คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยรายงานผลการดำเนินงานโครงการตามนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวกับโครงการพลังนักศึกษา พลังแผ่นดิน ..ร่วมต้านสารและยาเสพติด ว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนจะเอาจริงเอาจังและปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด โดยยึดหลัก "การป้องกันนำหน้าการปราบปรามผู้เสพจะต้องได้รับการรักษา ผู้ค้าจะต้องได้รับการลงโทษโดยเด็ดขาด" กำหนดให้ "ทุกภาคส่วน" จะต้องร่วมมือกันแก้ไข นั้น เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลข้างต้น ทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนงบประมาณจากงบที่ได้รับจัดสรรคืนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2544 จำนวน 50 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการพลังนักศึกษา พลังแผ่นดิน….ร่วมต้านสารและยาเสพติด" มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 4 เดือน (มิถุนายน-กันยายน 2544) มีวัตถุประสงค์ของโครงการ 3 ประการ คือ1. เพื่อสร้างเกราะหรือภูมิคุ้มกันไม่ให้นิสิตนักศึกษาไปเกี่ยวข้องกับสารและยาเสพติด2. ใช้พลังของนิสิตนักศึกษาเป็นพลังเพื่อร่วมรณรงค์ป้องกันการใช้สารและยาเสพติดให้กับเพื่อนนักศึกษา และสังคมชุมชนทั่วไป3. กิจกรรมรณรงค์ในภาพกว้าง เพื่อเสริมสร้างกระแสและปลูกจิตสำนึกให้กับสังคมชุมชนทั่วไปการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2544 ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว มีผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้
1) จำนวนโครงการ 411 โครงการ
2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 374,508 คน นิสิตนักศึกษา 193,117 คน อาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ 10,840 คน เยาวชน/ประชาชนทั่วไป 170,551 คน
3) งบประมาณที่ใช้ 49,429,934 บาทกิจกรรมที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชน/ประชาชนทั่วไป โดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการและประสานกับองค์กร หน่วยงาน ชุมชนบริเวณรอบ ๆ สถาบันเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม
1) จำนวนโครงการ 130 โครงการ
2) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 191,307 คน นิสิตนักศึกษา 30,181 คน อาจารย์/เจ้าหน้าที่ 3,387 คน เยาวชน/ประชาชน 157,739 คน
3) งบประมาณ 32,599,489 บาท
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันในภาพกว้าง เพื่อสร้างกระแสและปลูกจิตสำนึกให้กับชุมชนสังคมทั่วไปจะจัดเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่ โดยร่วมกับหน่วยงานราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการร่วมกันกิจกรรมที่สำคัญ เช่น
1. การร่วมจัดกิจกรรม "รวมพลังแผ่นดิน" โดยจัดงานร่วมกับสำนักงาน ปปส. กรุงเทพมหานคร เหล่าทัพ ฯลฯ จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2544 ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร มีนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ไปร่วมงาน 3,500 คน ประชาชน 10,000 คน
2. จัดงานเนื่องในสัปดาห์ป้องกันยาเสพติด เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันสารและยาเสพติด โดยใช้ชื่องานว่า "พลังนักศึกษา พลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด" จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2544 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีนิสิตนักศึกษาร่วมกิจกรรมประมาณ 3,000 คน
3. จัดกิจกรรม "พลังนักศึกษา พลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด" โดยวิทยาลัยโยนกและจังหวัดลำปางร่วมกันจัดขึ้น ในวันที่ 15 กันยายน 2544 ณ สวนสาธารณะเขลางค์ จังหวัดลำปาง มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนร่วมงานประมาณ 3,000 คน
4. จัดกิจกรรม "เยาวชนร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด" โดยมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สำนักงานส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ และ ปปส. จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 15-16 กันยายน 2544 ณ ศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ได้รับพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมเจ้าหญิงสิริวัณวรีมหิดล เสด็จเป็นองค์ประธานเพื่อประทานถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด มีนิสิตนักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 5,000 คน ลักษณะกิจกรรมที่ดำเนินการจะเป็นกิจกรรมในเชิงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหามีหลากหลายลักษณะกิจกรรม เช่น การส่งเสริมการเล่นกีฬา เสริมสร้างความสุนทรีย์ทางด้านจิตใจ กิจกรรมทางเลือกสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การอบรมให้ความรู้ถึงพิษภัย การผลิตสื่อ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์
สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2545 ขณะนี้ได้เสนอแผนการดำเนินงานเพื่อส่งให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ เพื่อพิจารณางบประมาณสนับสนุนในวงเงิน 70 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งของแผนงานจะมีการนำองค์ความรู้ของสถาบันอุดมศึกษามาช่วยในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในลักษณะการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น การพัฒนาระบบข้อมูล สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในสถาบันการศึกษา พัฒนาระบบนิเทศก์ ติดตามผลการดำเนินงาน วิจัยรูปแบบการป้องกันและแก้ไข การบำบัดฟื้นฟู รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 ต.ค. 44--
-สส-
1) จำนวนโครงการ 411 โครงการ
2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 374,508 คน นิสิตนักศึกษา 193,117 คน อาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ 10,840 คน เยาวชน/ประชาชนทั่วไป 170,551 คน
3) งบประมาณที่ใช้ 49,429,934 บาทกิจกรรมที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชน/ประชาชนทั่วไป โดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการและประสานกับองค์กร หน่วยงาน ชุมชนบริเวณรอบ ๆ สถาบันเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม
1) จำนวนโครงการ 130 โครงการ
2) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 191,307 คน นิสิตนักศึกษา 30,181 คน อาจารย์/เจ้าหน้าที่ 3,387 คน เยาวชน/ประชาชน 157,739 คน
3) งบประมาณ 32,599,489 บาท
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันในภาพกว้าง เพื่อสร้างกระแสและปลูกจิตสำนึกให้กับชุมชนสังคมทั่วไปจะจัดเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่ โดยร่วมกับหน่วยงานราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการร่วมกันกิจกรรมที่สำคัญ เช่น
1. การร่วมจัดกิจกรรม "รวมพลังแผ่นดิน" โดยจัดงานร่วมกับสำนักงาน ปปส. กรุงเทพมหานคร เหล่าทัพ ฯลฯ จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2544 ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร มีนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ไปร่วมงาน 3,500 คน ประชาชน 10,000 คน
2. จัดงานเนื่องในสัปดาห์ป้องกันยาเสพติด เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันสารและยาเสพติด โดยใช้ชื่องานว่า "พลังนักศึกษา พลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด" จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2544 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีนิสิตนักศึกษาร่วมกิจกรรมประมาณ 3,000 คน
3. จัดกิจกรรม "พลังนักศึกษา พลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด" โดยวิทยาลัยโยนกและจังหวัดลำปางร่วมกันจัดขึ้น ในวันที่ 15 กันยายน 2544 ณ สวนสาธารณะเขลางค์ จังหวัดลำปาง มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนร่วมงานประมาณ 3,000 คน
4. จัดกิจกรรม "เยาวชนร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด" โดยมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สำนักงานส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ และ ปปส. จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 15-16 กันยายน 2544 ณ ศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ได้รับพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมเจ้าหญิงสิริวัณวรีมหิดล เสด็จเป็นองค์ประธานเพื่อประทานถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด มีนิสิตนักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 5,000 คน ลักษณะกิจกรรมที่ดำเนินการจะเป็นกิจกรรมในเชิงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหามีหลากหลายลักษณะกิจกรรม เช่น การส่งเสริมการเล่นกีฬา เสริมสร้างความสุนทรีย์ทางด้านจิตใจ กิจกรรมทางเลือกสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การอบรมให้ความรู้ถึงพิษภัย การผลิตสื่อ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์
สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2545 ขณะนี้ได้เสนอแผนการดำเนินงานเพื่อส่งให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ เพื่อพิจารณางบประมาณสนับสนุนในวงเงิน 70 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งของแผนงานจะมีการนำองค์ความรู้ของสถาบันอุดมศึกษามาช่วยในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในลักษณะการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น การพัฒนาระบบข้อมูล สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในสถาบันการศึกษา พัฒนาระบบนิเทศก์ ติดตามผลการดำเนินงาน วิจัยรูปแบบการป้องกันและแก้ไข การบำบัดฟื้นฟู รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 ต.ค. 44--
-สส-