ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 รวม 17 ฉบับ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง แล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งร่างกฎกระทรวงฯ ร่างระเบียบฯ และร่างประกาศฯ ในเรื่องนี้ รวม 17 ฉบับ เป็นร่างกฎหมายที่อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เว้นแต่ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 ตามข้อ 1.1 ฉบับที่ 4 ตามข้อ 1.4 ฉบับที่ 5 ตามข้อ 1.5และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ 3.3 ที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้แก้ไขจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว
ร่างกฎกระทรวง ร่างระเบียบฯ และร่างประกาศฯ รวม 17 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จำนวน 10 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 1ฯ ออกตามความในมาตรา 3 กำหนดนิติบุคคลบางประเภทให้เป็นสถาบันการเงิน (ร่างฯ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากร่างฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว)
1.2 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 2ฯ ออกตามความในมาตรา 4 และมาตรา 13 (1) และ (2) กำหนดจำนวนเงินในการทำธุรกรรมที่ต้องรายงานต่อ สปง. (กรณีเงินสด 2 ล้านบาท กรณีทรัพย์สินมูลค่า 5 ล้านบาท)
1.3 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 3ฯ ออกตามความในมาตรา 4 และมาตรา 15 (1) และ (2) กำหนดให้สำนักงานที่ดินต้องรายงาน สปง. เมื่อมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
1.4 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 4ฯ ออกตามความในมาตรา 17 กำหนดแบบ ระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานตามมาตรา 13 - 16 (ร่างฯ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากร่างฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว)
1.5 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 5ฯ ออกตามความในมาตรา 18 กำหนดธุรกรรมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานตามมาตรา 13 มาตรา 15 และมาตรา 16 (ร่างฯ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากร่างฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว)
1.6 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 6ฯ ออกตามความในมาตรา 20 วรรคหนึ่ง กำหนดธุรกรรมที่สถาบันการเงินต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน
1.7 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 7ฯ ออกตามความในมาตรา 21 วรรคสาม กำหนดแบบรายการ หลักเกณฑ์และวิธีการบันทึกข้อเท็จจริงของลูกค้าสถาบันการเงิน
1.8 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 8ฯ ออกตามความในมาตรา 48 วรรคสาม กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม
1.9 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 9ฯ ออกตามความในมาตรา 48 วรรคสี่ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงหลักฐานว่าเงินหรือทรัพย์สินในการทำธุรกรรมมิใช่ทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิด
1.10 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 10ฯ ออกตามความในมาตรา 56 วรรคสอง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
2. ร่างระเบียบฯ จำนวน 4 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญดังนี้
2.1 ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กำหนดคุณสมบัติ การแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
2.2 ร่างระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ กำหนดการเก็บรักษาและการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัด
2.3 ร่างระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ กำหนดการให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ การนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด และการนำทรัพย์สินไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการ
2.4 ร่างระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ กำหนดการประเมินค่าเสียหายและค่าเสื่อมสภาพ
3. ร่างประกาศฯ จำนวน 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญดังนี้
3.1 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
3.2 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กำหนดวิธีการแสดงตนของลูกค้าสถาบันการเงิน
3.3 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการธุรกรรมพ.ศ. ….
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 รวม 17 ฉบับ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง แล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งร่างกฎกระทรวงฯ ร่างระเบียบฯ และร่างประกาศฯ ในเรื่องนี้ รวม 17 ฉบับ เป็นร่างกฎหมายที่อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เว้นแต่ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 ตามข้อ 1.1 ฉบับที่ 4 ตามข้อ 1.4 ฉบับที่ 5 ตามข้อ 1.5และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ 3.3 ที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้แก้ไขจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว
ร่างกฎกระทรวง ร่างระเบียบฯ และร่างประกาศฯ รวม 17 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จำนวน 10 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 1ฯ ออกตามความในมาตรา 3 กำหนดนิติบุคคลบางประเภทให้เป็นสถาบันการเงิน (ร่างฯ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากร่างฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว)
1.2 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 2ฯ ออกตามความในมาตรา 4 และมาตรา 13 (1) และ (2) กำหนดจำนวนเงินในการทำธุรกรรมที่ต้องรายงานต่อ สปง. (กรณีเงินสด 2 ล้านบาท กรณีทรัพย์สินมูลค่า 5 ล้านบาท)
1.3 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 3ฯ ออกตามความในมาตรา 4 และมาตรา 15 (1) และ (2) กำหนดให้สำนักงานที่ดินต้องรายงาน สปง. เมื่อมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
1.4 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 4ฯ ออกตามความในมาตรา 17 กำหนดแบบ ระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานตามมาตรา 13 - 16 (ร่างฯ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากร่างฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว)
1.5 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 5ฯ ออกตามความในมาตรา 18 กำหนดธุรกรรมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานตามมาตรา 13 มาตรา 15 และมาตรา 16 (ร่างฯ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากร่างฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว)
1.6 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 6ฯ ออกตามความในมาตรา 20 วรรคหนึ่ง กำหนดธุรกรรมที่สถาบันการเงินต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน
1.7 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 7ฯ ออกตามความในมาตรา 21 วรรคสาม กำหนดแบบรายการ หลักเกณฑ์และวิธีการบันทึกข้อเท็จจริงของลูกค้าสถาบันการเงิน
1.8 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 8ฯ ออกตามความในมาตรา 48 วรรคสาม กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม
1.9 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 9ฯ ออกตามความในมาตรา 48 วรรคสี่ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงหลักฐานว่าเงินหรือทรัพย์สินในการทำธุรกรรมมิใช่ทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิด
1.10 ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 10ฯ ออกตามความในมาตรา 56 วรรคสอง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
2. ร่างระเบียบฯ จำนวน 4 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญดังนี้
2.1 ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กำหนดคุณสมบัติ การแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
2.2 ร่างระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ กำหนดการเก็บรักษาและการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัด
2.3 ร่างระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ กำหนดการให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ การนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด และการนำทรัพย์สินไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการ
2.4 ร่างระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ กำหนดการประเมินค่าเสียหายและค่าเสื่อมสภาพ
3. ร่างประกาศฯ จำนวน 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญดังนี้
3.1 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
3.2 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กำหนดวิธีการแสดงตนของลูกค้าสถาบันการเงิน
3.3 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการธุรกรรมพ.ศ. ….
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-