ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในรอบที่ 2: พฤษภาคม 2543 เพิ่มเติมใน 2 ประเด็น สรุปได้ดังนี้คือ
1. เปรียบเทียบภาวะการทำงานของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป และ 15 ปีขึ้นไป
1.1 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการเปรียบเทียบภาวะการทำงานของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป และ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้ข้อมูลสรุปผลเบื้องต้นจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร รอบที่ 2 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นผลการสำรวจครั้งล่าสุด เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ.2542 พบว่าความแตกต่างของจำนวนประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป และ 15 ปีขึ้นไป มีประมาณ 2.2 ล้านคนในปี 2543 และ 2.1 ล้านคนในปี 2542 คิดเป็นประมาณร้อยละ 3.5 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละปี
1.2 จำนวนประชากรตามสถานภาพแรงงานของผู้มีอายุ 13 ปีขึ้นไป และ 15 ปีขึ้นไปพบว่า มีความใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ ในปี 2542 ผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป มีประมาณ 32.97 ล้านคน และผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีประมาณ 32.76 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีงานทำประมาณ 29.83 ล้านคนและ 29.65 ล้านคน ตามลำดับ มีผู้ว่างงาน 1.76 ล้านคน และ 1.74 ล้านคน และเป็นผู้ที่รอฤดูกาล 1.38 ล้านคน และ 1.37 ล้านคน
1.3 สำหรับปี 2543 ผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป มีประมาณ 33.39 ล้านคน และผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีประมาณ 33.19 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีงานทำประมาณ 30.48 ล้านคน และ 30.30 ล้านคน เป็นผู้ว่างงาน 1.42 ล้านคน และ 1.41 ล้านคน และเป็นผู้ที่รอฤดูกาล 1.50 ล้านคน และ 1.48 ล้านคน
1.4 เมื่อเปรียบเทียบอัตราการมีงานทำและอัตราการว่างงานในช่วงเวลาเดียวกัน ระหว่าง 2 ปี ดังกล่าวพบว่า มีความใกล้เคียงกันมาก โดยในปี 2542 กำลังแรงงานที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป มีอัตราการมีงานทำร้อยละ 90.48 เทียบกับร้อยละ 90.51 ของกำลังแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป อัตราการว่างงานของผู้มีอายุ 13 ปีขึ้นไป เป็นร้อยละ 5.30 ในขณะที่อัตราการว่างงานของแรงงานอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นร้อยละ 5.32 สำหรับในปี 2543 อัตราการมีงานทำของผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป เป็นร้อยละ 91.28 เทียบกับร้อยละ 91.29 ของกำลังแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป สำหรับอัตราการว่างงานจะเป็นร้อยละ 4.30 เทียบกับร้อยละ 4.23 ตามลำดับ
2. ภาวะการทำงานของผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2543
ภาวะการทำงานของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรซึ่งได้ทำการสำรวจทั่วประเทศในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2543 มีครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างทั้งสิ้นประมาณ 61,500 ครัวเรือนโดยที่ผู้สูงอายุหมายถึงประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สรุปผลที่สำคัญได้ดังนี้
2.1 แนวโน้มของประชากรสูงอายุและการกระจายตัว จากการศึกษาพบว่าจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2543 มีประชากรทั้งสิ้นจำนวน 62.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ 5.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.1 ของประชากรทั้งประเทศ จำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2541 มีผู้สูงอายุ 5.3 ล้านคน ในปี 2542 มีผู้สูงอายุ 5.5 ล้านคน และในปี 2543 มีผู้สูงอายุ 5.7 ล้านคน
ในปี 2543 ในเขตเทศบาลมีประชากรสูงอายุอาศัยอยู่ร้อยละ 8.3 ของประชากรในเขตเทศบาลทั้งหมด และนอกเขตเทศบาล คิดเป็นร้อยละ 9.4
ในปี 2543 กรุงเทพมหานครมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 7.6 ของประชากรในกรุงเทพมหานครทั้งหมด ภาคกลาง (ร้อยละ 10.4) ภาคเหนือ (ร้อยละ 10.8) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 8.2) และภาคใต้ (ร้อยละ 8.6)
2.2 ความแตกต่างทางเพศของผู้สูงอายุ จำนวนผู้สูงอายุหญิงมีมากกว่าชาย กล่าวคือจาก ผู้สูงอายุในปี 2543 จำนวน 5.7 ล้านคน เป็นหญิง 3.1 ล้านคน หรือร้อยละ 9.8 ของประชากรหญิงทั้งสิ้น และเป็นชาย 2.6 ล้านคน หรือร้อยละ 8.4 ของประชากรชายทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากหญิงมีอายุยืนยาวกว่าชาย กล่าวคืออายุขับเฉลี่ยของหญิงประมาณ 74 ปี และอายุขัยเฉลี่ยของชายประมาณ 69 ปี
