ทำเนียบรัฐบาล--14 มี.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ
สิ้นเดือนมกราคม 2543 และรายงานข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ ดังนี้
ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543
1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งระบบ
ในเดือนมกราคม 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 1,126,219 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2542 จำนวน 54,124 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.05 โดยเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
สำเร็จ 184,816 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 11,107 ราย
ยอดหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จที่เพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2543 จำนวน 54,124 ล้านบาท น้อยกว่าที่เพิ่ม
ขึ้นในเดือนธันวาคม 2542 ซึ่งเท่ากับ 162,132 ล้านบาท เนื่องจากในเดือนธันวาคมสถาบันการเงินจะต้องปิดงวดบัญชี จึงเร่ง
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อลดการกันเงินสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
สำหรับหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเดือนมกราคม 2543 มีจำนวน 1,137,862 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
17,349 ล้านบาท จากจำนวน 1,120,513 ล้านบาท ในเดือนธันวาคม 2542 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 โดยมีลูกหนี้ที่อยู่ระ
หว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 26,273 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 74 ราย ในเดือนมกราคม หนี้ที่ได้มีการปรับปรุงโครง
สร้างหนี้สำเร็จ รวมกับหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,264,081 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ทั้งสิ้น
211,089 ราย โดยภาคธุรกิจที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ การค้าส่ง
และการค้าปลีก และการบริการ โดยธุรกิจในกรุงเทพฯ ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จในสัดส่วนประมาณ 77 ภาคกลางและส่วนภูมิ
ภาคอีกประมาณร้อยละ 23
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย
2.1 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ตามสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ และสัญญาระหว่างเจ้าหนี้
ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มที่ 1 และ 2 ที่คัดเลือกมาจากสมาคมเจ้าหนี้ สมาคมลูกหนี้ และจากลูกหนี้ที่มีมูลหนี้
คงค้างตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 702 ราย มูลหนี้ 1,500,242 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ที่ทยอยเข้าสู่กระบวนการของ
สัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ และสัญญาระหว่างเจ้าหนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542 เป็นต้นมา จากข้อมูลล่าสุดได้มีผลสรุปในการ
ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว 621 ราย มูลหนี้ 1,339,624 ล้านบาท หรือประมาณ ร้อยละ 89 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น
ในจำนวน 621 ราย ดังกล่าวข้างต้น เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จจำนวน 259 รายมูลหนี้
รวม 667,214 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น ลูกหนี้อีก 362 ราย มูลหนี้ 672,410 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ
45 ของมูลหนี้ เป็นลูกหนี้ที่จะต้องถูกดำเนินคดีทางศาล เนื่องจากปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จ หรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่ยอมลงนาม
ผูกพันตนเพื่อเข้าสู่กระบวนการ รวมถึงลูกหนี้ปกติที่ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ลูกหนี้เป้าหมายกลุ่มที่ 1 และ 2 ที่ยังเหลืออยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวน 81 รายเป็นมูล
หนี้ 160,618 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้อสรุปได้ภายในเดือนมีนาคม 2543
สำหรับลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มที่ 3 ซึ่งคัดเลือกจากลูกหนี้ที่มีมูลหนี้ตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไปรวมกับลูกหนี้ที่
ประสงค์เข้าสู่กระบวนการของสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้เองนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 มีจำนวน 1,057 ราย มูลหนี้รวม
656,273 ล้านบาท ในจำนวนนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว 10 ราย มูลหนี้รวม 3,224 ล้านบาท อีก 318 ราย มูลหนี้
153,856 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ส่วนที่เหลือจะต้องเข้าสู่กระบวนการทางศาล เนื่องจากไม่สามารถปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ได้ หรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่ลงนามในสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ ซึ่ง คปน. ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ดำเนินคดีตามกฎหมายกับ
ลูกหนี้ดังกล่าว
เมื่อรวมลูกหนี้ทั้ง 3 กลุ่ม ที่จัดเป็นลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่จะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,759 ราย เป็นมูลหนี้
ประมาณ 2,156,515 ล้านบาท
