คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอให้ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกระดับประเทศของสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (International Astronomical Union : IAU) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 เป็นต้นไป โดยเสียค่าสมาชิกตามที่สหพันธ์ฯ กำหนด โดยมีค่าสมัครเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของค่าสมาชิกสามัญรายปี เป็นเงินจำนวนประมาณ 60,000 บาท (1,730 ฟรังซ์สวิส) และในปี 2549 หากยังไม่ได้รับการรับรองฯ ก็จะเสียค่าสมาชิกครึ่งหนึ่งของค่าสมาชิก 3,580 ฟรังซ์สวิส ส่วนปีต่อไปจะเสียค่าสมาชิกตามที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีกำหนด
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติดำเนินการตามแนวทางที่ได้รับอนุมัติหลักการ และได้พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยสมควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกระดับประเทศของสหพันธ์ฯ ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ.1919 เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังกิจกรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์ของวิชาดาราศาสตร์ทุกแขนงภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งนี้ สมาชิกของสหพันธ์ฯ ล้วนเป็นนักดาราศาสตร์มืออาชีพที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกเป็นอย่างน้อย ปัจจุบันมีสมาชิกระดับประเทศมากกว่า 65 ประเทศ และสมาชิกระดับบุคคลมากกว่า 9,100 คนจากทั่วประเทศ หากประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกระดับประเทศแล้ว จะได้รับสิทธิประโยชน์หลายประการ ดังนี้
1. มีสิทธิในการออกเสียงและลงมติในการประชุมของสหพันธ์ฯ
2. มีสิทธิในการเสนอชื่อนักวิจัยและนักวิชาการของไทยเข้าเป็นสมาชิกส่วนบุคคล (Individual Membership) ของสหพันธ์ฯ
3. มีสิทธิในการเสนอชื่อกรรมการบริหารและเข้าเป็นกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
4. นักวิจัยและนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ของไทยมีสิทธิในการขอรับทุนสับสนุนการเข้าร่วมประชุมวิชาการดาราศาสตร์ ณ ต่างประเทศ
5. นักวิจัยและนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ของไทยสามารถเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มวิจัยย่อย (Commission) ที่มีหลากหลายสาขาในสหพันธ์ฯ
6. ประเทศไทยมีสิทธิได้รับการพิจารณาเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการด้านดาราศาสตร์ระดับนานาชาติ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนในการจัดประชุมสหพันธ์ฯ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับแจ้งจากเลขาธิการสหพันธ์ฯ อย่างไม่เป็นทางการว่าเพื่อให้ทันการรับรองเป็นสมาชิกของประเทศไทยในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหพันธ์ฯ ครั้งที่ 27 ในเดือนสิงหาคม 2549 ณ กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเชค ประเทศไทย มีความจำเป็นต้องแสดงความจำนงเข้าเป็นสมาชิกภายในเดือนเมษายน 2548 โดยมีค่าสมัครดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติดำเนินการตามแนวทางที่ได้รับอนุมัติหลักการ และได้พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยสมควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกระดับประเทศของสหพันธ์ฯ ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ.1919 เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังกิจกรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์ของวิชาดาราศาสตร์ทุกแขนงภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งนี้ สมาชิกของสหพันธ์ฯ ล้วนเป็นนักดาราศาสตร์มืออาชีพที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกเป็นอย่างน้อย ปัจจุบันมีสมาชิกระดับประเทศมากกว่า 65 ประเทศ และสมาชิกระดับบุคคลมากกว่า 9,100 คนจากทั่วประเทศ หากประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกระดับประเทศแล้ว จะได้รับสิทธิประโยชน์หลายประการ ดังนี้
1. มีสิทธิในการออกเสียงและลงมติในการประชุมของสหพันธ์ฯ
2. มีสิทธิในการเสนอชื่อนักวิจัยและนักวิชาการของไทยเข้าเป็นสมาชิกส่วนบุคคล (Individual Membership) ของสหพันธ์ฯ
3. มีสิทธิในการเสนอชื่อกรรมการบริหารและเข้าเป็นกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
4. นักวิจัยและนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ของไทยมีสิทธิในการขอรับทุนสับสนุนการเข้าร่วมประชุมวิชาการดาราศาสตร์ ณ ต่างประเทศ
5. นักวิจัยและนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ของไทยสามารถเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มวิจัยย่อย (Commission) ที่มีหลากหลายสาขาในสหพันธ์ฯ
6. ประเทศไทยมีสิทธิได้รับการพิจารณาเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการด้านดาราศาสตร์ระดับนานาชาติ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนในการจัดประชุมสหพันธ์ฯ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับแจ้งจากเลขาธิการสหพันธ์ฯ อย่างไม่เป็นทางการว่าเพื่อให้ทันการรับรองเป็นสมาชิกของประเทศไทยในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหพันธ์ฯ ครั้งที่ 27 ในเดือนสิงหาคม 2549 ณ กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเชค ประเทศไทย มีความจำเป็นต้องแสดงความจำนงเข้าเป็นสมาชิกภายในเดือนเมษายน 2548 โดยมีค่าสมัครดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--