2.3 สถานภาพสมรสของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 อยู่กับคู่สมรส เป็นหม้ายร้อยละ 34.3 หย่าร้อยละ 0.8 และแยกกันอยู่ร้อยละ 1.4 ส่วนผู้สูงอายุที่เป็นโสดคิดเป็นร้อยละ 2.1 หรือประมาณ 1.2 แสนคน
2.4 ภาวะการทำงานของผู้สูงอายุ
1) สถานภาพแรงงานของผู้สูงอายุ ในจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 5.7 ล้านคน จำแนกตามสถานภาพแรงงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่อยู่ในกำลังแรงงาน และกลุ่มที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน โดยผู้สูงอายุที่อยู่ในกำลังแรงงานประกอบด้วยผู้มีงานทำ ผู้ไม่มีงานทำ และกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล และผู้สูงอายุที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงานประกอบด้วยผู้มี่ทำงานบ้าน ชรา หรือไม่สามารถทำงานได้ พบว่า ผู้สูงอายุที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงานมีมากกว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ในกำลังแรงงาน ประมาณ 2 เท่า กล่าวคือผู้สูงอายุที่อยู่ในกำลังแรงงานมีร้อยละ 68.3 (3.9 ล้านคน) ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผู้ทำงานบ้านร้อยละ 9.4 (5.3 แสนคน) และผู้ที่ให้คำตอบว่าไม่สามารถทำงานได้เพราะความชรามีถึงร้อยละ 57.4 (3.3 ล้านคน)
2) อุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาลักษณะของการประกอบกิจกรรมตามหมวดอุตสาหกรรมของผู้สูงอายุที่มีงานทำในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2543 พบว่า ผู้มีงานทำในสาขาเกษตรกรรม มีถึงร้อยละ 63.1 สำหรับผู้สูงอายุที่ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมมีร้อยละ 36.9 โดยเป็นผู้ทำงานสาขาพณิชยกรรม ร้อยละ 16.5 รองลงมาคือ สาขา อุตสาหกรรม หัตถกรรม ร้อยละ 9.1 และสาขาบริการ ร้อยละ 7.1 ตามลำดับ
3) สถานภาพการทำงาน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสถานภาพการทำงานเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ถึงร้อยละ 63.3 ของผู้สูงอายุที่ทำงานทั้งหมด รองลงมาคือช่วยธุรกิจในครัวเรือน และลูกจ้างเอกชนคือร้อยละ 17.0 และ 11.9 ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-สฟ/สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในรอบที่ 2: พฤษภาคม 2543 เพิ่มเติมใน 2 ประเด็น สรุปได้ดังนี้คือ
1. เปรียบเทียบภาวะการทำงานของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป และ 15 ปีขึ้นไป
1.1 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการเปรียบเทียบภาวะการทำงานของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป และ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้ข้อมูลสรุปผลเบื้องต้นจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร รอบที่ 2 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นผลการสำรวจครั้งล่าสุด เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ.2542 พบว่าความแตกต่างของจำนวนประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป และ 15 ปีขึ้นไป มีประมาณ 2.2 ล้านคนในปี 2543 และ 2.1 ล้านคนในปี 2542 คิดเป็นประมาณร้อยละ 3.5 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละปี
1.2 จำนวนประชากรตามสถานภาพแรงงานของผู้มีอายุ 13 ปีขึ้นไป และ 15 ปีขึ้นไปพบว่า มีความใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ ในปี 2542 ผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป มีประมาณ 32.97 ล้านคน และผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีประมาณ 32.76 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีงานทำประมาณ 29.83 ล้านคนและ 29.65 ล้านคน ตามลำดับ มีผู้ว่างงาน 1.76 ล้านคน และ 1.74 ล้านคน และเป็นผู้ที่รอฤดูกาล 1.38 ล้านคน และ 1.37 ล้านคน
1.3 สำหรับปี 2543 ผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป มีประมาณ 33.39 ล้านคน และผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีประมาณ 33.19 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีงานทำประมาณ 30.48 ล้านคน และ 30.30 ล้านคน เป็นผู้ว่างงาน 1.42 ล้านคน และ 1.41 ล้านคน และเป็นผู้ที่รอฤดูกาล 1.50 ล้านคน และ 1.48 ล้านคน
