทต่อลิตร ให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จนถึงสิ้นปี 2544 โดยการจำหน่ายน้ำมันผ่านเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันปตท.
2) ขยายการจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้กลุ่มประมงผ่านจุดจ่ายน้ำมันของ ปตท. จนถึงสิ้นปี 2544 โดยให้ส่วนลด 0.60 บาทต่อลิตร
3) ขยายการจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนขอรับส่วนลดจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จนถึงสิ้นปี 2544 โดยให้ส่วนลดเพิ่มเติมจากส่วนลดการค้าปกติสำหรับน้ำมันดีเซล 15 สตางค์ต่อลิตร และน้ำมันเตา 7 สตางค์ต่อลิตร
4) รับทราบข้อเสนอของ ปตท. ที่จะเข้ามาพยุงราคาน้ำมันเป็นการชั่วคราว เพื่อผ่อนคลายความเดือดร้อนของประชาชน โดย ปตท. จะลดราคาน้ำมันเบนซิน 30 สตางค์/ลิตร ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 ทั้งนี้ ปตท.จะใช้วิธีการบริหารค่าการตลาด และในช่วงที่ภาวะตลาดน้ำมันมีความผันผวนมาก ปตท. รับจะไปเจรจากับโรงกลั่นไทยออยล์ในการใช้หลักการบริหารค่าการกลั่น โดยนำส่วนลดค่าการกลั่นมาช่วยตรึงหรือลดราคาขายปลีกน้ำมันมิให้สูงขึ้นเพื่อบริหารความผันผวนของตลาดเป็นการชั่วคราวจนกว่าตลาดน้ำมันเข้าสู่ภาวะปกติ
2. ให้เร่งรัดการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และเห็นผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
3. รับทราบข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพงอย่างถาวรของ สพช. และเห็นชอบให้ สพช.กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งนักวิชาการรับไปศึกษาในรายละเอียดต่อไป
4. ให้ สพช. รับไปเร่งรัดดำเนินการโครงการเอทานอล และโครงการใช้น้ำมันปาล์มหรือพืชอื่น ๆ ทดแทนน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพื่อให้มีผลทางปฏิบัติโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-
1. อนุมัติมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ที่ประชุมมีมติให้ช่วยเหลือชดเชยราคาน้ำมันเป็นรายสาขาให้แก่สาขาเกษตร ประมง และขนส่ง ดังนี้
1.1 สาขาเกษตร ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ช่วยเหลือชดเชยราคาน้ำมันดีเซลแก่เกษตรกร จำนวน5.64 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 15 ลิตร/เดือน โดยชดเชยให้ลิตรละ 3 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 - 31 สิงหาคม 2544 โดยใช้งบของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวงเงินประมาณ 754 ล้านบาท
1.2 สาขาประมง ให้กรมประมงช่วยเหลือชดเชยราคาน้ำมันดีเซลให้เรือประมงขนาดเล็กที่มีความยาวไม่เกิน 14 เมตร ในราคาไม่เกินลิตรละ 3 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 - 31 สิงหาคม 2544 โดยใช้งบของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวงเงินประมาณ 321 ล้านบาท
1.3 สาขาขนส่ง
- ให้กระทรวงคมนาคมช่วยเหลือชดเชยราคาน้ำมันดีเซลให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ จำนวนประมาณ 32,000 คัน ในอัตราเฉลี่ย40 ลิตร/วัน/คัน อัตราลิตรละ 1.20 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2544 - 31 สิงหาคม 2544 โดยใช้งบกลาง ในวงเงินประมาณ 140 ล้านบาท
- ให้กระทรวงคมนาคมตรึงราคาค่าโดยสารสำหรับรถโดยสาร ขสมก. รถไฟ และรถรับส่งสินค้าขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
2. โครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
2.1 ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดเพียงสิ้นปี 2544 เพื่อพิจารณาทบทวนผลประโยชน์ที่ได้รับ ปัญหาอุปสรรคและผลเสียที่เกิดขึ้น หากเห็นว่ามีประโยชน์คุ้มค่าจึงพิจารณาขยายเวลาให้ดำเนินการได้ต่อไป
2.2 ให้กรมศุลกากรพิจารณาอนุญาตให้นำน้ำมันไปจำหน่ายในเขตต่อเนื่องในปริมาณจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นแก่การใช้งานของเรือประมง เพื่อป้องกันมิให้มีการนำน้ำมันส่วนเกินการใช้งานของชาวประมงลักลอบขึ้นฝั่งโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้รับทราบ ดังนี้
1. การช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบเป็นรายสาขาโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ได้มีการดำเนินการ ดังนี้
1) ขยายการลดราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลลง 0.25 บาทต่อลิตร ให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จนถึงสิ้นปี 2544 โดยการจำหน่ายน้ำมันผ่านเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันปตท.
2) ขยายการจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้กลุ่มประมงผ่านจุดจ่ายน้ำมันของ ปตท. จนถึงสิ้นปี 2544 โดยให้ส่วนลด 0.60 บาทต่อลิตร
3) ขยายการจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนขอรับส่วนลดจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จนถึงสิ้นปี 2544 โดยให้ส่วนลดเพิ่มเติมจากส่วนลดการค้าปกติสำหรับน้ำมันดีเซล 15 สตางค์ต่อลิตร และน้ำมันเตา 7 สตางค์ต่อลิตร
4) รับทราบข้อเสนอของ ปตท. ที่จะเข้ามาพยุงราคาน้ำมันเป็นการชั่วคราว เพื่อผ่อนคลายความเดือดร้อนของประชาชน โดย ปตท. จะลดราคาน้ำมันเบนซิน 30 สตางค์/ลิตร ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 ทั้งนี้ ปตท.จะใช้วิธีการบริหารค่าการตลาด และในช่วงที่ภาวะตลาดน้ำมันมีความผันผวนมาก ปตท. รับจะไปเจรจากับโรงกลั่นไทยออยล์ในการใช้หลักการบริหารค่าการกลั่น โดยนำส่วนลดค่าการกลั่นมาช่วยตรึงหรือลดราคาขายปลีกน้ำมันมิให้สูงขึ้นเพื่อบริหารความผันผวนของตลาดเป็นการชั่วคราวจนกว่าตลาดน้ำมันเข้าสู่ภาวะปกติ
2. ให้เร่งรัดการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และเห็นผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
3. รับทราบข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพงอย่างถาวรของ สพช. และเห็นชอบให้ สพช.กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งนักวิชาการรับไปศึกษาในรายละเอียดต่อไป
4. ให้ สพช. รับไปเร่งรัดดำเนินการโครงการเอทานอล และโครงการใช้น้ำมันปาล์มหรือพืชอื่น ๆ ทดแทนน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพื่อให้มีผลทางปฏิบัติโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-