คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการดำเนินการตามโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 8 ส่วนที่ 1 ตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เสนอ โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรอง เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายคมนาคม พลังงาน และเทคโนโลยี) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธานกรรมการ ไปหารือร่วมกับกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินการดังนี้
1. โครงการดังกล่าวมีผลตอบแทนทางการเงินอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.29 ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่สูง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงทางด้านการเงิน กฟภ. จึงควรจัดโครงการสร้างเงินลงทุนให้เหมาะสม โดยลดสัดส่วนการกู้ยืมเงินลง และใช้แหล่งเงินลงทุนจากรายได้ของ กฟภ. เป็นลำดับแรก โดยไม่ควรน้อยกว่าร้อยละ 25 ของวงเงินลงทุน หาก กฟภ. ยังมีความจำเป็นต้องกู้เงิน เห็นควรให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงินเงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและจำเป็น โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน
2. โดยที่ กฟภ. มีแผนการลงทุนในช่วงปี 2547 — 2552 รวมทั้งสิ้น 50,227 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนหนึ่งของเงินทุนมาจากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ ปี 2548 ดังนั้น กฟภ. ควรเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนอย่างจริงจัง โดยเห็นควรให้ กฟภ. หารือกับกระทรวงการคลัง สำหรับแนวทางการระดมทุนเพื่อมาลงทุนตามแผน ฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อกระทรวงการคลังจะได้นำแผนการระดมทุนของ กฟภ. ไปพิจารณาร่วมกับการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการลงทุนขนาดใหญ่อื่น ๆ ภายใน 5 ปี ข้างหน้าต่อไป อนึ่ง หากไม่สามารถดำเนินการระดมทุนตามแผน ควรมีการปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับฐานะการเงินและปริมาณเงินที่จะเข้ามาในแต่ละปี พร้อมทั้งพิจารณาการบริหารหนี้เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน และปรับภาระหนี้ไม่ให้กระจุกตัวภายใต้กรอบความเสี่ยงที่มีผลระยะยาว
3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลเพื่อทำหน้าที่ทบทวนแผนการลงทุนในกิจการไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงของระบบ และความคุ้มค่าในการลงทุนในกิจการไฟฟ้า รวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการลงทุนที่จะก่อประโยชน์แก่ประเทศในระยะยาว
สำหรับการจัดทำแผนการลงทุนในการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าจะต้องคำนึงถึงขีดความสามารถของระบบการป้องกันปัญหาวงจรไฟฟ้าล่ม และเกิดไฟฟ้าดับทั่วเมือง โดยจะต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้าในระยะยาวในการวางแผนการลงทุนพัฒนาระบบไฟฟ้าในระยะเวลาที่เหมาะสม และสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ทั้งนี้ ให้มีการประสานการดำเนินงานร่วมกับ กฟผ. ด้วย เพื่อให้การวางแผนพัฒนาระบบไฟฟ้าของ กฟภ. และ กฟผ. ให้มีความสอดคล้องกันและเกิดประโยชน์สูงสุด และ เนื่องจากขณะนี้ใกล้จะสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินโครงการ ฯ ในปี พ.ศ. 2547 แล้ว จึงเห็นควรให้ กฟภ. ปรับเปลี่ยนระยะเวลาดำเนินการให้เหมาะสมต่อไปด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--
1. โครงการดังกล่าวมีผลตอบแทนทางการเงินอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.29 ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่สูง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงทางด้านการเงิน กฟภ. จึงควรจัดโครงการสร้างเงินลงทุนให้เหมาะสม โดยลดสัดส่วนการกู้ยืมเงินลง และใช้แหล่งเงินลงทุนจากรายได้ของ กฟภ. เป็นลำดับแรก โดยไม่ควรน้อยกว่าร้อยละ 25 ของวงเงินลงทุน หาก กฟภ. ยังมีความจำเป็นต้องกู้เงิน เห็นควรให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงินเงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและจำเป็น โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน
2. โดยที่ กฟภ. มีแผนการลงทุนในช่วงปี 2547 — 2552 รวมทั้งสิ้น 50,227 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนหนึ่งของเงินทุนมาจากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ ปี 2548 ดังนั้น กฟภ. ควรเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนอย่างจริงจัง โดยเห็นควรให้ กฟภ. หารือกับกระทรวงการคลัง สำหรับแนวทางการระดมทุนเพื่อมาลงทุนตามแผน ฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อกระทรวงการคลังจะได้นำแผนการระดมทุนของ กฟภ. ไปพิจารณาร่วมกับการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการลงทุนขนาดใหญ่อื่น ๆ ภายใน 5 ปี ข้างหน้าต่อไป อนึ่ง หากไม่สามารถดำเนินการระดมทุนตามแผน ควรมีการปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับฐานะการเงินและปริมาณเงินที่จะเข้ามาในแต่ละปี พร้อมทั้งพิจารณาการบริหารหนี้เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน และปรับภาระหนี้ไม่ให้กระจุกตัวภายใต้กรอบความเสี่ยงที่มีผลระยะยาว
3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลเพื่อทำหน้าที่ทบทวนแผนการลงทุนในกิจการไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงของระบบ และความคุ้มค่าในการลงทุนในกิจการไฟฟ้า รวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการลงทุนที่จะก่อประโยชน์แก่ประเทศในระยะยาว
สำหรับการจัดทำแผนการลงทุนในการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าจะต้องคำนึงถึงขีดความสามารถของระบบการป้องกันปัญหาวงจรไฟฟ้าล่ม และเกิดไฟฟ้าดับทั่วเมือง โดยจะต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้าในระยะยาวในการวางแผนการลงทุนพัฒนาระบบไฟฟ้าในระยะเวลาที่เหมาะสม และสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ทั้งนี้ ให้มีการประสานการดำเนินงานร่วมกับ กฟผ. ด้วย เพื่อให้การวางแผนพัฒนาระบบไฟฟ้าของ กฟภ. และ กฟผ. ให้มีความสอดคล้องกันและเกิดประโยชน์สูงสุด และ เนื่องจากขณะนี้ใกล้จะสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินโครงการ ฯ ในปี พ.ศ. 2547 แล้ว จึงเห็นควรให้ กฟภ. ปรับเปลี่ยนระยะเวลาดำเนินการให้เหมาะสมต่อไปด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--