ทำเนียบรัฐบาล--14 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด ครั้งที่ 11 ซึ่งจะจัดขึ้นในประมาณปี พ.ศ. 2548 ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งองค์การสหประชาชาติเพื่อมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม ซึ่งประเทศไทยจะต้องรับผิดชอบในส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดสถานที่ประชุม ค่าใช้จ่ายสำหรับฝ่ายเลขานุการและเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าติดต่อสื่อสารค่าขนส่งเครื่องใช้อุปกรณ์ในการประชุม รวมทั้งสถานที่ปฏิบัติงานของสื่อมวลชน นั้น เห็นควรให้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนร่วมกันเพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายในการเตรียมงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจัดการประชุมดังกล่าว เพื่อหน่วยงานนั้นจะได้เสนอขอตั้งไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นตามขั้นตอนของการดำเนินงานต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดรายงานว่า การประชุมดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นการประกาศจุดยืนในทางนโยบายที่ชัดเจนว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม รวมถึงการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. เป็นการเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีระดับโลกที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมและการป้องกันอาชญากรรม
3. เป็นโอกาสที่จะได้ประชาสัมพันธ์ขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อเสริมสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศ
4. เป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการมุ่งส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นสถานที่จัดการประชุมสัมมนาและนิทรรศการในระดับระหว่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด ครั้งที่ 11 ซึ่งจะจัดขึ้นในประมาณปี พ.ศ. 2548 ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งองค์การสหประชาชาติเพื่อมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม ซึ่งประเทศไทยจะต้องรับผิดชอบในส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดสถานที่ประชุม ค่าใช้จ่ายสำหรับฝ่ายเลขานุการและเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าติดต่อสื่อสารค่าขนส่งเครื่องใช้อุปกรณ์ในการประชุม รวมทั้งสถานที่ปฏิบัติงานของสื่อมวลชน นั้น เห็นควรให้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนร่วมกันเพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายในการเตรียมงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจัดการประชุมดังกล่าว เพื่อหน่วยงานนั้นจะได้เสนอขอตั้งไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นตามขั้นตอนของการดำเนินงานต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดรายงานว่า การประชุมดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นการประกาศจุดยืนในทางนโยบายที่ชัดเจนว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม รวมถึงการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. เป็นการเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีระดับโลกที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมและการป้องกันอาชญากรรม
3. เป็นโอกาสที่จะได้ประชาสัมพันธ์ขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อเสริมสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศ
4. เป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการมุ่งส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นสถานที่จัดการประชุมสัมมนาและนิทรรศการในระดับระหว่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 พ.ย. 2543--
-สส-