คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2543 พร้อมเอกสารการปรับเปลี่ยนวุฒิทัศน์และยุทธศาสตร์การตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้ส่วนราชการ
ที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีไปพิจารณา
ดำเนินการอย่างเคร่งครัด
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงานว่า ผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 และการปรับเปลี่ยนวุฒิทัศน์
และยุทธศาสตร์การตรวจเงินแผ่นดิน มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี ในปีงบประมาณ 2543 สำนักงานการตรวจเงิน
แผ่นดินได้ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีสำรองพิเศษ และบัญชีผลประโยชน์ประจำปี ดังนี้
1.1 บัญชีทุนสำรองเงินตรา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 มียอดเงินคงเหลือ 577,688.90 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากวันเดียวกันของปีก่อน 214,624.80 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มธนบัตรออกใช้จำนวน 317,351.20
ล้านบาท และการถอนคืนธนบัตรออกใช้จำนวน 102,726.40 ล้านบาท
1.2 บัญชีสำรองพิเศษ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 มียอดคงเหลือ 570,791.38 ล้านบาท ลดลงจาก
วันเดียวกันของปีก่อน 158,494.84 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากค่าของสินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษลดลง จำนวน
134,864.83 ล้านบาท และชดใช้ค่าที่ลดลงของสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา จำนวน 23,630.01 ล้านบาท
1.3 บัญชีผลประโยชน์ประจำปี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542 มีรายได้จำนวน 31,547.55
ล้านบาท ค่าที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ในบัญชีผลประโยชน์จำนวน 26,717.38 ล้านบาท รายจ่ายจำนวน 2,228.17 ล้านบาท
ค่าลดลงของสินทรัพย์ในบัญชีผลประโยชน์จำนวน 25,643.87 ล้านบาท ชดใช้ค่าที่ลดลงของสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรอง
เงินตรา จำนวน 9,186.88 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 มียอดคงเหลือจำนวน 21,206.01 ล้านบาท
2. การตรวจสอบรายงานการเงินของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ 2543 สำนักงานการตรวจเงิน
แผ่นดินได้ตรวจสอบรายงานรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 และงบแสดงฐานะการเงินของ
แผ่นดิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 และแสดงความเห็นว่างบการเงินดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมาย และแสดงรายรับ
รายจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 สรุปได้ดังนี้
2.1 รายรับ ประมาณการรายรับจำนวน 730,420 ล้านบาท รายรับจริงจำนวน 736,947.95 ล้านบาท
รับจริงสูงกว่าประมาณการจำนวน 6,527.95 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้ประเภทภาษีอากรสูงกว่าประมาณการ
2.2 รายจ่าย งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542 งบประมาณรายจ่ายประจำปี/เงินกันไว้
เบิกเหลื่อมปีจำนวน 825,000 ล้านบาท จ่ายในปีงบประมาณ 2542 จำนวน 713,815.13 ล้านบาท กันไว้เบิกในปี
งบประมาณถัดไป 95,280.58 ล้านบาท
2.3 ฐานะการเงินของแผ่นดิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 สรุปได้ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
สินทรัพย์ หนี้สินและทุนแผ่นดิน
สินทรัพย์หมุนเวียน 96,612.58 หนี้สินหมุนเวียน 239,186.54
รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ทุนแผ่นดิน -126,452.88
รอการชดใช้ 16,121.08 จำนวนเงินที่จะได้รับชำระคืนจากลูกหนี้
เงินให้กู้ 102,388.84 เงินให้กู้ 102,388.84
เงินลงทุน 42,766.17 สำรองเงินลงทุน 42,766.17
รวม 257,888.67 รวม 257,888.67
จำนวนเงินที่จะต้องจัดหาชำระหนี้เงินกู้ 950,532.52 เงินกู้แผ่นดิน 950,532.52
รวมทั้งสิ้น 1,208,421.19 รวมทั้งสิ้น 1,208,421.19
3. การตรวจสอบการเงินทั่วไป การตรวจสอบการเงินทั่วไปเป็นการตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นว่า
การรับจ่าย การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจหรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วย
รับตรวจเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ ได้แก่
3.1 การตรวจสอบหน่วยงานของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในปีงบประมาณ 2543 ได้เลือก
ตรวจสอบหน่วยงาน จำนวน 676 หน่วย จากจำนวนทั้งสิ้น 62,643 หน่วย โดยการเลือกตรวจสอบหน่วยงานได้พิจารณา
จากระดับความเสี่ยง โดยให้ความสำคัญกับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง ในปีงบประมาณ 2543 ตรวจสอบเสร็จและแจ้ง
ผลการตรวจสอบแล้ว จำนวน 376 หน่วย และแจ้งผลการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบก่อนปีงบประมาณ 2543
จำนวน 210 หน่วย รวมเป็น 586 หน่วย ผลการตรวจสอบ ตรวจพบการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี และได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
3.2 การตรวจสอบองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในปีงบประมาณ 2543 ได้เลือกตรวจสอบ
อบต. จำนวน 603 หน่วย จากจำนวนทั้งสิ้น 6,746 หน่วย โดยการเลือกตรวจสอบหน่วยงาน ได้เลือกตรวจสอบทุก
จังหวัด ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 8 หน่วย และพิจารณาจากระดับความเสี่ยง โดยให้ความสำคัญกับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง
ในปีงบประมาณ 2543 ตรวจสอบเสร็จและแจ้งผลการตรวจแล้ว จำนวน 603 หน่วย และแจ้งผลการตรวจสอบตามแผน
การตรวจสอบก่อนปีงบประมาณ 2543 จำนวน 25 หน่วย รวมเป็น 628 หน่วย ผลการตรวจสอบ ตรวจพบการปฏิบัติ
ที่ไม่เป็นไปตามระเบียบการรับเงิน การเบิกจ่าย การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 และได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
4. การตรวจสอบงบการเงิน การตรวจสอบงบการเงินเป็นการตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นว่าการ
รับจ่าย การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจหรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ และเพื่อแสดงความเห็นว่างบการเงินถูกต้องตาม
หลักการบัญชีหรือไม่ ดังนี้
4.1 การตรวจสอบงบการเงินรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงิน สอบทานและรายงานผลการสอบทาน
งบการเงินของบริษัทมหาชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินและบริษัทย่อย โดยตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงิน
รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินและบริษัทย่อย ซึ่งมีข้อสังเกตและเสนอแนะให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว คือ นำส่งเป็นรายได้
แผ่นดินไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี, จ่ายค่าใช้จ่ายซึ่งไม่มีผลต่อการแสวงหารายได้, ดำเนินงานไม่เป็นไปตาม
พระราชบัญญัติจัดตั้ง, ทำธุรกรรมที่ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง, ดำเนินการไม่เป็นไปตาม
มติคณะรัฐมนตรีในการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน รวมทั้งมาตรการและแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดทุนและการปรับ
โครงสร้างองค์กรก่อนแปรสภาพเป็นบริษัท จำกัด
4.2 การตรวจสอบงบการเงินโครงการซึ่งใช้เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยตรวจสอบ
และแสดงความเห็นต่องบการเงินโครงการฯ ซึ่งมีข้อสังเกตและเสนอแนะให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
4.3 การตรวจสอบงบการเงินหน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น (ไม่รวมองค์การบริหารส่วนตำบล)
คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครและหน่วยงานในสังกัด และเมืองพัทยา
ซึ่งมีข้อสังเกตและเสนอแนะให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
4.4 การตรวจสอบงบการเงินกองทุน เงินทุนหมุนเวียนและงบการเงินอื่น โดยมีข้อสังเกตและเสนอแนะ
ให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
5. การตรวจสอบเรื่องเฉพาะ
5.1 การตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ เป็นการตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นว่าการจัดเก็บภาษีอากร
ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ ในปี
