ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานผลการดำเนินงานประหยัดงบประมาณการก่อสร้างทางของกรมทางหลวง ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ตั้งแต่ปี 2540 - 2543 ซึ่งมีผลให้การก่อสร้างทางหลวง 176 สายทาง สามารถประหยัดงบประมาณได้ 21,865,336,247.90 บาท สรุปได้ดังนี้
1. กรมทางหลวงได้ดำเนินงานก่อสร้างทางหลวง ตามมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1.1 มาตรการในด้านการปรับลดรูปแบบและการออกแบบทางแบบประหยัด
1) ใช้วิธีปรับความลาดชันของคันทาง ซึ่งใช้ในอัตรา 4 : 1 เป็นในอัตรา 2 : 1 ดังเช่นที่เคยก่อสร้างทางหลวงมาในอดีต ทำให้ลดปริมาณงานดินและค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก
2) สายทางที่ก่อสร้างใหม่ ซึ่งมีการขยายเพิ่มช่องจราจรจากสองช่องจราจรเป็นสี่ช่องจราจร หรือมากกว่า ได้ทำการก่อสร้างคันทางขึ้นมาใหม่อีกข้างหนึ่ง และเพียงแต่เสริมผิวทางปรับระดับคันทางเดิมที่ใช้อยู่เท่านั้น โดยไม่ต้องไปรื้อคันทางเดิมที่ยังใช้การได้ดีอยู่ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อสร้างและลดปริมาณกาารใช้วัสดุงานทางได้มาก เนื่องจากใช้ประโยชน์จากทางเดิมได้มากที่สุด
3) ทางระบายน้ำบริเวณเกาะกลางถนน แต่เดิมดาดด้วยคอนกรีต ได้ใช้วิธีการปลูกหญ้าตามธรรมชาติแทน และการใช้งานก็ได้ผลทัดเทียมกัน
4) การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างเดิมใช้เสาสูงที่มีขนาดใหญ่และราคาสูงมาก ได้เปลี่ยนมาใช้เป็นเสาไฟฟ้าแบบกิ่งเดี่ยวและกิ่งคู่ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้มาก
5) ผิวทางเท้าที่ปูด้วยแผ่นอิฐบล็อกตัวหนอน เปลี่ยนมาใช้เป็นแผ่นปูพื้นเรียบคอนกรีตธรรมดา
6) ปรับเปลี่ยนผิวทางลาดยางจาก MODIFIED ASPHALTIC CONCRETE เป็นผิวทางลาดยางด้วย ASPHALTIC CONCRETE ซึ่งมีราคาถูกกว่า
7) ใช้ดิน เป็นวัสดุถมคันทางแทนทราย ซึ่งดินมีราคาต่ำกว่า และมีแหล่งวัสดุอยู่ใกล้กับพื้นที่ก่อสร้าง
8) ใช้เทคโนโลยีเข้าประยุกต์ด้วยการใช้วัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างให้เป็นประโยชน์ โดยการปรับปรุงคุณภาพวัสดุ ด้วยวิธีประหยัด
9) การออกแบบทางแยกเป็นไปด้วยเรียบง่ายและประหยัด ใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์
1.2 มาตรการคิดราคากลาง
กรมทางหลวงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบและคิดราคาเพื่อกำหนดเป็นราคากลางให้สะท้อนถึงต้นทุนการก่อสร้างที่แท้จริง
1.3 มาตรการในการประกวดราคาการก่อสร้าง
1) ปิดประกาศราคากลางในสถานที่เปิดเผยไว้ล่วงหน้าก่อนวันเปิดซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า1 เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบได้
2) ดำเนินการออกประกวดราคาโดยเร็วเมื่อการออกแบบและคิดราคากลางแล้วเสร็จ และในกรณีที่มีการแบ่งการก่อสร้างในสายทางออกเป็นหลายตอน ให้ดำเนินการออกประกาศประกวดราคาทุกตอนพร้อมกัน และให้มีการเปิดซองราคาสายทางหลาย ๆ สายทางในวันเดียวกัน
3) เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในการประกวดราคามากขึ้น โดยมีการปรับปรุงบัญชีรายชื่อผู้รับเหมาประเภทต่าง ๆ อยู่สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มจำนวนผู้รับเหมาในแต่ละประเภทให้มากขึ้น
4) ในการประกวดราคา หากรายที่เสนอราคาต่ำสุดยังสูงกว่าราคากลาง หรือต่ำกว่าราคากลางเพียงเล็กน้อย โดยที่บริษัทอื่น ๆ เสนอสูงกว่าราคากลางในลักษณะที่สมยอมกันให้ยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น
1.4 มาตรการควบคุมการก่อสร้างและตรวจสอบผลงาน
1) จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นในการควบคุมงานก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดมาตรการที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาเลือกผู้ควบคุมงานได้
