ทำเนียบรัฐบาล--21 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ การจัดทำบันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-ฝรั่งเศส และอนุมัติให้กรมการบินพาณิชย์ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว พร้อมกับให้รับข้อเสนอแนะจากกระทรวงการต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขข้อความเพิ่มเติมของร่างบันทึกคำกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทยก็ให้กระทรวงคมนาคมสามารถดำเนินการได้ โดยประสานงานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
ในการนี้ กระทรวงคมนาคมรายงานว่า กระทรวงคมนาคมของไทย และกรมการบินพลเรือน ของฝรั่งเศส และกลุ่มอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของฝรั่งเศส ได้จัดทำข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการขึ้น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2534 มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 3 ปี และเมื่อครบกำหนดอายุของสัญญาจะมีผลบังคับใช้ต่อไป โดยปริยายอีกคราวละหนึ่งปี ซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยกเลิกข้อผูกพันโดยแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลา 6 เดือน และต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และปลัดกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางไปเยือนฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว สรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
1. จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับใหม่ระหว่างหน่วยงานบริหารด้านการบินพลเรือนของทั้งสองฝ่าย เพื่อเอื้อให้มีความสัมพันธ์ในสาขาการบินพลเรือนของทั้งสองประเทศต่อไป
2. ให้มีภาคผนวกแนบท้ายบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่นี้ เพื่อระบุแนวทางของความร่วมมือระหว่างสถาบันการฝึกอบรมด้านการบินพลเรือนของฝรั่งเศส (Ecole National de I' Aviation Civile ENAC) กับสถาบันการบินพลเรือนของประเทศไทย
3. รูปแบบการเข้ามาตรวจสอบสถาบันการบินพลเรือนของไทย โดยผู้เชี่ยวชาญของสถาบัน ENAC ของฝรั่งเศสตามระยะเวลาที่ประเทศไทยกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ การจัดทำบันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-ฝรั่งเศส และอนุมัติให้กรมการบินพาณิชย์ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว พร้อมกับให้รับข้อเสนอแนะจากกระทรวงการต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขข้อความเพิ่มเติมของร่างบันทึกคำกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทยก็ให้กระทรวงคมนาคมสามารถดำเนินการได้ โดยประสานงานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
ในการนี้ กระทรวงคมนาคมรายงานว่า กระทรวงคมนาคมของไทย และกรมการบินพลเรือน ของฝรั่งเศส และกลุ่มอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของฝรั่งเศส ได้จัดทำข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการขึ้น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2534 มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 3 ปี และเมื่อครบกำหนดอายุของสัญญาจะมีผลบังคับใช้ต่อไป โดยปริยายอีกคราวละหนึ่งปี ซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยกเลิกข้อผูกพันโดยแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลา 6 เดือน และต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และปลัดกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางไปเยือนฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว สรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
1. จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับใหม่ระหว่างหน่วยงานบริหารด้านการบินพลเรือนของทั้งสองฝ่าย เพื่อเอื้อให้มีความสัมพันธ์ในสาขาการบินพลเรือนของทั้งสองประเทศต่อไป
2. ให้มีภาคผนวกแนบท้ายบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่นี้ เพื่อระบุแนวทางของความร่วมมือระหว่างสถาบันการฝึกอบรมด้านการบินพลเรือนของฝรั่งเศส (Ecole National de I' Aviation Civile ENAC) กับสถาบันการบินพลเรือนของประเทศไทย
3. รูปแบบการเข้ามาตรวจสอบสถาบันการบินพลเรือนของไทย โดยผู้เชี่ยวชาญของสถาบัน ENAC ของฝรั่งเศสตามระยะเวลาที่ประเทศไทยกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--