2.2 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายเล็กตามบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายเล็กที่ คปน. ได้กำหนดให้สถาบันการเงินเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการเป็นรายเดือน รวม
กับที่ลูกหนี้ติดต่อขอเข้ามาเอง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542 นั้น ในขณะนี้มีลูกหนี้ที่อยู่ในความดูแลของ คปน. จำนวนทั้งสิ้น 5,010
ราย เป็นมูลหนี้ประมาณ 190,119 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว ตามกรอบของบันทึกข้อตกลงฯ
ที่กำหนดภายในระยะเวลา 60 วัน จำนวน 1,760 ราย เป็นมูลหนี้ 28,295 ล้านบาท อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้าง
หนี้จำนวน 805 ราย เป็นมูลหนี้ 72,598 ล้านบาท และอยู่ระหว่างรอการลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ เพื่อผูกพันตนเข้าสู่กระบวน
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งมีระยะเวลา 45 วัน นับจากวันที่ คปน. แจ้งรายชื่อลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกจำนวน 1,557 ราย มูลหนี้
12,729 ล้านบาท
ลูกหนี้ที่เหลือเป็นลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดีทางศาลจำนวน 888 ราย มูลหนี้รวม 76,497 ล้านบาท เนื่องจากเป็นลูกหนี้ที่ไม่
ลงนามในบันทึกข้อตกลง และเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการทางศาล หรือเป็นลูกหนี้ที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงแต่ไม่สามารถเจรจาปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ
รายงานข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543
1. ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543 ระบบสถาบันการเงินมียอด NPL คงค้างทั้งสิ้น 2,087.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
38.68 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 7.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.34 จากสิ้นเดือนก่อนหน้า และลดลงสุทธิ 642.1 พันล้านบาท
หรือร้อยละ 23.53 จาก NPL สูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2542
2. การเปลี่ยนแปลงของ NPL ในเดือนมกราคม 2543 สามารถแสดงรายละเอียดได้ ดังนี้
พันล้านบาท
2.1 NPL คงค้าง ณ ธันวาคม 2542 2,094.4
2.2 NPL ที่เพิ่มขึ้น ในเดือนมกราคม 2543 38.5
2.2.1 รายใหม่ 9.3
2.2.2 รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.3 NPL ที่ลดลงในเดือนมกราคม 2543
2.3.1 ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ - 30.2
2.3.2 เหตุผลอื่น - 24.7
2.4 NPL คงค้าง ณ มกราคม 2543 2,087.3
*** NPL ลดลงสุทธิในเดือนมกราคม 2543 7.1
3. การลดลงของ NPL กรณีเหตุผลอื่นตามข้อ 2.3.2 ประกอบด้วย
3.1 NPL ที่มาชำระหนี้จนค้างไม่ถึง 3 เดือน จำนวนรวม 12.4 พันล้านบาท
3.2 การตัดหนี้สูญจากสินเชื่อจัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญที่สำรองครบร้อยละ 100 แล้วจำนวนประมาณ 0.5 พันล้าน
บาท
3.3 อื่น ๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้อง การขายหนี้ เป็นต้น รวม
เป็นจำนวน 11.8 พันล้านบาท
4. ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้างทรงตัวที่ระดับ 885.6 พันล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นสุทธิเพียง 0.2 พันล้านบาท ในขณะ
ที่สินเชื่อรวมยังคงลดลงต่อเนื่อง จึงทำให้อัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30.67
5. ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้าง 1,046.5 พันล้านบาท ลดลงสุทธิ 11.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.06 จาก
เดือนก่อน นับว่าลดลงได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินกลุ่มอื่น ๆ ในเดือนเดียวกัน
6. สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้าง 60.0 พันล้านบาท ลดลงสุทธิ 1.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.60
จากเดือนก่อน
7. บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้าง 95.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 4.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.48 จากเดือนก่อน
8. ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543 NPL คงค้างสูงสุด 3 อันดับแรกแยกตามประเภทธุรกิจอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ
เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก เป็นจำนวน 552.2 พันล้านบาท 361.9 พันล้านบาท และ 327.5 พันล้าน
บาท ตามลำดับ
9. ในเดือนมกราคม 2543 NPL ที่เพิ่มขึ้นรายใหม่จำนวน 38.5 พันล้านบาทนั้น อยู่ในภาคอุตสาหกรรมถึง 11.5 พัน
ล้านบาท รองลงไปคือ ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 5.2 พันล้านบาท และการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 5.1 พันล้านบาท
10. สำหรับรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็น NPL อีกจำนวน 9.3 พันล้านบาทนั้น กว่าครึ่งหนึ่งอยู่ใน
ภาคธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก และภาคอุตสาหกรรม โดยมีจำนวน 2.4 พันล้านบาท และ 2.3 พันล้านบาท ตามลำดับ
11. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จที่เกิดเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2543 เท่ากับ 54.1 พันล้านบาท เป็นการปรับ
ปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ NPL 30.2 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ดีที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือ
ดอกเบี้ยไม่ถึง 3 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มีนาคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ
