ทำเนียบรัฐบาล--3 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาท่าทีไทยเรื่อง e-ASEAN Initiative ซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 ที่ประเทศฟิลิปปินส์เดือนพฤศจิกายน 2542 โดยที่ประชุมได้อนุมัติข้อเสนอ e-ASEAN Initiative และเห็นชอบที่จะให้มีการลดภาษีสินค้า บริการ และส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้เกิดเขตการค้าเสรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) และต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้น 2 คณะ คือ
1. คณะทำงานระดับสูงภาครัฐ - เอกชน มีชื่อเรียกว่า คณะทำงานระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอกนิกส์ (e-ASEAN Task Force : EATF) และ
2. คณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN Working Group : EAWG)
ในการนี้ คณะทำงานระดับสูงฯ (e-ASEAN Task Force) ได้มีข้อเสนอให้ดำเนินการใน 5 ด้านหลัก คือ
1. การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ (ASEAN Information Infrastructure : AII)
2. การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Facilitation E-Commerce)
3. การจัดทำเขตการค้าเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน(Common marketplace for ASEAN ICT goods and services) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ด้านการค้าสินค้า (e- Trade) ด้านการค้าบริการ (e-Service) และด้านการส่งเสริมการลงทุน (e-Investment)
4. การส่งเสริมการพัฒนาสังคม e-Society ในอาเซียน โดยการเสริมสร้างสังคมบนพื้นฐานความรู้ที่สูงขึ้น (Knowledge-based Society) เพื่อลดช่องว่างในอาเซียน
ในการนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543 ได้พิจารณาในเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน แล้วมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ประเด็นด้าน e-Trade
1.1 เห็นชอบในหลักการให้มีการเร่งลดภาษีสินค้า IT ให้เหลือ 0% ในปี 2546 โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ กนศ. หารือกับภาคเอกชนก่อน
1.2 ไม่ขยายขอบเขตสินค้า IT ออกไปมากกว่าความตกลง ITA-1
2. ประเด็นด้าน e-Investment
เห็นชอบให้มีการขยายการให้สิทธิประโยชน์โครงการ AICO และโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนภายใต้เขตการลงทุนอาเซียนออกไปอีก 1 ปี
ขณะนี้ประเทศไทยได้ลดอัตราภาษีสินค้า IT เหลือ 0% แล้วจำนวน 153 รายการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2543 ประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของไทย คือ ประเทศที่เป็นสมาชิกความตกลง ITA-1 จำนวน 17 ประเทศ และประเทศสมาชิก WTO ที่ไม่ใช่สมาชิกความตกลง ITA-1 อีก 136 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศอาเซียนที่เป็นสมาชิกความตกลง ITA-1 จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาท่าทีไทยเรื่อง e-ASEAN Initiative ซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 ที่ประเทศฟิลิปปินส์เดือนพฤศจิกายน 2542 โดยที่ประชุมได้อนุมัติข้อเสนอ e-ASEAN Initiative และเห็นชอบที่จะให้มีการลดภาษีสินค้า บริการ และส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้เกิดเขตการค้าเสรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) และต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้น 2 คณะ คือ
1. คณะทำงานระดับสูงภาครัฐ - เอกชน มีชื่อเรียกว่า คณะทำงานระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอกนิกส์ (e-ASEAN Task Force : EATF) และ
2. คณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN Working Group : EAWG)
ในการนี้ คณะทำงานระดับสูงฯ (e-ASEAN Task Force) ได้มีข้อเสนอให้ดำเนินการใน 5 ด้านหลัก คือ
1. การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ (ASEAN Information Infrastructure : AII)
2. การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Facilitation E-Commerce)
3. การจัดทำเขตการค้าเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน(Common marketplace for ASEAN ICT goods and services) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ด้านการค้าสินค้า (e- Trade) ด้านการค้าบริการ (e-Service) และด้านการส่งเสริมการลงทุน (e-Investment)
4. การส่งเสริมการพัฒนาสังคม e-Society ในอาเซียน โดยการเสริมสร้างสังคมบนพื้นฐานความรู้ที่สูงขึ้น (Knowledge-based Society) เพื่อลดช่องว่างในอาเซียน
ในการนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543 ได้พิจารณาในเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน แล้วมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ประเด็นด้าน e-Trade
1.1 เห็นชอบในหลักการให้มีการเร่งลดภาษีสินค้า IT ให้เหลือ 0% ในปี 2546 โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ กนศ. หารือกับภาคเอกชนก่อน
1.2 ไม่ขยายขอบเขตสินค้า IT ออกไปมากกว่าความตกลง ITA-1
2. ประเด็นด้าน e-Investment
เห็นชอบให้มีการขยายการให้สิทธิประโยชน์โครงการ AICO และโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนภายใต้เขตการลงทุนอาเซียนออกไปอีก 1 ปี
ขณะนี้ประเทศไทยได้ลดอัตราภาษีสินค้า IT เหลือ 0% แล้วจำนวน 153 รายการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2543 ประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของไทย คือ ประเทศที่เป็นสมาชิกความตกลง ITA-1 จำนวน 17 ประเทศ และประเทศสมาชิก WTO ที่ไม่ใช่สมาชิกความตกลง ITA-1 อีก 136 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศอาเซียนที่เป็นสมาชิกความตกลง ITA-1 จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ก.ค. 2543--
-สส-