คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4เกี่ยวกับผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบภาคราชการ (คตส.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 และเห็นชอบให้ดำเนินการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการควบคุมและตรวจสอบ โดยกำหนดแนวทางฯ ดังนี้
1.1 ให้หัวหน้าส่วนราชการให้ความสำคัญกับระบบควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน โดย
1) จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม รัดกุม เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นและกำชับให้ผู้ตรวจสอบภายในตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งให้ผู้ตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระทั้งในการปฏิบัติงาน และการเสนอความเห็น ด้วยการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2542 ข้อ 7 อย่างเคร่งครัด
2) จัดอัตรากำลังของหน่วยตรวจสอบภายในให้เพียงพอกับปริมาณงานในความรับผิด โดยทั่วไปควรมีอัตรากำลังไม่น้อยกว่า 3 อัตรา ทั้งนี้ ให้ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งโดยใช้วิธีเกลี่ยอัตรากำลัง ตามวิธีการที่สำนักงานก.พ. กำหนด รวมทั้งจัดบุคลากรสนับสนุนด้านธุรการ และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอ
3) คัดเลือกและแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และคุณสมบัติเหมาะสมกับการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายในเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ รวมทั้งกำกับดูแล และสนับสนุนให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
1.2 ให้หน่วยงานกลางและส่วนราชการที่จัดอบรมสัมมนาหลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูง ให้ความร่วมมือกับมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในภาคราชการ และสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ โดยจัดให้มีหัวข้อวิชาที่เกี่ยวกับการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และบทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบบริหารจัดการที่ดีในระบบราชการอย่างต่อเนื่อง
2. ให้ความเห็นชอบการจ่ายค่าสมนาคุณตอบแทนการปฏิบัติงานของ คตส. จากเดิมที่เคยจ่ายค่าตอบแทนในรายครั้ง เดือนใดประชุมมากกว่า 1 ครั้ง ให้จ่ายได้ครั้งเดียว โดยประธานกรรมการได้รับไม่เกิน 10,000 บาท/เดือน และกรรมการได้รับไม่เกิน 8,000 บาท/เดือน เป็นอัตราเหมาจ่ายรายเดือน โดยให้ประธานกรรมการได้รับ 20,000บาท/เดือน และกรรมการได้รับ 16,000 บาท/เดือน และให้กรมบัญชีกลางรับผิดชอบตั้งงบประมาณรายการดังกล่าวเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ. รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาดำเนินการ และให้ปลัดกระทรวงตลอดจนรัฐมนตรีรับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ดังนี้
1. ความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นว่า ก.พ. ได้กำหนดกรอบจำนวนและระดับตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในระดับกระทรวงให้ทุกกระทรวงแล้ว เป็นตำแหน่งระดับสูงตั้งแต่ระดับ 7 ถึงระดับ 9 จำนวนกระทรวงละ 3 - 5 ตำแหน่ง ปลัดกระทรวงสามารถดำเนินการโดยใช้วิธีเกลี่ยอัตรากำลังสำหรับปฏิบัติงานตรวจสอบภายในได้ตามกรอบอัตรากำลังที่ ก.พ. กำหนด นั้น ประเด็นของกระทรวงการคลังที่เสนอขอให้หัวหน้าส่วนราชการให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน โดยจัดอัตรากำลังของหน่วยงานตรวจสอบภายในให้เพียงพอกับปริมาณงานในความรับผิดชอบ ซึ่งโดยทั่วไปควรมีอัตรากำลังไม่น้อยกว่า 3 อัตรา อัตราทั้ง 3 อัตราในที่นี้หมายถึงอัตราในระดับกรมซึ่งปัจจุบันอัตราผู้ตรวจสอบภายในระดับกรมบางแห่งมีไม่ถึง 3 อัตรา จึงไม่พอที่จะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 เห็นชอบให้ คตส. รายงานผลการปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบต่อปลัดกระทรวง หรือรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อ คตส. รายงานปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีแล้ว ปลัดกระทรวงและรัฐมนตรีควรจะให้ความสำคัญกับรายงานดังกล่าว โดยสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดนำข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ไปดำเนินการและติดตามผลการดำเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่ดีในระบบราชการอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการจัดระเบียบการประเมินผลงาน และการตรวจสอบภายในของราชการส่วนกลางแบบบูรณาการตามความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน นั้น มีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของ คตส. อยู่แล้ว จึงให้คตส. รับไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-