สิ้นเดือนมกราคม 2543 และรายงานข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ ดังนี้
ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543
1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งระบบ
ในเดือนมกราคม 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 1,126,219 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2542 จำนวน 54,124 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.05 โดยเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
สำเร็จ 184,816 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 11,107 ราย
ยอดหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จที่เพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2543 จำนวน 54,124 ล้านบาท น้อยกว่าที่เพิ่ม
ขึ้นในเดือนธันวาคม 2542 ซึ่งเท่ากับ 162,132 ล้านบาท เนื่องจากในเดือนธันวาคมสถาบันการเงินจะต้องปิดงวดบัญชี จึงเร่ง
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อลดการกันเงินสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
สำหรับหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเดือนมกราคม 2543 มีจำนวน 1,137,862 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
17,349 ล้านบาท จากจำนวน 1,120,513 ล้านบาท ในเดือนธันวาคม 2542 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 โดยมีลูกหนี้ที่อยู่ระ
หว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 26,273 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 74 ราย ในเดือนมกราคม หนี้ที่ได้มีการปรับปรุงโครง
สร้างหนี้สำเร็จ รวมกับหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,264,081 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ทั้งสิ้น
211,089 ราย โดยภาคธุรกิจที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ การค้าส่ง
และการค้าปลีก และการบริการ โดยธุรกิจในกรุงเทพฯ ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จในสัดส่วนประมาณ 77 ภาคกลางและส่วนภูมิ
ภาคอีกประมาณร้อยละ 23
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย
2.1 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ตามสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ และสัญญาระหว่างเจ้าหนี้
ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มที่ 1 และ 2 ที่คัดเลือกมาจากสมาคมเจ้าหนี้ สมาคมลูกหนี้ และจากลูกหนี้ที่มีมูลหนี้
คงค้างตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 702 ราย มูลหนี้ 1,500,242 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ที่ทยอยเข้าสู่กระบวนการของ
สัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ และสัญญาระหว่างเจ้าหนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542 เป็นต้นมา จากข้อมูลล่าสุดได้มีผลสรุปในการ
ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว 621 ราย มูลหนี้ 1,339,624 ล้านบาท หรือประมาณ ร้อยละ 89 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น
ในจำนวน 621 ราย ดังกล่าวข้างต้น เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จจำนวน 259 รายมูลหนี้
รวม 667,214 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น ลูกหนี้อีก 362 ราย มูลหนี้ 672,410 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ
45 ของมูลหนี้ เป็นลูกหนี้ที่จะต้องถูกดำเนินคดีทางศาล เนื่องจากปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จ หรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่ยอมลงนาม
ผูกพันตนเพื่อเข้าสู่กระบวนการ รวมถึงลูกหนี้ปกติที่ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ลูกหนี้เป้าหมายกลุ่มที่ 1 และ 2 ที่ยังเหลืออยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวน 81 รายเป็นมูล
หนี้ 160,618 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้อสรุปได้ภายในเดือนมีนาคม 2543
สำหรับลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มที่ 3 ซึ่งคัดเลือกจากลูกหนี้ที่มีมูลหนี้ตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไปรวมกับลูกหนี้ที่
ประสงค์เข้าสู่กระบวนการของสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้เองนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 มีจำนวน 1,057 ราย มูลหนี้รวม
656,273 ล้านบาท ในจำนวนนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว 10 ราย มูลหนี้รวม 3,224 ล้านบาท อีก 318 ราย มูลหนี้
153,856 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ส่วนที่เหลือจะต้องเข้าสู่กระบวนการทางศาล เนื่องจากไม่สามารถปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ได้ หรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่ลงนามในสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ ซึ่ง คปน. ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ดำเนินคดีตามกฎหมายกับ
ลูกหนี้ดังกล่าว
เมื่อรวมลูกหนี้ทั้ง 3 กลุ่ม ที่จัดเป็นลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่จะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,759 ราย เป็นมูลหนี้
ประมาณ 2,156,515 ล้านบาท
2.2 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายเล็กตามบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายเล็กที่ คปน. ได้กำหนดให้สถาบันการเงินเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการเป็นรายเดือน รวม
