แท็ก
รัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--14 มี.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานความคืบหน้ามาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ตามที่คณะกรรมการพิจารณามาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของชาติเสนอ ดังนี้
1. กฎหมายที่ได้เคยนำเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจแล้ว ขณะนี้กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กระทรวงยุติธรรมได้เคยรายงานต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจทราบแล้วมี 6 ฉบับ ดังนี้
1) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542
2) พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542
3) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่)
4) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 (การบังคับคดี)
5) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....(การพิจารณาคดีโดยขาดนัด) อยู่ระหว่างทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
6) ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... กระทรวงยุติธรรมได้ส่งเรื่องไปยังสำนัก-เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีแล้ว และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้นำเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจโดยตรงต่อไป
2. กฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ส่วนที่กระทรวงยุติธรรมกำลังดำเนินการคือ ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเหตุผลในการออกกฎกระทรวงดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/16 กำหนดว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของการฟื้นฟูกิจการ รัฐมนตรีจะออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนก็ได้" แต่ก็ยังมิได้วางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแต่งตั้งและไม่มีการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารแผนไว้ จึงทำให้การตั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเป็นไปโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม คณะกรรมการพิจารณามาตรการทางกฎหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ จึงได้มอบหมายให้สำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ยกร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพื่อกำหนดวิธีการจดทะเบียนและกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำแผน และผู้บริหารแผนขึ้น และคณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นชอบกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 2/2542 (ครั้งที่ 13) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2542 ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมได้ส่งร่างกฎกระทรวงฯ ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มีนาคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานความคืบหน้ามาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ตามที่คณะกรรมการพิจารณามาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของชาติเสนอ ดังนี้
1. กฎหมายที่ได้เคยนำเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจแล้ว ขณะนี้กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กระทรวงยุติธรรมได้เคยรายงานต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจทราบแล้วมี 6 ฉบับ ดังนี้
1) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542
2) พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542
3) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่)
4) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 (การบังคับคดี)
5) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....(การพิจารณาคดีโดยขาดนัด) อยู่ระหว่างทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
6) ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... กระทรวงยุติธรรมได้ส่งเรื่องไปยังสำนัก-เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีแล้ว และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้นำเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจโดยตรงต่อไป
2. กฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ส่วนที่กระทรวงยุติธรรมกำลังดำเนินการคือ ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเหตุผลในการออกกฎกระทรวงดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/16 กำหนดว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของการฟื้นฟูกิจการ รัฐมนตรีจะออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนก็ได้" แต่ก็ยังมิได้วางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแต่งตั้งและไม่มีการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารแผนไว้ จึงทำให้การตั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเป็นไปโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม คณะกรรมการพิจารณามาตรการทางกฎหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ จึงได้มอบหมายให้สำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ยกร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพื่อกำหนดวิธีการจดทะเบียนและกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำแผน และผู้บริหารแผนขึ้น และคณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นชอบกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 2/2542 (ครั้งที่ 13) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2542 ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมได้ส่งร่างกฎกระทรวงฯ ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มีนาคม 2543--