ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนาผู้ประกอบการ ในระยะแรกของโครงการ สถาบันพัฒนา SMEs ได้ดำเนินการโดยมุ่งเน้นกิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในช่วงปี 2542 - 2543 จะพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินงานอยู่แล้ว 8,400 รายและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ที่สนใจจะประกอบกิจการ SMEs 24,000 ราย โดยมีนโยบายการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
- มุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพแก่ผู้ประกอบการให้มีแนวคิดและแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงภายใต้ระบบการแข่งขันที่รุนแรง
- มุ่งกระตุ้นแนวคิดและสร้างบรรยากาศตลอดจนปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิสัยทัศน์ให้แก่ผู้ประกอบการเดิม ผู้ประกอบการใหม่ กลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้มีความตื่นตัวที่จะสร้างและแสวงหาโอกาสในการลงทุนทางธุรกิจด้วยการสร้างธุรกิจของตนเอง(Entrepreneur) ด้วยการรู้จักวางแผนธุรกิจ (Business Plan) เพื่อการจัดการความเสี่ยงในการลงทุน (Risk Management) อย่างมีหลักเกณฑ์
- จัดให้มีหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรระยะยาว และหลักสูตรเฉพาะด้านที่หลากหลาย เน้นสาระที่ทันต่อเหตุการณ์และจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจยุคโลกาภิวัฒน์
ผลปรากฏว่า กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2542สถาบันฯ ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรแก่ผู้ประกอบการไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 11,357 ราย แยกเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินงานอยู่แล้วจำนวน 1,242 ราย ผู้ประกอบการใหม่จำนวน 10,115 ราย ตลอดจนได้พัฒนาวิทยากรจำนวน 69 ราย
จากการติดตามและประเมินผลการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่จัดขึ้น พบว่าหลักสูตรเบื้องต้นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการเริ่มต้นและจัดตั้งกิจการของตนเอง การจัดการธุรกิจ SMEs อย่างถูกต้องเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการจัดทำแผนธุรกิจ การปรับโครงสร้างธุรกิจ และการจัดการในภาวะวิกฤต ซึ่งได้แก่ 1) หลักสูตรการสร้างธุรกิจ SMEs 2) หลักสูตรการจัดการธุรกิจ SMEs 3) การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ SMEs 4) การปรับเปลี่ยนการจัดการในสภาวะแวดล้อมผันผวน
ทุกหลักสูตร ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพอใจกับเนื้อหา ระยะเวลา และได้รับประโยชน์ที่สามารถนำไปปรับใช้กับกิจการที่มีอยู่และการจัดตั้งกิจการใหม่ นอกจากนี้ จากผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของผู้เข้าอบรม ทำให้ทราบความต้องการที่แท้จริงและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม คือ หลักสูตรการทำแผนธุรกิจ หลักสูตรด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หลักสูตรระบบบัญชีและภาษี และหลักสูตรด้านการส่งออก เนื่องจากผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ตระหนักดีว่าการทำธุรกิจในสหัสวรรษต่อไป มีความเป็นโลกาภิวัฒน์มากขึ้น ซึ่งเป็นโลกธุรกิจไร้พรมแดน จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้สถาบันฯ จะได้ร่วมกับเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาและจัดฝึกอบรมขึ้นในระยะต่อไป
2. การเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่และการจัดหาครุภัณฑ์
ตามโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนา SMEs นั้น สถาบันฯ จะมีสำนักงานกลางอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และใช้สถานที่ของสถาบันเครือข่าย 7 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถานที่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการดำเนินงาน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันเครือข่ายจัดทำแผนปรับปรุงสิ่งก่อสร้างและจัดหาครุภัณฑ์ เพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณจากสำนักงบประมาณ โดยในขั้นต้นได้รับอนุมัติงบประมาณด้านการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างแล้วจำนวน 245.57 ล้านบาท ขณะนี้สถาบันฯ กำลังดำเนินการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างและจัดหาครุภัณฑ์ตามแผนงานอย่างเร่งด่วน คาดว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายน 2543
3. ระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันฯ
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนและผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อกำหนดขอบเขต นโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานของสถาบันฯ และกำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันฯ
นอกจากนี้ เนื่องจากโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนา SMEs ได้รับงบประมาณสนับสนุนตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงถูกกำกับ ติดตาม และประเมินผลการทำงานอย่างใกล้ชิด ทั้งจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และบริษัทไทยเรทติ้ง แอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ซึ่งสำนักงบประมาณว่าจ้างให้ประเมินผลโครงการต่าง ๆ ภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
4. ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานของสถาบันฯ มีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ ดังนี้
