ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงบประมาณเสนอรายงานความก้าวหน้าของแผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณและการเงิน ซึ่งสำนักงบประมาณได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณดังกล่าว ตามแนวทางที่ได้รับการเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญให้เป็นระบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Based Budgeting) เนื่องจากระบบงบประมาณในปัจจุบันยังขาดความยืดหยุ่นและมีข้อจำกัดในด้านระบบและวิธีการงบประมาณ โดยการปรับเปลี่ยนระบบดังกล่าวใช้วิธีจัดทำโครงการนำร่อง (Pilot Approach) เพื่อเป็นต้นแบบและได้ดำเนินการคัดเลือกหน่วยงานนำร่อง จำนวน 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (กองโรงพยาบาลภูมิภาค) กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำนักงาน ก.พ. กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับขั้นตอนในการดำเนินงานนั้น หน่วยงานนำร่องจะต้องดำเนินการพัฒนาเพื่อยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการทางด้านการเงิน 7 ประการ ตามเงื่อนไขที่สำนักงบประมาณกำหนดไว้ ก่อนที่จะมีการผ่อนคลายความเป็นอิสระในการบริหารจัดการทางการเงินและลงนามข้อตกลงในการใช้ทรัพยากร ซึ่งเงื่อนไขทั้ง 7 ข้อ ที่จะต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก็คือ การวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนผลผลิต การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การควบคุมงบประมาณ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน การบริหารสินทรัพย์ และการตรวจสอบภายใน ซึ่งจากระยะเวลาที่ผ่านไปประมาณ 1 ปีเศษ หน่วยงานนำร่องดังกล่าวก็ได้ดำเนินการ ตามหลักการข้างต้นจนมีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ ดังนี้1. โครงการนำร่องกรมทะเบียนการค้า
- ดำเนินการแล้วในเรื่องการจัดทำแผนกลยุทธ์ กำหนดกิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อยและจัดทำค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของกิจกรรม
- เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ พัฒนาการจัดทำงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง การวางระบบบัญชีแบบใหม่ การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง และพัฒนาการ ตรวจสอบภายใน ส่วนการรายงานผลการดำเนินงาน รายงานทางการเงิน และการบริหารสินทรัพย์ได้มีการเตรียมการและจะต้องรอการพัฒนาระบบบัญชีซึ่งกรมบัญชีกลางกำลังดำเนินการอยู่
2. โครงการนำร่องกระทรวงสาธารณสุข
- ดำเนินการแล้วในเรื่องของการพัฒนาระบบบัญชี การพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่จะใช้กับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป
- เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ พัฒนาการจัดทำงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง การรายงานผลการดำเนินงานและรายงานทางการเงิน การจัดทำแผนการตรวจสอบภายใน การบริหารสินทรัพย์ และการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง
3. โครงการนำร่องสำนักงาน ก.พ.
- กำลังดำเนินการวางกรอบโครงสร้างผลผลิตและผลลัพธ์ ซึ่งแล้วเสร็จประมาณ ร้อยละ 50 และกำลังดำเนินการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำระบบการคิดต้นทุนผลผลิต
4. โครงการนำร่องกระทรวงการต่างประเทศ
- กำลังวางแผนพัฒนาขีดความสามารถตามมาตรฐานการจัดการทางการเงินทั้ง 7 ประการ และได้มีการจัดการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อม
- กำลังประสานงานกับสถานฑูตนิวซีแลนด์เพื่อขอความร่วมมือในการศึกษาดูงานระบบ FMIS ซึ่งสถานฑูตนิวซีแลนด์ยินดีให้ความร่วมมือ
5. โครงการนำร่องกรมสามัญศึกษา และ สปช.
- กำลังร่าง TOR การจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนงบประมาณและกรอบการคำนวณต้นทุนกิจกรรม/ผลผลิต
- กำลังประสานงานเพื่อจัดหา Sector Expert และการกำหนด TOR เพื่อวางแผนพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงาน พร้อมทั้งวางแผน Resource Flow สำหรับการรวมหน่วยงานด้านการศึกษาพื้นฐานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่
6. โครงการนำร่องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างสำนักงบประมาณและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินการตามข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญ
- เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การพิจารณาปรับปรุงระบบบัญชีแบบเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำมาใช้กับเงินนอกงบประมาณ ซึ่งจะขยายผลไปใช้กับเงินงบประมาณแผ่นดินต่อไป
จากการพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานนำร่องดังกล่าว ปรากฎว่ามี 2 หน่วยงานคือ กระทรวงสาธารณสุข และกรมทะเบียนการค้า ที่แสดงให้เห็นว่ามีความพร้อมในการบริหารจัดการทางการเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ระดับหนึ่งแล้ว สำนักงบประมาณจึงได้จัดให้มีการลงนามในข้อตกลงการใช้ทรัพยากร (Resource Agreement) ระหว่างสำนักงบประมาณและหน่วยงานดังกล่าว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2543 ซึ่งการลงนามในข้อตกลงการใช้ทรัพยากรดังกล่าว จะได้มีการนำไปปฏิบัติในปีงบประมาณ พ.