คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วมีมติอนุมัติ ดังนี้
1. ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการโครงการนำร่องการปรับปรุงการบริหารงานจังหวัด ตามแนวทางการจัดระบบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดขึ้น
2. ค่าใช้จ่ายจำนวน 19,180,000 บาท ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสถาบันการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยดำเนินการวิจัยประเมินผลโครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา
3. ให้กระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาร่วมกับทุกกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดวิธีการมอบอำนาจและการสนับสนุนทรัพยากรทางการบริหารที่จำเป็นให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดทดลอง
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ได้จัดทำรายละเอียดประกอบการดำเนินการตามโครงการนำร่องการปรับปรุงการบริหารงานของจังหวัด โดยเรียกว่า "การจัดระบบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา" ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ
1. การกำหนดความหมายและผลสัมฤทธิ์ที่มุ่งหวังของระบบการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา
2. กำหนดวิธีการเพื่อจัดระบบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาใน 3 ส่วนหลัก คือส่วนของระบบบริหารจัดการ ส่วนของการบริหารโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนของระบบสนับสนุนการบริหารราชการของจังหวัด
3. เงื่อนไขที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการจัดระบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา
4. กำหนดกลไกที่จะใช้ในการกำกับดูแลการดำเนินการ
5. คุณลักษณะสำคัญของผู้บริหารในระดับจังหวัดพร้อมทั้งได้จัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยประเมินผลจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิจัยประเมินผลของสถาบันการศึกษาที่กระทรวงมหาดไทยได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีวงเงินค่าใช้จ่ายในการติดตามประเมินผล จำนวน 19,180,000 บาท
โครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาของกระทรวงมหาดไทย เป็นโครงการนำร่องในการจัดระบบบริหารราชการใน 5 จังหวัด ซึ่งจะเริ่มอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป ดังนั้น เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยมีเวลาเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติดังกล่าว
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 รับทราบและเห็นชอบโครงการนำร่องทดลองกระจายอำนาจในระดับจังหวัด เพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพ สามารถวินิจฉัยข้อมูล ปัญหาอุปสรรค กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และดำเนินการให้เป็นไปตามที่ตัดสินใจได้อย่างครบวงจรภายในจังหวัด โดยปรับเปลี่ยนบทบาทและอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นผู้บริหารสูงสุดของจังหวัด (CEO) ซึ่งมีจังหวัดตามโครงการทดลองฯ จำนวน 5 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ และที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมเสนอเพิ่มเติม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการโครงการนำร่องการปรับปรุงการบริหารงานจังหวัด ตามแนวทางการจัดระบบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดขึ้น
2. ค่าใช้จ่ายจำนวน 19,180,000 บาท ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสถาบันการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยดำเนินการวิจัยประเมินผลโครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา
3. ให้กระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาร่วมกับทุกกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดวิธีการมอบอำนาจและการสนับสนุนทรัพยากรทางการบริหารที่จำเป็นให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดทดลอง
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ได้จัดทำรายละเอียดประกอบการดำเนินการตามโครงการนำร่องการปรับปรุงการบริหารงานของจังหวัด โดยเรียกว่า "การจัดระบบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา" ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ
1. การกำหนดความหมายและผลสัมฤทธิ์ที่มุ่งหวังของระบบการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา
2. กำหนดวิธีการเพื่อจัดระบบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาใน 3 ส่วนหลัก คือส่วนของระบบบริหารจัดการ ส่วนของการบริหารโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนของระบบสนับสนุนการบริหารราชการของจังหวัด
3. เงื่อนไขที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการจัดระบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา
4. กำหนดกลไกที่จะใช้ในการกำกับดูแลการดำเนินการ
5. คุณลักษณะสำคัญของผู้บริหารในระดับจังหวัดพร้อมทั้งได้จัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยประเมินผลจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิจัยประเมินผลของสถาบันการศึกษาที่กระทรวงมหาดไทยได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีวงเงินค่าใช้จ่ายในการติดตามประเมินผล จำนวน 19,180,000 บาท
โครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาของกระทรวงมหาดไทย เป็นโครงการนำร่องในการจัดระบบบริหารราชการใน 5 จังหวัด ซึ่งจะเริ่มอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป ดังนั้น เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยมีเวลาเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติดังกล่าว
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 รับทราบและเห็นชอบโครงการนำร่องทดลองกระจายอำนาจในระดับจังหวัด เพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพ สามารถวินิจฉัยข้อมูล ปัญหาอุปสรรค กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และดำเนินการให้เป็นไปตามที่ตัดสินใจได้อย่างครบวงจรภายในจังหวัด โดยปรับเปลี่ยนบทบาทและอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นผู้บริหารสูงสุดของจังหวัด (CEO) ซึ่งมีจังหวัดตามโครงการทดลองฯ จำนวน 5 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ และที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมเสนอเพิ่มเติม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-