ทำเนียบรัฐบาล--8 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย 6 เดือนแรกของปี 2543 (มกราคม - มิถุนายน) สรุปได้ดังนี้
1.การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3
การส่งออกในเดือนมิถุนายนมีมูลค่า 5,603 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 16.5 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่หก
ในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 32,862 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 21.3 และคิดเป็นร้อยละ 53.0 ของเป้าหมายการส่งออก
ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกในช่วงต้นปีขยายตัวในอัตราสูง
-การส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (ส่งออกเป็นมูลค่า 27,067 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 0.7)
-การขยายตัวของความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าของโลกและตลาดส่งออกสำคัญของไทย
-สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญหลายรายการยังคงได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในต่างประเทศในการหาตลาด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นการลงทุนหรือร่วมทุนกับต่างประเทศ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเลคทรอนิกส์ และยานยนต์
-ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการเจาะและขยายตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
1.1 ภาวะการส่งออกสินค้าสำคัญ การส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า ยกเง้นสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร แต่ก็มีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยลดลงเพียงร้อยละ 1.1 เนื่องจากปัญหาราคาในตลาดโลกลดลง การกีดกัน และการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลก
-สินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 โดยเป็นการขยายตัวของยางพารา กุ้งสดแช่แข็ง และไก่แช่แข็งและแปรรูป ที่ยังคงเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า
-สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นในอันตราสูงต่อเนื่องถึงร้อยละ 23.8 ที่สำคัญได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า หนังและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ผลิตภัณฑ์เซรามิก เคมีภัณฑ์
สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว มันคัดเม็ดและมันเส้น อาหารทะเลแช่แข็ง สับปะรดกระป๋องน้ำตาลทราย
1.2 ภาวะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดต่าง ๆ ยังมีแนวโน้มที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องจากปี 2542 ทั้งในตลาดหลักและตลาดอื่น ๆ โดยตลาดหลัก 4 ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.7 เป็นการขยายตัวในทุกตลาด โดยเฉพาะญี่ปุ่นและอาเซี่ยนที่ขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่า และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.1 โดยเฉพาะตลาดในแถบเอเซียที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกไปตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก ขยายตัวในอันตราที่ต่ำกว่าคือ ร้อยละ 11.2,11.2 และ 6.6 ตามลำดับ
2. การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 การนำเข้าในเดือนมิถุนายน มีมูลค่า 5,473 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2542 ถึงร้อยละ 18.3 เป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวด โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 113.5 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในต่างประเทศ
การนำเข้าในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 28,811 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 23.8 ตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงในทุกหมวด (การนำเข้าสินค้าทุนจะขยายตัวถึงร้อยละ 24.3 หากหักการนำเข้าเครื่องบินออก)
3. ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามสิบห้า
เดือนมิถุนายน ดุลการค้าเกินดุล มีมูลค่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค. - มิ.ย.) ดุลการค้าเกินดุล มีมูลค่า 4,052 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 5.8
ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยมีดุลการค้าเกินดุล คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เอเซียน ฮ่องกง แอฟริกา ออสเตรเลีย และลาตินอเมริกา
ประเทศที่ไทยขาดดุลการค้า ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และยุโรปตะวันออก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 ส.ค. 2543--
-นช/ยก-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย 6 เดือนแรกของปี 2543 (มกราคม - มิถุนายน) สรุปได้ดังนี้
1.การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3
การส่งออกในเดือนมิถุนายนมีมูลค่า 5,603 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 16.5 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่หก
ในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 32,862 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 21.3 และคิดเป็นร้อยละ 53.0 ของเป้าหมายการส่งออก
ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกในช่วงต้นปีขยายตัวในอัตราสูง
-การส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (ส่งออกเป็นมูลค่า 27,067 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 0.7)
-การขยายตัวของความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าของโลกและตลาดส่งออกสำคัญของไทย
-สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญหลายรายการยังคงได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในต่างประเทศในการหาตลาด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นการลงทุนหรือร่วมทุนกับต่างประเทศ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเลคทรอนิกส์ และยานยนต์
-ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการเจาะและขยายตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
1.1 ภาวะการส่งออกสินค้าสำคัญ การส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า ยกเง้นสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร แต่ก็มีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยลดลงเพียงร้อยละ 1.1 เนื่องจากปัญหาราคาในตลาดโลกลดลง การกีดกัน และการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลก
-สินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 โดยเป็นการขยายตัวของยางพารา กุ้งสดแช่แข็ง และไก่แช่แข็งและแปรรูป ที่ยังคงเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า
-สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นในอันตราสูงต่อเนื่องถึงร้อยละ 23.8 ที่สำคัญได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า หนังและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ผลิตภัณฑ์เซรามิก เคมีภัณฑ์
สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว มันคัดเม็ดและมันเส้น อาหารทะเลแช่แข็ง สับปะรดกระป๋องน้ำตาลทราย
1.2 ภาวะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดต่าง ๆ ยังมีแนวโน้มที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องจากปี 2542 ทั้งในตลาดหลักและตลาดอื่น ๆ โดยตลาดหลัก 4 ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.7 เป็นการขยายตัวในทุกตลาด โดยเฉพาะญี่ปุ่นและอาเซี่ยนที่ขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่า และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.1 โดยเฉพาะตลาดในแถบเอเซียที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกไปตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก ขยายตัวในอันตราที่ต่ำกว่าคือ ร้อยละ 11.2,11.2 และ 6.6 ตามลำดับ
2. การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 การนำเข้าในเดือนมิถุนายน มีมูลค่า 5,473 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2542 ถึงร้อยละ 18.3 เป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวด โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 113.5 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในต่างประเทศ
การนำเข้าในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 28,811 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 23.8 ตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงในทุกหมวด (การนำเข้าสินค้าทุนจะขยายตัวถึงร้อยละ 24.3 หากหักการนำเข้าเครื่องบินออก)
3. ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามสิบห้า
เดือนมิถุนายน ดุลการค้าเกินดุล มีมูลค่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 (ม.ค. - มิ.ย.) ดุลการค้าเกินดุล มีมูลค่า 4,052 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 5.8
ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยมีดุลการค้าเกินดุล คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เอเซียน ฮ่องกง แอฟริกา ออสเตรเลีย และลาตินอเมริกา
ประเทศที่ไทยขาดดุลการค้า ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และยุโรปตะวันออก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 ส.ค. 2543--
-นช/ยก-