คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการฝึกอบรมฟื้นฟูความรู้และทักษะของบัณฑิตเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพทรัพยากรบุคคลของชาติ ซึ่งมีหลักการและเหตุผลคือ จากการที่สภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีการชะลอตัวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ส่งผลให้การลงทุนอุตสาหกรรมและการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ชะลอตัว รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานของบัณฑิต กอรปกับปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิเช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการทำธุรกิจขนาดย่อม (SME) เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมนโยบายดังกล่าว และช่วยฟื้นฟูความรู้และเพิ่มศักยภาพแก่บัณฑิตที่ไม่มีงานทำ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมฟื้นฟูความรู้และทักษะของบัณฑิตเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพทรัพยากรบุคคลของชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูความรู้และทักษะทางวิชาการและวิชาชีพให้กับบัณฑิตทุกสถาบันที่ไม่มีงานทำ ซึ่งสำเร็จการศึกษาไปแล้ว 1 ปีขึ้นไป ให้มีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเพียงพอในการประกอบอาชีพได้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางวิชาชีพให้แก่ผู้ที่ยังไม่มีงานทำ ให้มีความสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานหรือสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการในการสร้างงานสร้างอาชีพ และการทำธุรกิจขนาดย่อม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในสังคมและชุมชน และเพื่อเตรียมพร้อมให้บัณฑิตสามารถร่วมทำประโยชน์กับชุมชนในโครงการตามนโยบายรัฐบาล เพื่อการสร้างรายได้ อาทิ โครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" กองทุนหมู่บ้านและโครงการอื่น ๆ และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีการดำเนินการโครงการดังกล่าวเป็น 2 ระยะ สรุปผลการดำเนินงานได้ ดังนี้
1. ในระยะที่ 1 (เดือนกรกฎาคม - เดือนตุลาคม 2544)
1.1 จำนวนสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศที่ร่วมจัดอบรมมีจำนวนรวม 21 แห่ง จำแนกตามภูมิภาคได้ดังนี้
1) ภาคกลาง (กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง) มีจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลกากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหลือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
2) ภาคตะวันออก ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา
3) ภาคเหนือ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยนเรศวร
4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5) ภาคใต้ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1.2 จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 4,465 คน
1.3 จำนวนหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม มีจำนวน 114 หลักสูตร จำแนกเป็น 1) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 74 หลักสูตร 2) กลุ่มสังคมศาสตร์ 30 หลักสูตร 3) กลุ่มบริการการท่องเที่ยว 10 หลักสูตร
2. ในระยะที่ 2 (เดือนกันยายน 2544 - เดือนมีนาคม 2545) กำหนดเป้าหมายการรับผู้เข้าอบรมจำนวน 15,444 คน โดยเปิดอบรมจำนวน 2 รุ่น คือ
2.1 รุ่นที่ 1 (เดือนกันยายน - เดือนธันวาคม 2544)
1) จำนวนสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศที่ร่วมจัดอบรม มีจำนวนรวม 18 แห่ง จำแนกตามภูมิภาคได้ ดังนี้
(1) ภาคกลาง (กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง) มีจำนวน 9 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
(2) ภาคตะวันออก ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา
(3) ภาคเหนือ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยนเรศวร
(4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
