ทำเนียบรัฐบาล--31 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานการดำเนินการเกี่ยวกับการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1............................................
ธนาคารได้โอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (บบส.สุขุมวิท) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2543 จำนวน 8,022 ราย เป็นเงิน 519,378.2 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งอาวัลโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 331,353.0 ล้านบาท มีผลให้สินเชื่อของธนาคารลดลงเหลือ 441,350.7 ล้านบาท หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่โอนไปได้แก่ลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารกรุงไทย ซึ่งรวมถึงลูกหนี้ที่รับโอนมาจากธนาคารมหานครที่มีหนี้ค้างชำระเกิน 12 เดือน เป็นมูลค่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดหนี้คงค้างรวมของลูกหนี้แต่ละราย ซึ่งรวมลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินการทางกฎหมาย แต่ไม่รวมลูกหนี้รายย่อยที่มียอดคงค้างไม่เกิน 5 ล้านบาท
ผลประกอบการของธนาคารในไตรมาสที่ 3 ณ สิ้นกันยายน 2543 ซึ่งเป็นผลประกอบการภายหลังโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของธนาคารที่มั่นคงขึ้น มีตัวเลขสำคัญโดยสรุป ดังนี้
สินทรัพย์ 993.2 พันล้านบาท
เงินให้สินเชื่อ 432.9 พันล้านบาท
เงินฝาก 846.3 พันล้านบาท
(ครบร้อยละ 100 ตามเกณฑ์ของธปท.) 51.7 พันล้านบาท
หนี้ด้อยคุณภาพ (NOL) 92.7 พันล้านบาท
สัดส่วนหนี้ด้อยคุณภาพต่อสินทรัพย์รวมทั้งหมด ร้อยละ 11.0
ยอดขาดทุนสะสมคงเหลือ 75.3 พันล้านบาท
อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ร้อยละ 14.6
2. การปล่อยสินเชื่อ
เพื่อดำเนินบทบาทในการเสริมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และรายการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง และบทบาทอื่น ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ธนาคารเห็นว่าธนาคารควรให้ความสำคัญแก่ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจส่งออก ธุรกิจในส่วนภูมิภาค และธุรกิจเกี่ยวข้องกับโครงการต่าง ๆ ตามงบประมาณหรือแผนงานของรัฐ และเพื่อบรรลุแนวทาง...... ธนาคาร...................
2.1 แผนงานโดยรวม
1) การกระจายอำนาจการปล่อยสินเชื่อ เพื่อแก้ปัญหาคอขวดในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งจะช่วยให้การปล่อยสินเชื่อดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
2) การควบคุมความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสีย ทั้งนี้ โดยการนำกระบวนการพิจารณาและติดตามสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้
3) การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ลูกค้ารับทราบกว้างขวางขึ้น รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของพนักงานเพื่อรองรับนโยบายดังกล่าวข้างต้น
2.2 แผนงานการสนับสนุนภาคธุรกิจต่าง ๆ
1) การจัดตั้งศูนย์ ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อมกระจายทั่วไปไม่น้อยกว่า 40 ศูนย์ โดยแต่ละศูนย์จะให้บริการรวมไปถึงธุรกิจส่งออกด้วย
2) การสนับสนุนการทำธุรกรรมในระดับ อบต.และอบจ. โดยการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่รับงานในท้องถิ่นต่างๆ
3) การออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น เงินกู้ผ่อนบ้านและบัตรเครดิต รวมทั้งการออกบัตรเดบิตเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้จ่ายของบุคคลที่ต้องการใช้จ่ายโดยเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากโดยตรงผ่านบัตรเครดิต
4) การเพิ่มปริมาณธุรกิจวานิชธนกิจ (investment banking) เพื่อช่วยกิจการต่างๆ ในการหาเงินทุนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกหุ้น หุ้นกู้ ตราสารหนี้ การทำ ITO และการแปรรูป (รัฐวิสาหกิจ) รวมทั้งการส่งเสริมกิจกรรมในตลาดรองทั้งด้านการลงทุนและการซื้อขาย
5) การรับซื้อลูกหนี้ที่ปรับปรุงหนี้เรียบร้อยแล้วคืนจาก บบส. สุขุมวิท เพื่อให้โอกาสแก่ลูกหนี้ประกอบธุรกิจได้ตามปกติ เนื่องจาก บบส.สุขุมวิทอาจมีข้อจำกัดในการให้สินเชื่อหรือบริการการธนาคารพาณิชย์ที่.........................................
6) การปรับอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับภาวะอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันธนาคารปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าคู่แข่งประมาณร้อยละ 0.25 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากใกล้เคียงกัน
3. การปรับปรุงหนี้
การปรับปรุงหนี้เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ปรับปรุงหนี้ไปแล้วกว่า 2 แสนล้านบาท ทั้งหนี้ที่มีปัญหาและที่กำลังหรืออาจจะมีปัญหา แม้ว่าธนาคารจะได้โอนหนี้ที่มีปัญหาไปยัง บบส.สุขุมวิทกว่า 5 แสนล้านบาท และเหลือหนี้ที่มีปัญหาอยู่ประมาณ 92 พันล้านบาท ธนาคารยังคงมีภาระกิจในการปรับปรุงหนี้ที่เหลืออยู่ควบคู่ไปกับการช่วย บบส.สุขุมวิท ปรับปรุงหนี้ที่รับโอนไปอีกประมาณ 6 เดือน เนื่องจาก บบส.สุขุมวิทยังอยู่ระหว่างสรรหาผู้เชี่ยวชาญมารับจ้าง......โอนไปจากธนาคาร
ธนาคารเชื่อว่าแผนงานดังกล่าวข้างต้นจะช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจที่แท้จริงและภาคการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานการดำเนินการเกี่ยวกับการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1............................................