2) จัดประชุมผู้รับเหมา เพื่อให้รับผิดชอบในงานก่อสร้างทางให้เป็นไปตามข้อกำหนด รูปแบบ และมาตรฐานของกรมทางหลวง
3) แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามผลการก่อสร้างในระดับกระทรวงเพิ่มเติมขึ้นจากที่กรมทางหลวงได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการจ้างไว้แล้ว
2. ในปีงบประมาณ 2543 กรมทางหลวงยังคงดำเนินงานก่อสร้างทางหลวงตามแนวทางดังกล่าว จำนวน 68 สายทาง ประหยัดงบประมาณได้ 5,088 ล้านบาท สรุปแล้วการดำเนินงานเพื่อประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้างตั้งแต่ปี 2540 - 2543 กรมทางหลวงสามารถประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้างทางได้รวม 21,865 ล้านบาท จากงบประมาณค่าก่อสร้างที่ได้รับจำนวน 64,321 ล้านบาท จำนวนสายทาง 176 สายทาง
3. ในการดำเนินงานปรับปรุงรูปแบบก่อสร้างทางหลวงให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริงในสนามและเป็นไปโดยประหยัด ตลอดจนมีมาตรการในการคิดราคากลางให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง และการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการประกวดราคาดังกล่าวแล้วนั้น เป็นผลให้ราคาในการก่อสร้างทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร ในปัจจุบันลดลงจากเดิม ซึ่งมีราคาค่าก่อสร้างเฉลี่ยกิโลเมตรละ 27 ล้านบาท เหลือเพียงราคาค่าก่อสร้างกิโลเมตรละ 22 ล้านบาท โดยการดำเนินการประหยัดงบประมาณการก่อสร้างดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อแผนงานก่อสร้างแต่ประการใด และทางหลวงที่ก่อสร้างยังมีความแข็งแรงปลอดภัยตามมาตรฐานของกรมทางหลวงทุกประการ รวมทั้งยังเป็นผลให้ภาระผูกพันงบประมาณของกรมทางหลวงในปีต่อ ๆ ไปลดลงอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานผลการดำเนินงานประหยัดงบประมาณการก่อสร้างทางของกรมทางหลวง ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ตั้งแต่ปี 2540 - 2543 ซึ่งมีผลให้การก่อสร้างทางหลวง 176 สายทาง สามารถประหยัดงบประมาณได้ 21,865,336,247.90 บาท สรุปได้ดังนี้
1. กรมทางหลวงได้ดำเนินงานก่อสร้างทางหลวง ตามมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1.1 มาตรการในด้านการปรับลดรูปแบบและการออกแบบทางแบบประหยัด
1) ใช้วิธีปรับความลาดชันของคันทาง ซึ่งใช้ในอัตรา 4 : 1 เป็นในอัตรา 2 : 1 ดังเช่นที่เคยก่อสร้างทางหลวงมาในอดีต ทำให้ลดปริมาณงานดินและค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก
2) สายทางที่ก่อสร้างใหม่ ซึ่งมีการขยายเพิ่มช่องจราจรจากสองช่องจราจรเป็นสี่ช่องจราจร หรือมากกว่า ได้ทำการก่อสร้างคันทางขึ้นมาใหม่อีกข้างหนึ่ง และเพียงแต่เสริมผิวทางปรับระดับคันทางเดิมที่ใช้อยู่เท่านั้น โดยไม่ต้องไปรื้อคันทางเดิมที่ยังใช้การได้ดีอยู่ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อสร้างและลดปริมาณกาารใช้วัสดุงานทางได้มาก เนื่องจากใช้ประโยชน์จากทางเดิมได้มากที่สุด
3) ทางระบายน้ำบริเวณเกาะกลางถนน แต่เดิมดาดด้วยคอนกรีต ได้ใช้วิธีการปลูกหญ้าตามธรรมชาติแทน และการใช้งานก็ได้ผลทัดเทียมกัน
4) การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างเดิมใช้เสาสูงที่มีขนาดใหญ่และราคาสูงมาก ได้เปลี่ยนมาใช้เป็นเสาไฟฟ้าแบบกิ่งเดี่ยวและกิ่งคู่ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้มาก
5) ผิวทางเท้าที่ปูด้วยแผ่นอิฐบล็อกตัวหนอน เปลี่ยนมาใช้เป็นแผ่นปูพื้นเรียบคอนกรีตธรรมดา
6) ปรับเปลี่ยนผิวทางลาดยางจาก MODIFIED ASPHALTIC CONCRETE เป็นผิวทางลาดยางด้วย ASPHALTIC CONCRETE ซึ่งมีราคาถูกกว่า
