ทำเนียบรัฐบาล--22 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนแผนปฏิบัติการในการดำเนินการปรับเปลี่ยนให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการในปัจจุบัน ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ไปดำเนินการด้วย
ซึ่งเห็นว่าเพื่อป้องกันมิให้เกิดความล่าช้าที่อาจกระทบต่อแผน
ดังกล่าวในอนาคต ทบวงมหาวิทยาลัยควรมีมาตรการหรือกลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค และส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ
ให้เป็นไปตามแผนได้โดยราบรื่นด้วย
ทบวงมหาวิทยาลัยรายงานว่า ส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการดังกล่าว มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐจะ
ดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลต่อทบวงมหาวิทยาลัย ภายในปี 2542 จำนวน 5 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และผลความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
ดังกล่าวปรากฏว่าในปี 2542 มีเพียง 2 แห่ง เท่านั้น ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลต่อทบวงมหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหา
วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนอีก 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยบูรพา ยังไม่ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ
ตามที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการฯ
ทบวงมหาวิทยาลัยได้แจ้งให้มหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง ดังกล่าวทบทวนแผนปฏิบัติการฯ และให้ชี้แจงปัญหา
และอุปสรรคที่ไม่สามารถดำเนินการตามที่ได้ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการฯ ได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง ได้ขอทบทวนแผน
ปฏิบัติการฯ สรุปได้ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยมหิดล คาดว่าจะเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2543 และสาเหตุที่ไม่สามารถดำเนินการตาม
แผนปฏิบัติการฯ ได้ นั้น เพราะต้องใช้เวลาในการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติตามข้อ
เสนอแนะของสภามหาวิทยาลัยมหิดล และจากประชาคมของมหาวิทยาลัยจำนวนหลายครั้ง
2. มหาวิทยาลัยทักษิณ ขอขยายระยะเวลาการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อทบวงมหาวิทยาลัยภายในเดือน
กันยายน 2543 เนื่องจากต้องนำร่างพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยให้บุคลากรแสดงความคิดเห็น เพื่อให้มีส่วนร่วมใน
การปรับเปลี่ยนสถานภาพของมหาวิทยาลัย รวม 3 ครั้ง และหลังจากนั้นได้นำร่างพระราชบัญญัติเสนอคณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพิจารณา
และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการ
3. มหาวิทยาลัยบูรพา สภามหาวิทยาลัยบูรพาได้มีมติให้เสนอร่างพระราชบัญญัติต่อทบวงมหาวิทยาลัย
ภายในเดือนมีนาคม 2544 เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติอยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์เพื่อให้ข้าราชการทุกคนมีส่วนร่วม
ในการแสดงความคิดเห็น แล้วนำมาปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติอีกครั้งหนึ่ง
จากผลการทบทวนแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว มีผลกระทบแผนปฏิบัติการฯ เดิมตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ดังนี้
แผนปฏิบัติการฯ เดิม แผนปฏิบัติการฯ ใหม่
ปี 2542 จะมีมหาวิทยาลัยเสนอร่าง พ.ร.บ. จำนวน 5 แห่ง 2 แห่ง
ปี 2543 จะมีมหาวิทยาลัยเสนอร่าง พ.ร.บ. จำนวน 6 แห่ง 8 แห่ง
ปี 2544 จะมีมหาวิทยาลัยเสนอร่าง พ.ร.บ. จำนวน 7 แห่ง 8 แห่ง
ปี 2545 จะมีมหาวิทยาลัยเสนอร่าง พ.ร.บ. จำนวน 2 แห่ง ไม่มีผลกระทบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนแผนปฏิบัติการในการดำเนินการปรับเปลี่ยนให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการในปัจจุบัน ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ไปดำเนินการด้วย
ซึ่งเห็นว่าเพื่อป้องกันมิให้เกิดความล่าช้าที่อาจกระทบต่อแผน
ดังกล่าวในอนาคต ทบวงมหาวิทยาลัยควรมีมาตรการหรือกลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค และส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ
ให้เป็นไปตามแผนได้โดยราบรื่นด้วย
ทบวงมหาวิทยาลัยรายงานว่า ส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการดังกล่าว มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐจะ
ดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลต่อทบวงมหาวิทยาลัย ภายในปี 2542 จำนวน 5 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และผลความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
ดังกล่าวปรากฏว่าในปี 2542 มีเพียง 2 แห่ง เท่านั้น ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลต่อทบวงมหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหา
วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนอีก 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยบูรพา ยังไม่ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ
ตามที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการฯ
ทบวงมหาวิทยาลัยได้แจ้งให้มหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง ดังกล่าวทบทวนแผนปฏิบัติการฯ และให้ชี้แจงปัญหา
และอุปสรรคที่ไม่สามารถดำเนินการตามที่ได้ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการฯ ได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง ได้ขอทบทวนแผน
ปฏิบัติการฯ สรุปได้ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยมหิดล คาดว่าจะเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2543 และสาเหตุที่ไม่สามารถดำเนินการตาม
แผนปฏิบัติการฯ ได้ นั้น เพราะต้องใช้เวลาในการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติตามข้อ
เสนอแนะของสภามหาวิทยาลัยมหิดล และจากประชาคมของมหาวิทยาลัยจำนวนหลายครั้ง
2. มหาวิทยาลัยทักษิณ ขอขยายระยะเวลาการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อทบวงมหาวิทยาลัยภายในเดือน
กันยายน 2543 เนื่องจากต้องนำร่างพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยให้บุคลากรแสดงความคิดเห็น เพื่อให้มีส่วนร่วมใน
การปรับเปลี่ยนสถานภาพของมหาวิทยาลัย รวม 3 ครั้ง และหลังจากนั้นได้นำร่างพระราชบัญญัติเสนอคณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพิจารณา
และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการ
3. มหาวิทยาลัยบูรพา สภามหาวิทยาลัยบูรพาได้มีมติให้เสนอร่างพระราชบัญญัติต่อทบวงมหาวิทยาลัย
ภายในเดือนมีนาคม 2544 เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติอยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์เพื่อให้ข้าราชการทุกคนมีส่วนร่วม
ในการแสดงความคิดเห็น แล้วนำมาปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติอีกครั้งหนึ่ง
จากผลการทบทวนแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว มีผลกระทบแผนปฏิบัติการฯ เดิมตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ดังนี้
แผนปฏิบัติการฯ เดิม แผนปฏิบัติการฯ ใหม่
ปี 2542 จะมีมหาวิทยาลัยเสนอร่าง พ.ร.บ. จำนวน 5 แห่ง 2 แห่ง
ปี 2543 จะมีมหาวิทยาลัยเสนอร่าง พ.ร.บ. จำนวน 6 แห่ง 8 แห่ง
ปี 2544 จะมีมหาวิทยาลัยเสนอร่าง พ.ร.บ. จำนวน 7 แห่ง 8 แห่ง
ปี 2545 จะมีมหาวิทยาลัยเสนอร่าง พ.ร.บ. จำนวน 2 แห่ง ไม่มีผลกระทบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-