งบประมาณ 2543 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ของหน่วยรับตรวจเสร็จ จำนวน 42 หน่วย
ตรวจพบความย่อหย่อนของการจัดเก็บภาษี ซึ่งได้เสนอแนะให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
5.2 การตรวจสอบการซื้อการจ้าง เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตาม
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยตรวจสอบขั้นตอนการ
ประกาศประกวดราคา วิธีการกำหนดราคากลาง การเพิ่มหรือลดค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K)
และการตรวจสังเกตการณ์การปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง และการตรวจรับพัสดุตามสัญญาซื้อ ผลการตรวจสอบพบความ
ย่อหย่อนซึ่งได้เสนอแนะให้หน่วยรับตรวจแก้ไขแล้ว
5.3 การตรวจสอบ สืบสวน เป็นการตรวจสอบกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทุจริตหรือปฏิบัติ
ผิดข้อกำหนด ซึ่งได้ข้อมูลจากการตรวจสอบลักษณะอื่น หรือจากการร้องเรียน บัตรสนเท่ห์และที่เป็นข่าวจากสื่อมวลชน
ผลการตรวจสอบสืบสวนในปีงบประมาณ 2543 แยกเป็นกรณีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริต จำนวน 31 เรื่อง กรณี
ปฏิบัติผิดระเบียบหรือมีข้อบกพร่องที่ทำให้ทางราชการเสียหาย จำนวน 114 เรื่อง กรณีตรวจสอบสืบสวนข้อยุติ จำนวน
87 เรื่อง
อนึ่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้จัดทำโครงการนำร่องการตรวจสอบ
โดยหน่วยงานของรัฐได้เข้าร่วม "โครงการเติมความถูกต้องพึงประสงค์และโปร่งใสให้กับหน่วยงานของรัฐ"
กับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานของรัฐไว้ ประกอบด้วย หน่วยงานราชการ
ส่วนกลาง 15 กรม ส่วนภูมิภาค 15 จังหวัด ส่วนท้องถิ่น (เทศบาล 15 เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่
15 จังหวัด) และองค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ 15 หน่วยงาน ซึ่งจะเริ่มปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การตรวจสอบ โดยเริ่มจาก
หน่วยงานของรัฐที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว และขยายการดำเนินการให้ครอบคลุมหน่วยรับการตรวจตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 ต.ค. 44--
-สส-
งบประมาณ พ.ศ. 2543 พร้อมเอกสารการปรับเปลี่ยนวุฒิทัศน์และยุทธศาสตร์การตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้ส่วนราชการ
ที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีไปพิจารณา
ดำเนินการอย่างเคร่งครัด
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงานว่า ผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 และการปรับเปลี่ยนวุฒิทัศน์
และยุทธศาสตร์การตรวจเงินแผ่นดิน มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี ในปีงบประมาณ 2543 สำนักงานการตรวจเงิน
แผ่นดินได้ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีสำรองพิเศษ และบัญชีผลประโยชน์ประจำปี ดังนี้
1.1 บัญชีทุนสำรองเงินตรา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 มียอดเงินคงเหลือ 577,688.90 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากวันเดียวกันของปีก่อน 214,624.80 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มธนบัตรออกใช้จำนวน 317,351.20
ล้านบาท และการถอนคืนธนบัตรออกใช้จำนวน 102,726.40 ล้านบาท
1.2 บัญชีสำรองพิเศษ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 มียอดคงเหลือ 570,791.38 ล้านบาท ลดลงจาก
วันเดียวกันของปีก่อน 158,494.84 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากค่าของสินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษลดลง จำนวน
134,864.83 ล้านบาท และชดใช้ค่าที่ลดลงของสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา จำนวน 23,630.01 ล้านบาท
1.3 บัญชีผลประโยชน์ประจำปี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542 มีรายได้จำนวน 31,547.55
ล้านบาท ค่าที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ในบัญชีผลประโยชน์จำนวน 26,717.38 ล้านบาท รายจ่ายจำนวน 2,228.17 ล้านบาท
ค่าลดลงของสินทรัพย์ในบัญชีผลประโยชน์จำนวน 25,643.87 ล้านบาท ชดใช้ค่าที่ลดลงของสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรอง
เงินตรา จำนวน 9,186.88 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 มียอดคงเหลือจำนวน 21,206.01 ล้านบาท
2. การตรวจสอบรายงานการเงินของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ 2543 สำนักงานการตรวจเงิน
แผ่นดินได้ตรวจสอบรายงานรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 และงบแสดงฐานะการเงินของ
แผ่นดิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 และแสดงความเห็นว่างบการเงินดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมาย และแสดงรายรับ
รายจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 สรุปได้ดังนี้
2.1 รายรับ ประมาณการรายรับจำนวน 730,420 ล้านบาท รายรับจริงจำนวน 736,947.95 ล้านบาท
รับจริงสูงกว่าประมาณการจำนวน 6,527.95 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้ประเภทภาษีอากรสูงกว่าประมาณการ
2.2 รายจ่าย งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542 งบประมาณรายจ่ายประจำปี/เงินกันไว้
เบิกเหลื่อมปีจำนวน 825,000 ล้านบาท จ่ายในปีงบประมาณ 2542 จำนวน 713,815.13 ล้านบาท กันไว้เบิกในปี
งบประมาณถัดไป 95,280.58 ล้านบาท
2.3 ฐานะการเงินของแผ่นดิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 สรุปได้ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
สินทรัพย์ หนี้สินและทุนแผ่นดิน
สินทรัพย์หมุนเวียน 96,612.58 หนี้สินหมุนเวียน 239,186.54
รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ทุนแผ่นดิน -126,452.88
รอการชดใช้ 16,121.08 จำนวนเงินที่จะได้รับชำระคืนจากลูกหนี้
เงินให้กู้ 102,388.84 เงินให้กู้ 102,388.84
เงินลงทุน 42,766.17 สำรองเงินลงทุน 42,766.17
รวม 257,888.67 รวม 257,888.67
จำนวนเงินที่จะต้องจัดหาชำระหนี้เงินกู้ 950,532.52 เงินกู้แผ่นดิน 950,532.52
รวมทั้งสิ้น 1,208,421.19 รวมทั้งสิ้น 1,208,421.19
3. การตรวจสอบการเงินทั่วไป การตรวจสอบการเงินทั่วไปเป็นการตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นว่า
การรับจ่าย การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจหรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วย
รับตรวจเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ ได้แก่
3.1 การตรวจสอบหน่วยงานของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในปีงบประมาณ 2543 ได้เลือก
ตรวจสอบหน่วยงาน จำนวน 676 หน่วย จากจำนวนทั้งสิ้น 62,643 หน่วย โดยการเลือกตรวจสอบหน่วยงานได้พิจารณา
จากระดับความเสี่ยง โดยให้ความสำคัญกับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง ในปีงบประมาณ 2543 ตรวจสอบเสร็จและแจ้ง
ผลการตรวจสอบแล้ว จำนวน 376 หน่วย และแจ้งผลการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบก่อนปีงบประมาณ 2543
จำนวน 210 หน่วย รวมเป็น 586 หน่วย ผลการตรวจสอบ ตรวจพบการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี และได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
3.2 การตรวจสอบองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในปีงบประมาณ 2543 ได้เลือกตรวจสอบ
อบต. จำนวน 603 หน่วย จากจำนวนทั้งสิ้น 6,746 หน่วย โดยการเลือกตรวจสอบหน่วยงาน ได้เลือกตรวจสอบทุก
จังหวัด ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 8 หน่วย และพิจารณาจากระดับความเสี่ยง โดยให้ความสำคัญกับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง
ในปีงบประมาณ 2543 ตรวจสอบเสร็จและแจ้งผลการตรวจแล้ว จำนวน 603 หน่วย และแจ้งผลการตรวจสอบตามแผน
การตรวจสอบก่อนปีงบประมาณ 2543 จำนวน 25 หน่วย รวมเป็น 628 หน่วย ผลการตรวจสอบ ตรวจพบการปฏิบัติ
ที่ไม่เป็นไปตามระเบียบการรับเงิน การเบิกจ่าย การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 และได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
4. การตรวจสอบงบการเงิน การตรวจสอบงบการเงินเป็นการตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นว่าการ
รับจ่าย การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจหรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ และเพื่อแสดงความเห็นว่างบการเงินถูกต้องตาม
หลักการบัญชีหรือไม่ ดังนี้
4.1 การตรวจสอบงบการเงินรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงิน สอบทานและรายงานผลการสอบทาน
งบการเงินของบริษัทมหาชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินและบริษัทย่อย โดยตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงิน
รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินและบริษัทย่อย ซึ่งมีข้อสังเกตและเสนอแนะให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว คือ นำส่งเป็นรายได้
แผ่นดินไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี, จ่ายค่าใช้จ่ายซึ่งไม่มีผลต่อการแสวงหารายได้, ดำเนินงานไม่เป็นไปตาม
พระราชบัญญัติจัดตั้ง, ทำธุรกรรมที่ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง, ดำเนินการไม่เป็นไปตาม
มติคณะรัฐมนตรีในการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน รวมทั้งมาตรการและแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดทุนและการปรับ
โครงสร้างองค์กรก่อนแปรสภาพเป็นบริษัท จำกัด
4.2 การตรวจสอบงบการเงินโครงการซึ่งใช้เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยตรวจสอบ
และแสดงความเห็นต่องบการเงินโครงการฯ ซึ่งมีข้อสังเกตและเสนอแนะให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
4.3 การตรวจสอบงบการเงินหน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น (ไม่รวมองค์การบริหารส่วนตำบล)
คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครและหน่วยงานในสังกัด และเมืองพัทยา
ซึ่งมีข้อสังเกตและเสนอแนะให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
4.4 การตรวจสอบงบการเงินกองทุน เงินทุนหมุนเวียนและงบการเงินอื่น โดยมีข้อสังเกตและเสนอแนะ
ให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
5. การตรวจสอบเรื่องเฉพาะ
5.1 การตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ เป็นการตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นว่าการจัดเก็บภาษีอากร
ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ ในปี
งบประมาณ 2543 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ของหน่วยรับตรวจเสร็จ จำนวน 42 หน่วย
ตรวจพบความย่อหย่อนของการจัดเก็บภาษี ซึ่งได้เสนอแนะให้หน่วยงานแก้ไขแล้ว
5.2 การตรวจสอบการซื้อการจ้าง เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตาม
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยตรวจสอบขั้นตอนการ
ประกาศประกวดราคา วิธีการกำหนดราคากลาง การเพิ่มหรือลดค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K)
และการตรวจสังเกตการณ์การปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง และการตรวจรับพัสดุตามสัญญาซื้อ ผลการตรวจสอบพบความ
ย่อหย่อนซึ่งได้เสนอแนะให้หน่วยรับตรวจแก้ไขแล้ว
5.3 การตรวจสอบ สืบสวน เป็นการตรวจสอบกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทุจริตหรือปฏิบัติ
ผิดข้อกำหนด ซึ่งได้ข้อมูลจากการตรวจสอบลักษณะอื่น หรือจากการร้องเรียน บัตรสนเท่ห์และที่เป็นข่าวจากสื่อมวลชน
ผลการตรวจสอบสืบสวนในปีงบประมาณ 2543 แยกเป็นกรณีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริต จำนวน 31 เรื่อง กรณี
ปฏิบัติผิดระเบียบหรือมีข้อบกพร่องที่ทำให้ทางราชการเสียหาย จำนวน 114 เรื่อง กรณีตรวจสอบสืบสวนข้อยุติ จำนวน
87 เรื่อง
อนึ่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้จัดทำโครงการนำร่องการตรวจสอบ
โดยหน่วยงานของรัฐได้เข้าร่วม "โครงการเติมความถูกต้องพึงประสงค์และโปร่งใสให้กับหน่วยงานของรัฐ"
กับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานของรัฐไว้ ประกอบด้วย หน่วยงานราชการ
ส่วนกลาง 15 กรม ส่วนภูมิภาค 15 จังหวัด ส่วนท้องถิ่น (เทศบาล 15 เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่
15 จังหวัด) และองค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ 15 หน่วยงาน ซึ่งจะเริ่มปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การตรวจสอบ โดยเริ่มจาก
หน่วยงานของรัฐที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว และขยายการดำเนินการให้ครอบคลุมหน่วยรับการตรวจตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 ต.ค. 44--
-สส-