7) ใช้ดิน เป็นวัสดุถมคันทางแทนทราย ซึ่งดินมีราคาต่ำกว่า และมีแหล่งวัสดุอยู่ใกล้กับพื้นที่ก่อสร้าง
8) ใช้เทคโนโลยีเข้าประยุกต์ด้วยการใช้วัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างให้เป็นประโยชน์ โดยการปรับปรุงคุณภาพวัสดุ ด้วยวิธีประหยัด
9) การออกแบบทางแยกเป็นไปด้วยเรียบง่ายและประหยัด ใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์
1.2 มาตรการคิดราคากลาง
กรมทางหลวงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบและคิดราคาเพื่อกำหนดเป็นราคากลางให้สะท้อนถึงต้นทุนการก่อสร้างที่แท้จริง
1.3 มาตรการในการประกวดราคาการก่อสร้าง
1) ปิดประกาศราคากลางในสถานที่เปิดเผยไว้ล่วงหน้าก่อนวันเปิดซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า1 เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบได้
2) ดำเนินการออกประกวดราคาโดยเร็วเมื่อการออกแบบและคิดราคากลางแล้วเสร็จ และในกรณีที่มีการแบ่งการก่อสร้างในสายทางออกเป็นหลายตอน ให้ดำเนินการออกประกาศประกวดราคาทุกตอนพร้อมกัน และให้มีการเปิดซองราคาสายทางหลาย ๆ สายทางในวันเดียวกัน
3) เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในการประกวดราคามากขึ้น โดยมีการปรับปรุงบัญชีรายชื่อผู้รับเหมาประเภทต่าง ๆ อยู่สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มจำนวนผู้รับเหมาในแต่ละประเภทให้มากขึ้น
4) ในการประกวดราคา หากรายที่เสนอราคาต่ำสุดยังสูงกว่าราคากลาง หรือต่ำกว่าราคากลางเพียงเล็กน้อย โดยที่บริษัทอื่น ๆ เสนอสูงกว่าราคากลางในลักษณะที่สมยอมกันให้ยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น
1.4 มาตรการควบคุมการก่อสร้างและตรวจสอบผลงาน
1) จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นในการควบคุมงานก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดมาตรการที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาเลือกผู้ควบคุมงานได้
2) จัดประชุมผู้รับเหมา เพื่อให้รับผิดชอบในงานก่อสร้างทางให้เป็นไปตามข้อกำหนด รูปแบบ และมาตรฐานของกรมทางหลวง
3) แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามผลการก่อสร้างในระดับกระทรวงเพิ่มเติมขึ้นจากที่กรมทางหลวงได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการจ้างไว้แล้ว
2. ในปีงบประมาณ 2543 กรมทางหลวงยังคงดำเนินงานก่อสร้างทางหลวงตามแนวทางดังกล่าว จำนวน 68 สายทาง ประหยัดงบประมาณได้ 5,088 ล้านบาท สรุปแล้วการดำเนินงานเพื่อประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้างตั้งแต่ปี 2540 - 2543 กรมทางหลวงสามารถประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้างทางได้รวม 21,865 ล้านบาท จากงบประมาณค่าก่อสร้างที่ได้รับจำนวน 64,321 ล้านบาท จำนวนสายทาง 176 สายทาง
3. ในการดำเนินงานปรับปรุงรูปแบบก่อสร้างทางหลวงให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริงในสนามและเป็นไปโดยประหยัด ตลอดจนมีมาตรการในการคิดราคากลางให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง และการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการประกวดราคาดังกล่าวแล้วนั้น เป็นผลให้ราคาในการก่อสร้างทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร ในปัจจุบันลดลงจากเดิม ซึ่งมีราคาค่าก่อสร้างเฉลี่ยกิโลเมตรละ 27 ล้านบาท เหลือเพียงราคาค่าก่อสร้างกิโลเมตรละ 22 ล้านบาท โดยการดำเนินการประหยัดงบประมาณการก่อสร้างดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อแผนงานก่อสร้างแต่ประการใด และทางหลวงที่ก่อสร้างยังมีความแข็งแรงปลอดภัยตามมาตรฐานของกรมทางหลวงทุกประการ รวมทั้งยังเป็นผลให้ภาระผูกพันงบประมาณของกรมทางหลวงในปีต่อ ๆ ไปลดลงอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-