(5) ภาคใต้ จำนวน 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2) จำนวนผู้รับการฝึกอบรม มีจำนวน 8,772 คน
3) จำนวนหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม มีจำนวน 83 หลักสูตร จำแนกเป็น (1) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 52 หลักสูตร (2) กลุ่มสังคมศาสตร์ 20 หลักสูตร (3) กลุ่มบริการการท่องเที่ยว 11 หลักสูตร
2.2 รุ่นที่ 2 (เดือนพฤศจิกายน 2544 - เดือนมีนาคม 2545)
1) จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมจัดอบรม มีจำนวน 2 แห่ง คือ
(1) ภาคกลาง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดอบรมที่ส่วนกลาง และจัดอบรมลักษณะห้องเรียนเครือข่ายทั่วประเทศร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
(2) ภาคเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2) จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวนเป้าหมายรวม 6,672 คน
3) จำนวนหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม มีจำนวน 21 หลักสูตร โดยกระจายอยู่ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา คือ(1) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 15 หลักสูตร (2) กลุ่มสังคมศาสตร์ 4 หลักสูตร (3) กลุ่มบริการการท่องเที่ยว2 หลักสูตร
สำหรับวิธีการดำเนินการ ทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มหาวิทยาลัย/สถาบันจัดทำหลักสูตร ดังนี้
1. มหาวิทยาลัย/สถาบัน ที่ร่วมโครงการจัดทำหลักสูตรร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ หอการค้าจังหวัดพาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด แรงงานจังหวัด และผู้ประกอบการในพื้นที่
2. หลักสูตรที่จัดฝึกอบรม ได้แก่ กลุ่มสังคมศาสตร์ กลุ่มบริการการท่องเที่ยว กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. กำหนดระยะเวลาฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 84 ชั่วโมง โดยมีองค์ประกอบหลักสูตร ดังนี้
หมวดที่ 1 : เสริมกำลังใจและความรู้พื้นฐาน ด้านจิตวิทยาเพื่อการเสริมสร้างกำลังใจ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และความเชื่อมั่น 6 ชั่วโมง ภาษาอังกฤษ 6 ชั่วโมง คอมพิวเตอร์ 6 ชั่วโมง
หมวดที่ 2 : วิชาการเกี่ยวกับสาขางานอาชีพ มีผู้เข้าอบรมเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ โดยดูรายละเอียดหลักสูตรที่สถาบันจัดโครงการอบรม 42 ชั่วโมง
หมวดที่ 3 : ทักษะการเตรียมตัวเข้าสู่งานอาชีพ ด้านการประกอบอาชีพในสถานประกอบการ 6 ชั่วโมงการประกอบอาชีพอิสระ/การเป็นผู้ประกอบการรายย่อย 18 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมทุกคนจะได้รับความรู้/ความเข้าใจในหมวดวิชาที่ 1 และ 3 เหมือนกัน สำหรับหมวดวิชาที่ 2 ผู้เข้าอบรมจะได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่สมัครไว้เพียงหลักสูตรเดียว
4. ในภาคทักษะและการเตรียมตัวเข้าสู่งานอาชีพ มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา ควรเชิญวิทยากรจากสถานประกอบการ/เจ้าของธุรกิจร่วมเป็นวิทยากรในการบรรยาย
5. มหาวิทยาลัยควรจัดให้มีการศึกษาดูงาน/ทดลองปฏิบัติงานในสถานประกอบการแต่ควรใช้เวลานอกเหนือจากเวลาการอบรมในหลักสูตร
6. มหาวิทยาลัยจะต้องจัดการวัดผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยวิธีทดสอบ และรายงานผลการฝึกอบรมให้ทบวงมหาวิทยาลัยทราบ
7. ทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับมหาวิทยาลัย/สถาบันมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด
8. วิธีการฝึกอบรม
1) ดำเนินการฝึกอบรมโดย การบรรยาย การทำกิจกรรม การลงมือปฏิบัติโดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการ "การเรียนรู้จากการลงมือกระทำ" (Action Learning)
2) ดำเนินการฝึกอบรมตามขั้นตอน ดังนี้ หมวดวิชาที่ 1 จำนวน 18 ชั่วโมง หมวดวิชาที่ 2 จำนวน42 ชั่วโมง หมวดวิชาที่ 3 จำนวน 24 ชั่วโมง ประเมินผลการฝึกอบรมโดยการทดสอบ และมอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด
อนึ่ง ผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านการทดสอบตามกำหนดจะได้รับประกาศนียบัตรจากทบวงมหาวิทยาลัยและสถาบันที่ร่วมฝึกอบรม และอาจมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมอื่น ๆ ที่ทบวงมหาวิทยาลัยจะดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยจะดำเนินการติดตามความคืบหน้าและความสำเร็จของผู้ผ่านการอบรมต่อไปอีก 1 ปีด้วย
4. สัมฤทธิ์ผลของโครงการ
เพื่อให้การดำเนินการโครงการฯ มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของการบริหารและการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการในโครงการฝึกอบรมฯ และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของผู้สมัครเข้ารับการอบรมในโครงการดังกล่าว อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาวางแผนการดำเนินการโครงการฯ ในโอกาสต่อไป ทบวงมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินการประเมินผลโครงการและพัฒนาระบบฐานข้อมูลโครงการดังกล่าว ซึ่งจะได้นำเสนอต่อรัฐบาลในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พ.ย. 44--
-สส-
1. ในระยะที่ 1 (เดือนกรกฎาคม - เดือนตุลาคม 2544)
1.1 จำนวนสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศที่ร่วมจัดอบรมมีจำนวนรวม 21 แห่ง จำแนกตามภูมิภาคได้ดังนี้
1) ภาคกลาง (กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง) มีจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลกากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหลือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
2) ภาคตะวันออก ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา
3) ภาคเหนือ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยนเรศวร
4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5) ภาคใต้ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1.2 จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 4,465 คน
1.3 จำนวนหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม มีจำนวน 114 หลักสูตร จำแนกเป็น 1) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 74 หลักสูตร 2) กลุ่มสังคมศาสตร์ 30 หลักสูตร 3) กลุ่มบริการการท่องเที่ยว 10 หลักสูตร
2. ในระยะที่ 2 (เดือนกันยายน 2544 - เดือนมีนาคม 2545) กำหนดเป้าหมายการรับผู้เข้าอบรมจำนวน 15,444 คน โดยเปิดอบรมจำนวน 2 รุ่น คือ
2.1 รุ่นที่ 1 (เดือนกันยายน - เดือนธันวาคม 2544)
1) จำนวนสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศที่ร่วมจัดอบรม มีจำนวนรวม 18 แห่ง จำแนกตามภูมิภาคได้ ดังนี้
(1) ภาคกลาง (กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง) มีจำนวน 9 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
(2) ภาคตะวันออก ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา
(3) ภาคเหนือ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยนเรศวร
(4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
(5) ภาคใต้ จำนวน 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2) จำนวนผู้รับการฝึกอบรม มีจำนวน 8,772 คน
3) จำนวนหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม มีจำนวน 83 หลักสูตร จำแนกเป็น (1) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 52 หลักสูตร (2) กลุ่มสังคมศาสตร์ 20 หลักสูตร (3) กลุ่มบริการการท่องเที่ยว 11 หลักสูตร
2.2 รุ่นที่ 2 (เดือนพฤศจิกายน 2544 - เดือนมีนาคม 2545)
1) จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมจัดอบรม มีจำนวน 2 แห่ง คือ
(1) ภาคกลาง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดอบรมที่ส่วนกลาง และจัดอบรมลักษณะห้องเรียนเครือข่ายทั่วประเทศร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
(2) ภาคเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2) จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวนเป้าหมายรวม 6,672 คน
3) จำนวนหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม มีจำนวน 21 หลักสูตร โดยกระจายอยู่ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา คือ(1) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 15 หลักสูตร (2) กลุ่มสังคมศาสตร์ 4 หลักสูตร (3) กลุ่มบริการการท่องเที่ยว2 หลักสูตร
สำหรับวิธีการดำเนินการ ทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มหาวิทยาลัย/สถาบันจัดทำหลักสูตร ดังนี้
1. มหาวิทยาลัย/สถาบัน ที่ร่วมโครงการจัดทำหลักสูตรร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ หอการค้าจังหวัดพาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด แรงงานจังหวัด และผู้ประกอบการในพื้นที่
2. หลักสูตรที่จัดฝึกอบรม ได้แก่ กลุ่มสังคมศาสตร์ กลุ่มบริการการท่องเที่ยว กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. กำหนดระยะเวลาฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 84 ชั่วโมง โดยมีองค์ประกอบหลักสูตร ดังนี้
หมวดที่ 1 : เสริมกำลังใจและความรู้พื้นฐาน ด้านจิตวิทยาเพื่อการเสริมสร้างกำลังใจ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และความเชื่อมั่น 6 ชั่วโมง ภาษาอังกฤษ 6 ชั่วโมง คอมพิวเตอร์ 6 ชั่วโมง
หมวดที่ 2 : วิชาการเกี่ยวกับสาขางานอาชีพ มีผู้เข้าอบรมเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ โดยดูรายละเอียดหลักสูตรที่สถาบันจัดโครงการอบรม 42 ชั่วโมง
หมวดที่ 3 : ทักษะการเตรียมตัวเข้าสู่งานอาชีพ ด้านการประกอบอาชีพในสถานประกอบการ 6 ชั่วโมงการประกอบอาชีพอิสระ/การเป็นผู้ประกอบการรายย่อย 18 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมทุกคนจะได้รับความรู้/ความเข้าใจในหมวดวิชาที่ 1 และ 3 เหมือนกัน สำหรับหมวดวิชาที่ 2 ผู้เข้าอบรมจะได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่สมัครไว้เพียงหลักสูตรเดียว
4. ในภาคทักษะและการเตรียมตัวเข้าสู่งานอาชีพ มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา ควรเชิญวิทยากรจากสถานประกอบการ/เจ้าของธุรกิจร่วมเป็นวิทยากรในการบรรยาย
5. มหาวิทยาลัยควรจัดให้มีการศึกษาดูงาน/ทดลองปฏิบัติงานในสถานประกอบการแต่ควรใช้เวลานอกเหนือจากเวลาการอบรมในหลักสูตร
6. มหาวิทยาลัยจะต้องจัดการวัดผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยวิธีทดสอบ และรายงานผลการฝึกอบรมให้ทบวงมหาวิทยาลัยทราบ
7. ทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับมหาวิทยาลัย/สถาบันมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด
8. วิธีการฝึกอบรม
1) ดำเนินการฝึกอบรมโดย การบรรยาย การทำกิจกรรม การลงมือปฏิบัติโดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการ "การเรียนรู้จากการลงมือกระทำ" (Action Learning)
2) ดำเนินการฝึกอบรมตามขั้นตอน ดังนี้ หมวดวิชาที่ 1 จำนวน 18 ชั่วโมง หมวดวิชาที่ 2 จำนวน42 ชั่วโมง หมวดวิชาที่ 3 จำนวน 24 ชั่วโมง ประเมินผลการฝึกอบรมโดยการทดสอบ และมอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด
อนึ่ง ผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านการทดสอบตามกำหนดจะได้รับประกาศนียบัตรจากทบวงมหาวิทยาลัยและสถาบันที่ร่วมฝึกอบรม และอาจมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมอื่น ๆ ที่ทบวงมหาวิทยาลัยจะดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยจะดำเนินการติดตามความคืบหน้าและความสำเร็จของผู้ผ่านการอบรมต่อไปอีก 1 ปีด้วย
4. สัมฤทธิ์ผลของโครงการ
เพื่อให้การดำเนินการโครงการฯ มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของการบริหารและการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการในโครงการฝึกอบรมฯ และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของผู้สมัครเข้ารับการอบรมในโครงการดังกล่าว อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาวางแผนการดำเนินการโครงการฯ ในโอกาสต่อไป ทบวงมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินการประเมินผลโครงการและพัฒนาระบบฐานข้อมูลโครงการดังกล่าว ซึ่งจะได้นำเสนอต่อรัฐบาลในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พ.ย. 44--
-สส-