ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการประชุมหารือร่วมกันของรองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล) ในฐานะประธานกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ในฐานะประธานกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง นโยบายด้านการขนส่งมวลชน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเสนอ ดังนี้
1. รัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการดำเนินการระบบขนส่งสาธารณะในเมือง ดังนี้
- รัฐควรพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองโดยให้ความสำคัญต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ
- รัฐควรพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างเป็นระบบให้มีโครงข่าย และเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาสถานีกลางระบบขนส่งมวลชนให้สัมพันธ์กับระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ
- รัฐควรมีบทบาทในการดำเนินการส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับการควบคุมกำกับ และระดับปฏิบัติ
- รัฐควรส่งเสริมให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชนในรูปแบบต่าง ๆ
- รัฐควรให้การสนับสนุนการลงทุนโครงการขนส่งมวลชนที่จำเป็นโดยอาจจัดสรรเงินลงทุนเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เอกชนสามารถเข้ามาลงทุนในกิจการขนส่งมวลชนได้
- รัฐควรกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับนโยบายการขนส่งมวลชน โดยให้ความสำคัญของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในการกำหนดแนวทางปฏิรูประบบขนส่งมวลชนร่วมกับกระทรวงคมนาคม
- รัฐควรสนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นมีบทบาทในด้านขนส่งมวลชนมากขึ้น
2. รัฐควรมีนโยบายการแปรรูปองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ดังนี้
- ปรับบทบาทอำนาจหน้าที่ชอง รฟม. ให้สอดคล้องกับนโยบายการขนส่งมวลชน และแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคต
- ควรแยกหน่วยงานควบคุมกำกับกับหน่วยงานปฏิบัติให้ชัดเจนและกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่การเป็นหน่วยปฏิบัติแก่ รฟม.
- ควรกำหนดให้มีคณะกรรมการกลางทำหน้าที่ควบคุมกำกับ ดูแล แยกออกจากกระทรวงเจ้าสังกัดที่รับผิดชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการประชุมหารือร่วมกันของรองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล) ในฐานะประธานกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ในฐานะประธานกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง นโยบายด้านการขนส่งมวลชน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเสนอ ดังนี้
1. รัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการดำเนินการระบบขนส่งสาธารณะในเมือง ดังนี้
- รัฐควรพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองโดยให้ความสำคัญต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ
- รัฐควรพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างเป็นระบบให้มีโครงข่าย และเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาสถานีกลางระบบขนส่งมวลชนให้สัมพันธ์กับระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ
- รัฐควรมีบทบาทในการดำเนินการส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับการควบคุมกำกับ และระดับปฏิบัติ
- รัฐควรส่งเสริมให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชนในรูปแบบต่าง ๆ
- รัฐควรให้การสนับสนุนการลงทุนโครงการขนส่งมวลชนที่จำเป็นโดยอาจจัดสรรเงินลงทุนเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เอกชนสามารถเข้ามาลงทุนในกิจการขนส่งมวลชนได้
- รัฐควรกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับนโยบายการขนส่งมวลชน โดยให้ความสำคัญของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในการกำหนดแนวทางปฏิรูประบบขนส่งมวลชนร่วมกับกระทรวงคมนาคม
- รัฐควรสนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นมีบทบาทในด้านขนส่งมวลชนมากขึ้น
2. รัฐควรมีนโยบายการแปรรูปองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ดังนี้
- ปรับบทบาทอำนาจหน้าที่ชอง รฟม. ให้สอดคล้องกับนโยบายการขนส่งมวลชน และแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคต
- ควรแยกหน่วยงานควบคุมกำกับกับหน่วยงานปฏิบัติให้ชัดเจนและกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่การเป็นหน่วยปฏิบัติแก่ รฟม.
- ควรกำหนดให้มีคณะกรรมการกลางทำหน้าที่ควบคุมกำกับ ดูแล แยกออกจากกระทรวงเจ้าสังกัดที่รับผิดชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543--