1.4 เมื่อเปรียบเทียบอัตราการมีงานทำและอัตราการว่างงานในช่วงเวลาเดียวกัน ระหว่าง 2 ปี ดังกล่าวพบว่า มีความใกล้เคียงกันมาก โดยในปี 2542 กำลังแรงงานที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป มีอัตราการมีงานทำร้อยละ 90.48 เทียบกับร้อยละ 90.51 ของกำลังแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป อัตราการว่างงานของผู้มีอายุ 13 ปีขึ้นไป เป็นร้อยละ 5.30 ในขณะที่อัตราการว่างงานของแรงงานอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นร้อยละ 5.32 สำหรับในปี 2543 อัตราการมีงานทำของผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป เป็นร้อยละ 91.28 เทียบกับร้อยละ 91.29 ของกำลังแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป สำหรับอัตราการว่างงานจะเป็นร้อยละ 4.30 เทียบกับร้อยละ 4.23 ตามลำดับ
2. ภาวะการทำงานของผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2543
ภาวะการทำงานของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรซึ่งได้ทำการสำรวจทั่วประเทศในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2543 มีครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างทั้งสิ้นประมาณ 61,500 ครัวเรือนโดยที่ผู้สูงอายุหมายถึงประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สรุปผลที่สำคัญได้ดังนี้
2.1 แนวโน้มของประชากรสูงอายุและการกระจายตัว จากการศึกษาพบว่าจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2543 มีประชากรทั้งสิ้นจำนวน 62.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ 5.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.1 ของประชากรทั้งประเทศ จำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2541 มีผู้สูงอายุ 5.3 ล้านคน ในปี 2542 มีผู้สูงอายุ 5.5 ล้านคน และในปี 2543 มีผู้สูงอายุ 5.7 ล้านคน
ในปี 2543 ในเขตเทศบาลมีประชากรสูงอายุอาศัยอยู่ร้อยละ 8.3 ของประชากรในเขตเทศบาลทั้งหมด และนอกเขตเทศบาล คิดเป็นร้อยละ 9.4
ในปี 2543 กรุงเทพมหานครมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 7.6 ของประชากรในกรุงเทพมหานครทั้งหมด ภาคกลาง (ร้อยละ 10.4) ภาคเหนือ (ร้อยละ 10.8) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 8.2) และภาคใต้ (ร้อยละ 8.6)
2.2 ความแตกต่างทางเพศของผู้สูงอายุ จำนวนผู้สูงอายุหญิงมีมากกว่าชาย กล่าวคือจาก ผู้สูงอายุในปี 2543 จำนวน 5.7 ล้านคน เป็นหญิง 3.1 ล้านคน หรือร้อยละ 9.8 ของประชากรหญิงทั้งสิ้น และเป็นชาย 2.6 ล้านคน หรือร้อยละ 8.4 ของประชากรชายทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากหญิงมีอายุยืนยาวกว่าชาย กล่าวคืออายุขับเฉลี่ยของหญิงประมาณ 74 ปี และอายุขัยเฉลี่ยของชายประมาณ 69 ปี
2.3 สถานภาพสมรสของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 อยู่กับคู่สมรส เป็นหม้ายร้อยละ 34.3 หย่าร้อยละ 0.8 และแยกกันอยู่ร้อยละ 1.4 ส่วนผู้สูงอายุที่เป็นโสดคิดเป็นร้อยละ 2.1 หรือประมาณ 1.2 แสนคน
2.4 ภาวะการทำงานของผู้สูงอายุ
1) สถานภาพแรงงานของผู้สูงอายุ ในจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 5.7 ล้านคน จำแนกตามสถานภาพแรงงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่อยู่ในกำลังแรงงาน และกลุ่มที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน โดยผู้สูงอายุที่อยู่ในกำลังแรงงานประกอบด้วยผู้มีงานทำ ผู้ไม่มีงานทำ และกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล และผู้สูงอายุที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงานประกอบด้วยผู้มี่ทำงานบ้าน ชรา หรือไม่สามารถทำงานได้ พบว่า ผู้สูงอายุที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงานมีมากกว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ในกำลังแรงงาน ประมาณ 2 เท่า กล่าวคือผู้สูงอายุที่อยู่ในกำลังแรงงานมีร้อยละ 68.3 (3.9 ล้านคน) ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผู้ทำงานบ้านร้อยละ 9.4 (5.3 แสนคน) และผู้ที่ให้คำตอบว่าไม่สามารถทำงานได้เพราะความชรามีถึงร้อยละ 57.4 (3.3 ล้านคน)
2) อุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาลักษณะของการประกอบกิจกรรมตามหมวดอุตสาหกรรมของผู้สูงอายุที่มีงานทำในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2543 พบว่า ผู้มีงานทำในสาขาเกษตรกรรม มีถึงร้อยละ 63.1 สำหรับผู้สูงอายุที่ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมมีร้อยละ 36.9 โดยเป็นผู้ทำงานสาขาพณิชยกรรม ร้อยละ 16.5 รองลงมาคือ สาขา อุตสาหกรรม หัตถกรรม ร้อยละ 9.1 และสาขาบริการ ร้อยละ 7.1 ตามลำดับ
3) สถานภาพการทำงาน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสถานภาพการทำงานเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ถึงร้อยละ 63.3 ของผู้สูงอายุที่ทำงานทั้งหมด รองลงมาคือช่วยธุรกิจในครัวเรือน และลูกจ้างเอกชนคือร้อยละ 17.0 และ 11.9 ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-สฟ/สส-