คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการค้าชายแดน ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในความตกลงดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า สืบเนื่องจากความร่วมมือเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Praya-Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS) ฝ่ายกัมพูชาได้ขอให้จัดทำความตกลงการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา โดยกระทรวงพาณิชย์ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการค้าและการลงทุน ได้จัดทำร่างความตกลงพร้อมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนเจรจากับฝ่ายกัมพูชา และต่อมากระทรวงพาณิชย์กัมพูชาได้มีหนังสือแจ้งความเห็นชอบในร่างความตกลงดังกล่าวซึ่งสาระสำคัญของร่างความตกลง มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน ขยายความร่วมมือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และภาคบริการ และแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
2. ความตกลงฉบับนี้ได้กำหนดขอบข่ายความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การอำนวยความสะดวก ณ ด่านศุลกากร สภาธุรกิจไทย-กัมพูชา สิทธิพิเศษทางการค้า การค้าแบบหักบัญชี ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตลาดกลางค้าส่ง การทบทวนและการแก้ไขข้อขัดแย้ง
3. ความตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้ทันทีที่รัฐมนตรีของทั้งสองประเทศลงนามในความตกลงฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 กรกฎาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า สืบเนื่องจากความร่วมมือเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Praya-Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS) ฝ่ายกัมพูชาได้ขอให้จัดทำความตกลงการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา โดยกระทรวงพาณิชย์ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการค้าและการลงทุน ได้จัดทำร่างความตกลงพร้อมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนเจรจากับฝ่ายกัมพูชา และต่อมากระทรวงพาณิชย์กัมพูชาได้มีหนังสือแจ้งความเห็นชอบในร่างความตกลงดังกล่าวซึ่งสาระสำคัญของร่างความตกลง มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน ขยายความร่วมมือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และภาคบริการ และแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
2. ความตกลงฉบับนี้ได้กำหนดขอบข่ายความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การอำนวยความสะดวก ณ ด่านศุลกากร สภาธุรกิจไทย-กัมพูชา สิทธิพิเศษทางการค้า การค้าแบบหักบัญชี ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตลาดกลางค้าส่ง การทบทวนและการแก้ไขข้อขัดแย้ง
3. ความตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้ทันทีที่รัฐมนตรีของทั้งสองประเทศลงนามในความตกลงฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 กรกฎาคม 2548--จบ--