4.1 ทำให้ผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค มีโอกาสได้รับการบริการส่งเสริมพัฒนาและรับการอบรม ซึ่งกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการนั้น เป็นการวางรากฐานระยะยาวอันสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนธุรกิจ การจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามระบบ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนและลดภาระหนี้เสียในระบบการเงินของไทยในอนาคต นอกจากนี้สถาบันฯ ยังมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นและปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนในการสร้างโอกาสทางธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจด้วยการประกอบธุรกิจของตนเอง
4.2 ทำให้เกิดระบบเครือข่ายการทำงานระหว่างหน่วยงานเครือข่ายกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงการพัฒนาและเข้าถึงผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี
4.3 เป็นการเสริมสร้างบทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยให้ได้เข้าถึงปัญหาการดำเนินธุรกิจในเชิงปฏิบัตินอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในเชิงทฤษฎี อันจะนำไปสู่แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางของความเป็นเลิศทางวิชาการ (Center of Excellence) ในด้านที่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นและของประเทศต่อไป
5. แนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป สถาบันฯ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป ดังนี้
5.1 ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพิเศษเฉพาะด้าน ตลอดจนพัฒนาสื่อการสอนเพื่อเผยแพร่ความรู้ในวงกว้าง ในแนวทางที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ประกอบการ (Demand Oriented)
5.2 ดำเนินกิจกรรมปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการเพื่อเป็นกิจกรรมเสริมต่อเนื่องจากกิจกรรมฝึกอบรม
5.3 ดำเนินการศึกษาวิจัยทั้งในด้านการลงทุนและการประกอบการระดับพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการให้บริการปรึกษาแนะนำ และเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำหลักสูตรเฉพาะด้าน และในด้านที่เชื่อมโยงภาคการผลิต การค้า และบริการอย่างครบวงจร (Cluster) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนา SMEs แต่ละสาขาในแต่ละพื้นที่ที่เหมาะสม
5.4 พัฒนาให้สถาบันฯ เป็นศูนย์บริการข้อมูล เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลและให้บริการข้อมูลที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจแก่ SMEs
5.5 มุ่งพัฒนาความเชื่อมโยงเครือข่าย โดยมุ่งเน้นให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ และการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ และระดมความร่วมมือจากองค์กรที่มีประสบการณ์และศักยภาพในการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในและต่างประเทศ มาช่วยพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ของไทยให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนาผู้ประกอบการ ในระยะแรกของโครงการ สถาบันพัฒนา SMEs ได้ดำเนินการโดยมุ่งเน้นกิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในช่วงปี 2542 - 2543 จะพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินงานอยู่แล้ว 8,400 รายและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ที่สนใจจะประกอบกิจการ SMEs 24,000 ราย โดยมีนโยบายการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
- มุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพแก่ผู้ประกอบการให้มีแนวคิดและแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงภายใต้ระบบการแข่งขันที่รุนแรง
- มุ่งกระตุ้นแนวคิดและสร้างบรรยากาศตลอดจนปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิสัยทัศน์ให้แก่ผู้ประกอบการเดิม ผู้ประกอบการใหม่ กลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้มีความตื่นตัวที่จะสร้างและแสวงหาโอกาสในการลงทุนทางธุรกิจด้วยการสร้างธุรกิจของตนเอง(Entrepreneur) ด้วยการรู้จักวางแผนธุรกิจ (Business Plan) เพื่อการจัดการความเสี่ยงในการลงทุน (Risk Management) อย่างมีหลักเกณฑ์
- จัดให้มีหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรระยะยาว และหลักสูตรเฉพาะด้านที่หลากหลาย เน้นสาระที่ทันต่อเหตุการณ์และจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจยุคโลกาภิวัฒน์
ผลปรากฏว่า กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2542สถาบันฯ ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรแก่ผู้ประกอบการไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 11,357 ราย แยกเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินงานอยู่แล้วจำนวน 1,242 ราย ผู้ประกอบการใหม่จำนวน 10,115 ราย ตลอดจนได้พัฒนาวิทยากรจำนวน 69 ราย
จากการติดตามและประเมินผลการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่จัดขึ้น พบว่าหลักสูตรเบื้องต้นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการเริ่มต้นและจัดตั้งกิจการของตนเอง การจัดการธุรกิจ SMEs อย่างถูกต้องเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการจัดทำแผนธุรกิจ การปรับโครงสร้างธุรกิจ และการจัดการในภาวะวิกฤต ซึ่งได้แก่ 1) หลักสูตรการสร้างธุรกิจ SMEs 2) หลักสูตรการจัดการธุรกิจ SMEs 3) การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ SMEs 4) การปรับเปลี่ยนการจัดการในสภาวะแวดล้อมผันผวน