ธนาคารได้โอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (บบส.สุขุมวิท) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2543 จำนวน 8,022 ราย เป็นเงิน 519,378.2 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งอาวัลโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 331,353.0 ล้านบาท มีผลให้สินเชื่อของธนาคารลดลงเหลือ 441,350.7 ล้านบาท หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่โอนไปได้แก่ลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารกรุงไทย ซึ่งรวมถึงลูกหนี้ที่รับโอนมาจากธนาคารมหานครที่มีหนี้ค้างชำระเกิน 12 เดือน เป็นมูลค่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดหนี้คงค้างรวมของลูกหนี้แต่ละราย ซึ่งรวมลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินการทางกฎหมาย แต่ไม่รวมลูกหนี้รายย่อยที่มียอดคงค้างไม่เกิน 5 ล้านบาท
ผลประกอบการของธนาคารในไตรมาสที่ 3 ณ สิ้นกันยายน 2543 ซึ่งเป็นผลประกอบการภายหลังโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของธนาคารที่มั่นคงขึ้น มีตัวเลขสำคัญโดยสรุป ดังนี้
สินทรัพย์ 993.2 พันล้านบาท
เงินให้สินเชื่อ 432.9 พันล้านบาท
เงินฝาก 846.3 พันล้านบาท
(ครบร้อยละ 100 ตามเกณฑ์ของธปท.) 51.7 พันล้านบาท
หนี้ด้อยคุณภาพ (NOL) 92.7 พันล้านบาท
สัดส่วนหนี้ด้อยคุณภาพต่อสินทรัพย์รวมทั้งหมด ร้อยละ 11.0
ยอดขาดทุนสะสมคงเหลือ 75.3 พันล้านบาท
อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ร้อยละ 14.6
2. การปล่อยสินเชื่อ
เพื่อดำเนินบทบาทในการเสริมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และรายการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง และบทบาทอื่น ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ธนาคารเห็นว่าธนาคารควรให้ความสำคัญแก่ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจส่งออก ธุรกิจในส่วนภูมิภาค และธุรกิจเกี่ยวข้องกับโครงการต่าง ๆ ตามงบประมาณหรือแผนงานของรัฐ และเพื่อบรรลุแนวทาง...... ธนาคาร...................
2.1 แผนงานโดยรวม
1) การกระจายอำนาจการปล่อยสินเชื่อ เพื่อแก้ปัญหาคอขวดในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งจะช่วยให้การปล่อยสินเชื่อดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
2) การควบคุมความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสีย ทั้งนี้ โดยการนำกระบวนการพิจารณาและติดตามสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้
3) การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ลูกค้ารับทราบกว้างขวางขึ้น รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของพนักงานเพื่อรองรับนโยบายดังกล่าวข้างต้น
2.2 แผนงานการสนับสนุนภาคธุรกิจต่าง ๆ
1) การจัดตั้งศูนย์ ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อมกระจายทั่วไปไม่น้อยกว่า 40 ศูนย์ โดยแต่ละศูนย์จะให้บริการรวมไปถึงธุรกิจส่งออกด้วย
2) การสนับสนุนการทำธุรกรรมในระดับ อบต.และอบจ. โดยการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่รับงานในท้องถิ่นต่างๆ
3) การออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น เงินกู้ผ่อนบ้านและบัตรเครดิต รวมทั้งการออกบัตรเดบิตเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้จ่ายของบุคคลที่ต้องการใช้จ่ายโดยเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากโดยตรงผ่านบัตรเครดิต
4) การเพิ่มปริมาณธุรกิจวานิชธนกิจ (investment banking) เพื่อช่วยกิจการต่างๆ ในการหาเงินทุนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกหุ้น หุ้นกู้ ตราสารหนี้ การทำ ITO และการแปรรูป (รัฐวิสาหกิจ) รวมทั้งการส่งเสริมกิจกรรมในตลาดรองทั้งด้านการลงทุนและการซื้อขาย
5) การรับซื้อลูกหนี้ที่ปรับปรุงหนี้เรียบร้อยแล้วคืนจาก บบส. สุขุมวิท เพื่อให้โอกาสแก่ลูกหนี้ประกอบธุรกิจได้ตามปกติ เนื่องจาก บบส.สุขุมวิทอาจมีข้อจำกัดในการให้สินเชื่อหรือบริการการธนาคารพาณิชย์ที่.........................................
6) การปรับอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับภาวะอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันธนาคารปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าคู่แข่งประมาณร้อยละ 0.25 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากใกล้เคียงกัน
3. การปรับปรุงหนี้
การปรับปรุงหนี้เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ปรับปรุงหนี้ไปแล้วกว่า 2 แสนล้านบาท ทั้งหนี้ที่มีปัญหาและที่กำลังหรืออาจจะมีปัญหา แม้ว่าธนาคารจะได้โอนหนี้ที่มีปัญหาไปยัง บบส.สุขุมวิทกว่า 5 แสนล้านบาท และเหลือหนี้ที่มีปัญหาอยู่ประมาณ 92 พันล้านบาท ธนาคารยังคงมีภาระกิจในการปรับปรุงหนี้ที่เหลืออยู่ควบคู่ไปกับการช่วย บบส.สุขุมวิท ปรับปรุงหนี้ที่รับโอนไปอีกประมาณ 6 เดือน เนื่องจาก บบส.สุขุมวิทยังอยู่ระหว่างสรรหาผู้เชี่ยวชาญมารับจ้าง......โอนไปจากธนาคาร
ธนาคารเชื่อว่าแผนงานดังกล่าวข้างต้นจะช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจที่แท้จริงและภาคการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ต.ค. 2543--
-สส-