1. ให้ความเห็นชอบแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการควบคุมและตรวจสอบ โดยกำหนดแนวทางฯ ดังนี้
1.1 ให้หัวหน้าส่วนราชการให้ความสำคัญกับระบบควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน โดย
1) จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม รัดกุม เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นและกำชับให้ผู้ตรวจสอบภายในตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งให้ผู้ตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระทั้งในการปฏิบัติงาน และการเสนอความเห็น ด้วยการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2542 ข้อ 7 อย่างเคร่งครัด
2) จัดอัตรากำลังของหน่วยตรวจสอบภายในให้เพียงพอกับปริมาณงานในความรับผิด โดยทั่วไปควรมีอัตรากำลังไม่น้อยกว่า 3 อัตรา ทั้งนี้ ให้ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งโดยใช้วิธีเกลี่ยอัตรากำลัง ตามวิธีการที่สำนักงานก.พ. กำหนด รวมทั้งจัดบุคลากรสนับสนุนด้านธุรการ และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอ
3) คัดเลือกและแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และคุณสมบัติเหมาะสมกับการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายในเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ รวมทั้งกำกับดูแล และสนับสนุนให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
1.2 ให้หน่วยงานกลางและส่วนราชการที่จัดอบรมสัมมนาหลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูง ให้ความร่วมมือกับมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในภาคราชการ และสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ โดยจัดให้มีหัวข้อวิชาที่เกี่ยวกับการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และบทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบบริหารจัดการที่ดีในระบบราชการอย่างต่อเนื่อง
2. ให้ความเห็นชอบการจ่ายค่าสมนาคุณตอบแทนการปฏิบัติงานของ คตส. จากเดิมที่เคยจ่ายค่าตอบแทนในรายครั้ง เดือนใดประชุมมากกว่า 1 ครั้ง ให้จ่ายได้ครั้งเดียว โดยประธานกรรมการได้รับไม่เกิน 10,000 บาท/เดือน และกรรมการได้รับไม่เกิน 8,000 บาท/เดือน เป็นอัตราเหมาจ่ายรายเดือน โดยให้ประธานกรรมการได้รับ 20,000บาท/เดือน และกรรมการได้รับ 16,000 บาท/เดือน และให้กรมบัญชีกลางรับผิดชอบตั้งงบประมาณรายการดังกล่าวเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ. รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาดำเนินการ และให้ปลัดกระทรวงตลอดจนรัฐมนตรีรับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ดังนี้
1. ความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นว่า ก.พ. ได้กำหนดกรอบจำนวนและระดับตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในระดับกระทรวงให้ทุกกระทรวงแล้ว เป็นตำแหน่งระดับสูงตั้งแต่ระดับ 7 ถึงระดับ 9 จำนวนกระทรวงละ 3 - 5 ตำแหน่ง ปลัดกระทรวงสามารถดำเนินการโดยใช้วิธีเกลี่ยอัตรากำลังสำหรับปฏิบัติงานตรวจสอบภายในได้ตามกรอบอัตรากำลังที่ ก.พ. กำหนด นั้น ประเด็นของกระทรวงการคลังที่เสนอขอให้หัวหน้าส่วนราชการให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน โดยจัดอัตรากำลังของหน่วยงานตรวจสอบภายในให้เพียงพอกับปริมาณงานในความรับผิดชอบ ซึ่งโดยทั่วไปควรมีอัตรากำลังไม่น้อยกว่า 3 อัตรา อัตราทั้ง 3 อัตราในที่นี้หมายถึงอัตราในระดับกรมซึ่งปัจจุบันอัตราผู้ตรวจสอบภายในระดับกรมบางแห่งมีไม่ถึง 3 อัตรา จึงไม่พอที่จะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 เห็นชอบให้ คตส. รายงานผลการปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบต่อปลัดกระทรวง หรือรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อ คตส. รายงานปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีแล้ว ปลัดกระทรวงและรัฐมนตรีควรจะให้ความสำคัญกับรายงานดังกล่าว โดยสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดนำข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ไปดำเนินการและติดตามผลการดำเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่ดีในระบบราชการอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการจัดระเบียบการประเมินผลงาน และการตรวจสอบภายในของราชการส่วนกลางแบบบูรณาการตามความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน นั้น มีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของ คตส. อยู่แล้ว จึงให้คตส. รับไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-