คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้เดิม (Refinance) ในปีงบประมาณ 2545 จำนวน 1,400 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2546 จำนวน 2,000 ล้านบาท และเงินเยน จำนวน 718.560 ล้านเยน โดยรัฐบาลเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยเงินกู้
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอตามที่ได้รับรายงานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ว่า ในช่วงปีงบประมาณ 2545 และ 2546 รฟม. อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก) ซึ่งเป็นระบบใต้ดินตลอดสาย และยังไม่มีรายได้ แต่ รฟม. ต้องรับภาระชำระคืนต้นเงินกู้ค่าก่อสร้างและค่าที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ดังนี้
1. ในปีงบประมาณ 2545 เงินกู้ในประเทศ จำนวน 1,400 ล้านบาท
2. ในปีงบประมาณ 2546 เงินกู้ในประเทศ จำนวน 2,000 ล้านบาท และเงินกู้ต่างประเทศ (JBIC) จำนวน 718.560 ล้านเยน (คิดเป็นเงินบาทประมาณ 274 ล้านบาท) รวมเป็นเงินประมาณ 2,274 ล้านบาท รฟม. จึงต้องกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้เดิม (Refinance) ที่จะครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ 2545 และ 2546 ดังกล่าว โดยรัฐบาลเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้ รฟม. มีเงินชำระคืนเงินกู้ดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการ รฟม. ในการประชุม ครั้งที่ 5/2544 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบแล้วทั้งนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า รฟม. มีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้เดิมดังกล่าว และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
อนึ่ง กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (รฟม.) อย่างไรก็ตาม โดยที่การกู้เงินดังกล่าวมีวงเงินรวมสูงเกือบ 3,700 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อรัฐบาลในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้รับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งนี้ในส่วนของเงินกู้ต่างประเทศ (JBIC) จำนวน 718.560 ล้านเยน นั้น อาจมีจำนวนเงินที่คิดเป็นเงินไทยเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันกู้และวันชำระเงิน ซึ่งอาจแตกต่างไปจากจำนวน 274 ล้านบาท ที่คำนวณในปัจจุบันด้วย นอกจากนี้ กระทรวงการคลังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดทำแผนการเงิน และมาตรการในการบริหารหนี้ระยะยาว สำนักงบประมาณมีความเห็นเกี่ยวกับการเตรียมการของ รฟม. เพื่อรับภาระชำระคืนเงินกู้เพื่อมิให้เป็นภาระของรัฐบาลในอนาคต และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีความเห็นเกี่ยวกับการกู้เงินในประเทศที่ขณะนี้มีสภาพคล่องในระบบสูงและอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน และภาระการจ่ายดอกเบี้ยในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 ต.ค. 44--
-สส-
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอตามที่ได้รับรายงานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ว่า ในช่วงปีงบประมาณ 2545 และ 2546 รฟม. อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก) ซึ่งเป็นระบบใต้ดินตลอดสาย และยังไม่มีรายได้ แต่ รฟม. ต้องรับภาระชำระคืนต้นเงินกู้ค่าก่อสร้างและค่าที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ดังนี้
1. ในปีงบประมาณ 2545 เงินกู้ในประเทศ จำนวน 1,400 ล้านบาท
2. ในปีงบประมาณ 2546 เงินกู้ในประเทศ จำนวน 2,000 ล้านบาท และเงินกู้ต่างประเทศ (JBIC) จำนวน 718.560 ล้านเยน (คิดเป็นเงินบาทประมาณ 274 ล้านบาท) รวมเป็นเงินประมาณ 2,274 ล้านบาท รฟม. จึงต้องกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้เดิม (Refinance) ที่จะครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ 2545 และ 2546 ดังกล่าว โดยรัฐบาลเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้ รฟม. มีเงินชำระคืนเงินกู้ดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการ รฟม. ในการประชุม ครั้งที่ 5/2544 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบแล้วทั้งนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า รฟม. มีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้เดิมดังกล่าว และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
อนึ่ง กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (รฟม.) อย่างไรก็ตาม โดยที่การกู้เงินดังกล่าวมีวงเงินรวมสูงเกือบ 3,700 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อรัฐบาลในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้รับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งนี้ในส่วนของเงินกู้ต่างประเทศ (JBIC) จำนวน 718.560 ล้านเยน นั้น อาจมีจำนวนเงินที่คิดเป็นเงินไทยเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันกู้และวันชำระเงิน ซึ่งอาจแตกต่างไปจากจำนวน 274 ล้านบาท ที่คำนวณในปัจจุบันด้วย นอกจากนี้ กระทรวงการคลังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดทำแผนการเงิน และมาตรการในการบริหารหนี้ระยะยาว สำนักงบประมาณมีความเห็นเกี่ยวกับการเตรียมการของ รฟม. เพื่อรับภาระชำระคืนเงินกู้เพื่อมิให้เป็นภาระของรัฐบาลในอนาคต และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีความเห็นเกี่ยวกับการกู้เงินในประเทศที่ขณะนี้มีสภาพคล่องในระบบสูงและอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน และภาระการจ่ายดอกเบี้ยในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 ต.ค. 44--
-สส-