ทุกหลักสูตร ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพอใจกับเนื้อหา ระยะเวลา และได้รับประโยชน์ที่สามารถนำไปปรับใช้กับกิจการที่มีอยู่และการจัดตั้งกิจการใหม่ นอกจากนี้ จากผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของผู้เข้าอบรม ทำให้ทราบความต้องการที่แท้จริงและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม คือ หลักสูตรการทำแผนธุรกิจ หลักสูตรด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หลักสูตรระบบบัญชีและภาษี และหลักสูตรด้านการส่งออก เนื่องจากผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ตระหนักดีว่าการทำธุรกิจในสหัสวรรษต่อไป มีความเป็นโลกาภิวัฒน์มากขึ้น ซึ่งเป็นโลกธุรกิจไร้พรมแดน จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้สถาบันฯ จะได้ร่วมกับเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาและจัดฝึกอบรมขึ้นในระยะต่อไป
2. การเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่และการจัดหาครุภัณฑ์
ตามโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนา SMEs นั้น สถาบันฯ จะมีสำนักงานกลางอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และใช้สถานที่ของสถาบันเครือข่าย 7 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถานที่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการดำเนินงาน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันเครือข่ายจัดทำแผนปรับปรุงสิ่งก่อสร้างและจัดหาครุภัณฑ์ เพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณจากสำนักงบประมาณ โดยในขั้นต้นได้รับอนุมัติงบประมาณด้านการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างแล้วจำนวน 245.57 ล้านบาท ขณะนี้สถาบันฯ กำลังดำเนินการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างและจัดหาครุภัณฑ์ตามแผนงานอย่างเร่งด่วน คาดว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายน 2543
3. ระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันฯ
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนและผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อกำหนดขอบเขต นโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานของสถาบันฯ และกำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันฯ
นอกจากนี้ เนื่องจากโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนา SMEs ได้รับงบประมาณสนับสนุนตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงถูกกำกับ ติดตาม และประเมินผลการทำงานอย่างใกล้ชิด ทั้งจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และบริษัทไทยเรทติ้ง แอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ซึ่งสำนักงบประมาณว่าจ้างให้ประเมินผลโครงการต่าง ๆ ภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
4. ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานของสถาบันฯ มีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ ดังนี้
4.1 ทำให้ผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค มีโอกาสได้รับการบริการส่งเสริมพัฒนาและรับการอบรม ซึ่งกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการนั้น เป็นการวางรากฐานระยะยาวอันสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนธุรกิจ การจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามระบบ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนและลดภาระหนี้เสียในระบบการเงินของไทยในอนาคต นอกจากนี้สถาบันฯ ยังมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นและปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนในการสร้างโอกาสทางธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจด้วยการประกอบธุรกิจของตนเอง
4.2 ทำให้เกิดระบบเครือข่ายการทำงานระหว่างหน่วยงานเครือข่ายกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงการพัฒนาและเข้าถึงผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี
4.3 เป็นการเสริมสร้างบทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยให้ได้เข้าถึงปัญหาการดำเนินธุรกิจในเชิงปฏิบัตินอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในเชิงทฤษฎี อันจะนำไปสู่แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางของความเป็นเลิศทางวิชาการ (Center of Excellence) ในด้านที่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นและของประเทศต่อไป
5. แนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป สถาบันฯ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป ดังนี้
5.1 ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพิเศษเฉพาะด้าน ตลอดจนพัฒนาสื่อการสอนเพื่อเผยแพร่ความรู้ในวงกว้าง ในแนวทางที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ประกอบการ (Demand Oriented)
5.2 ดำเนินกิจกรรมปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการเพื่อเป็นกิจกรรมเสริมต่อเนื่องจากกิจกรรมฝึกอบรม
5.3 ดำเนินการศึกษาวิจัยทั้งในด้านการลงทุนและการประกอบการระดับพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการให้บริการปรึกษาแนะนำ และเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำหลักสูตรเฉพาะด้าน และในด้านที่เชื่อมโยงภาคการผลิต การค้า และบริการอย่างครบวงจร (Cluster) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนา SMEs แต่ละสาขาในแต่ละพื้นที่ที่เหมาะสม
5.4 พัฒนาให้สถาบันฯ เป็นศูนย์บริการข้อมูล เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลและให้บริการข้อมูลที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจแก่ SMEs
5.5 มุ่งพัฒนาความเชื่อมโยงเครือข่าย โดยมุ่งเน้นให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ และการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ และระดมความร่วมมือจากองค์กรที่มีประสบการณ์และศักยภาพในการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในและต่างประเทศ มาช่วยพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ของไทยให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2543--