กับที่ลูกหนี้ติดต่อขอเข้ามาเอง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542 นั้น ในขณะนี้มีลูกหนี้ที่อยู่ในความดูแลของ คปน. จำนวนทั้งสิ้น 5,010
ราย เป็นมูลหนี้ประมาณ 190,119 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว ตามกรอบของบันทึกข้อตกลงฯ
ที่กำหนดภายในระยะเวลา 60 วัน จำนวน 1,760 ราย เป็นมูลหนี้ 28,295 ล้านบาท อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้าง
หนี้จำนวน 805 ราย เป็นมูลหนี้ 72,598 ล้านบาท และอยู่ระหว่างรอการลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ เพื่อผูกพันตนเข้าสู่กระบวน
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งมีระยะเวลา 45 วัน นับจากวันที่ คปน. แจ้งรายชื่อลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกจำนวน 1,557 ราย มูลหนี้
12,729 ล้านบาท
ลูกหนี้ที่เหลือเป็นลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดีทางศาลจำนวน 888 ราย มูลหนี้รวม 76,497 ล้านบาท เนื่องจากเป็นลูกหนี้ที่ไม่
ลงนามในบันทึกข้อตกลง และเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการทางศาล หรือเป็นลูกหนี้ที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงแต่ไม่สามารถเจรจาปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ
รายงานข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543
1. ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543 ระบบสถาบันการเงินมียอด NPL คงค้างทั้งสิ้น 2,087.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
38.68 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 7.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.34 จากสิ้นเดือนก่อนหน้า และลดลงสุทธิ 642.1 พันล้านบาท
หรือร้อยละ 23.53 จาก NPL สูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2542
2. การเปลี่ยนแปลงของ NPL ในเดือนมกราคม 2543 สามารถแสดงรายละเอียดได้ ดังนี้
พันล้านบาท
2.1 NPL คงค้าง ณ ธันวาคม 2542 2,094.4
2.2 NPL ที่เพิ่มขึ้น ในเดือนมกราคม 2543 38.5
2.2.1 รายใหม่ 9.3
2.2.2 รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.3 NPL ที่ลดลงในเดือนมกราคม 2543
2.3.1 ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ - 30.2
2.3.2 เหตุผลอื่น - 24.7
2.4 NPL คงค้าง ณ มกราคม 2543 2,087.3
*** NPL ลดลงสุทธิในเดือนมกราคม 2543 7.1
3. การลดลงของ NPL กรณีเหตุผลอื่นตามข้อ 2.3.2 ประกอบด้วย
3.1 NPL ที่มาชำระหนี้จนค้างไม่ถึง 3 เดือน จำนวนรวม 12.4 พันล้านบาท
3.2 การตัดหนี้สูญจากสินเชื่อจัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญที่สำรองครบร้อยละ 100 แล้วจำนวนประมาณ 0.5 พันล้าน
บาท
3.3 อื่น ๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้อง การขายหนี้ เป็นต้น รวม
เป็นจำนวน 11.8 พันล้านบาท
4. ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้างทรงตัวที่ระดับ 885.6 พันล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นสุทธิเพียง 0.2 พันล้านบาท ในขณะ
ที่สินเชื่อรวมยังคงลดลงต่อเนื่อง จึงทำให้อัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30.67
5. ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้าง 1,046.5 พันล้านบาท ลดลงสุทธิ 11.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.06 จาก
เดือนก่อน นับว่าลดลงได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินกลุ่มอื่น ๆ ในเดือนเดียวกัน
6. สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้าง 60.0 พันล้านบาท ลดลงสุทธิ 1.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.60
จากเดือนก่อน
7. บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้าง 95.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 4.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.48 จากเดือนก่อน
8. ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543 NPL คงค้างสูงสุด 3 อันดับแรกแยกตามประเภทธุรกิจอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ
เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก เป็นจำนวน 552.2 พันล้านบาท 361.9 พันล้านบาท และ 327.5 พันล้าน
บาท ตามลำดับ
9. ในเดือนมกราคม 2543 NPL ที่เพิ่มขึ้นรายใหม่จำนวน 38.5 พันล้านบาทนั้น อยู่ในภาคอุตสาหกรรมถึง 11.5 พัน
ล้านบาท รองลงไปคือ ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 5.2 พันล้านบาท และการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 5.1 พันล้านบาท
10. สำหรับรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็น NPL อีกจำนวน 9.3 พันล้านบาทนั้น กว่าครึ่งหนึ่งอยู่ใน
ภาคธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก และภาคอุตสาหกรรม โดยมีจำนวน 2.4 พันล้านบาท และ 2.3 พันล้านบาท ตามลำดับ
11. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จที่เกิดเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2543 เท่ากับ 54.1 พันล้านบาท เป็นการปรับ
ปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ NPL 30.2 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ดีที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือ
ดอกเบี้ยไม่ถึง 3 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มีนาคม 2543--