ศ.2544 และหน่วยงานทั้งสองจะเป็นหน่วยงานต้นแบบให้หน่วยงานนำร่องอื่นที่กำลังดำเนินการอยู่ปฏิบัติตาม และจะได้มีการขยายผลไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ในอนาคต เพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จต่อการปฏิรูประบบการบริหารภาครัฐตามนโยบายของรัฐบาลโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงบประมาณเสนอรายงานความก้าวหน้าของแผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณและการเงิน ซึ่งสำนักงบประมาณได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณดังกล่าว ตามแนวทางที่ได้รับการเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญให้เป็นระบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Based Budgeting) เนื่องจากระบบงบประมาณในปัจจุบันยังขาดความยืดหยุ่นและมีข้อจำกัดในด้านระบบและวิธีการงบประมาณ โดยการปรับเปลี่ยนระบบดังกล่าวใช้วิธีจัดทำโครงการนำร่อง (Pilot Approach) เพื่อเป็นต้นแบบและได้ดำเนินการคัดเลือกหน่วยงานนำร่อง จำนวน 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (กองโรงพยาบาลภูมิภาค) กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำนักงาน ก.พ. กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับขั้นตอนในการดำเนินงานนั้น หน่วยงานนำร่องจะต้องดำเนินการพัฒนาเพื่อยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการทางด้านการเงิน 7 ประการ ตามเงื่อนไขที่สำนักงบประมาณกำหนดไว้ ก่อนที่จะมีการผ่อนคลายความเป็นอิสระในการบริหารจัดการทางการเงินและลงนามข้อตกลงในการใช้ทรัพยากร ซึ่งเงื่อนไขทั้ง 7 ข้อ ที่จะต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก็คือ การวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนผลผลิต การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การควบคุมงบประมาณ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน การบริหารสินทรัพย์ และการตรวจสอบภายใน ซึ่งจากระยะเวลาที่ผ่านไปประมาณ 1 ปีเศษ หน่วยงานนำร่องดังกล่าวก็ได้ดำเนินการ ตามหลักการข้างต้นจนมีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ ดังนี้1. โครงการนำร่องกรมทะเบียนการค้า
- ดำเนินการแล้วในเรื่องการจัดทำแผนกลยุทธ์ กำหนดกิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อยและจัดทำค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของกิจกรรม
- เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ พัฒนาการจัดทำงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง การวางระบบบัญชีแบบใหม่ การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง และพัฒนาการ ตรวจสอบภายใน ส่วนการรายงานผลการดำเนินงาน รายงานทางการเงิน และการบริหารสินทรัพย์ได้มีการเตรียมการและจะต้องรอการพัฒนาระบบบัญชีซึ่งกรมบัญชีกลางกำลังดำเนินการอยู่
2. โครงการนำร่องกระทรวงสาธารณสุข
- ดำเนินการแล้วในเรื่องของการพัฒนาระบบบัญชี การพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่จะใช้กับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป
- เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ พัฒนาการจัดทำงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง การรายงานผลการดำเนินงานและรายงานทางการเงิน การจัดทำแผนการตรวจสอบภายใน การบริหารสินทรัพย์ และการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง
3. โครงการนำร่องสำนักงาน ก.พ.
- กำลังดำเนินการวางกรอบโครงสร้างผลผลิตและผลลัพธ์ ซึ่งแล้วเสร็จประมาณ ร้อยละ 50 และกำลังดำเนินการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำระบบการคิดต้นทุนผลผลิต
4. โครงการนำร่องกระทรวงการต่างประเทศ
- กำลังวางแผนพัฒนาขีดความสามารถตามมาตรฐานการจัดการทางการเงินทั้ง 7 ประการ และได้มีการจัดการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อม
- กำลังประสานงานกับสถานฑูตนิวซีแลนด์เพื่อขอความร่วมมือในการศึกษาดูงานระบบ FMIS ซึ่งสถานฑูตนิวซีแลนด์ยินดีให้ความร่วมมือ
5. โครงการนำร่องกรมสามัญศึกษา และ สปช.
- กำลังร่าง TOR การจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนงบประมาณและกรอบการคำนวณต้นทุนกิจกรรม/ผลผลิต
- กำลังประสานงานเพื่อจัดหา Sector Expert และการกำหนด TOR เพื่อวางแผนพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงาน พร้อมทั้งวางแผน Resource Flow สำหรับการรวมหน่วยงานด้านการศึกษาพื้นฐานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่
6. โครงการนำร่องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างสำนักงบประมาณและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินการตามข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญ
- เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การพิจารณาปรับปรุงระบบบัญชีแบบเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำมาใช้กับเงินนอกงบประมาณ ซึ่งจะขยายผลไปใช้กับเงินงบประมาณแผ่นดินต่อไป
จากการพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานนำร่องดังกล่าว ปรากฎว่ามี 2 หน่วยงานคือ กระทรวงสาธารณสุข และกรมทะเบียนการค้า ที่แสดงให้เห็นว่ามีความพร้อมในการบริหารจัดการทางการเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ระดับหนึ่งแล้ว สำนักงบประมาณจึงได้จัดให้มีการลงนามในข้อตกลงการใช้ทรัพยากร (Resource Agreement) ระหว่างสำนักงบประมาณและหน่วยงานดังกล่าว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2543 ซึ่งการลงนามในข้อตกลงการใช้ทรัพยากรดังกล่าว จะได้มีการนำไปปฏิบัติในปีงบประมาณ พ.ศ.2544 และหน่วยงานทั้งสองจะเป็นหน่วยงานต้นแบบให้หน่วยงานนำร่องอื่นที่กำลังดำเนินการอยู่ปฏิบัติตาม และจะได้มีการขยายผลไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ในอนาคต เพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จต่อการปฏิรูประบบการบริหารภาครัฐตามนโยบายของรัฐบาลโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-