ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบการจัดทำประชาพิจารณ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ สรุปได้ดังนี้
กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับรายงานจากคณะกรรมการประชาพิจารณ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย เกี่ยวกับผลการดำเนินการประชาพิจารณ์ฯ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม2543 สรุปความได้ว่า หลังจากคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ดำเนินการประชาพิจารณ์ฯ ต่อไปนั้น คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้หารือกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้ช่วยดูแลความสงบเรียบร้อย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการประชาพิจารณ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯไทย - มาเลเซีย โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายวีระชัย แนวบุญเนียร) เป็นประธาน ซึ่งจากการหารือร่วมกันจึงได้กำหนดให้ทำประชาพิจารณ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย ในวันที่ 21 - 22 ตุลาคม 2543 ณ ห้องประชุมโรงยิมเนเซียม (อาคารสุวรรณวงศ์) สนามกีฬาจิระนคร อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. เมื่อเวลา 06.30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม 2543 คณะกรรมการฯ ซึ่งเตรียมที่จะเดินทางไปห้องประชุมประชาพิจารณ์ฯ ที่โรงยิมเนเซียมฯ ได้รับทราบว่ากลุ่มผู้คัดค้านได้ยึดจุดลงทะเบียนสำหรับผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ฯ และเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับลงทะเบียนไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงได้จัดประชุมหารือกับคณะกรรมการสนับสนุนฯ ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและจังหวัดสงขลา โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายวีระชัย แนวบุญเนียร) ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. คณะกรรมการสนับสนุนฯ ได้ประชุมหารือแนวทางการดำเนินการที่จะนำคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ไปสู่ห้องประชุมประชาพิจารณ์ฯ ณ โรงยิมเนเซียม และหลังจากนั้นได้แจ้งให้คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ออกเดินทางไปยังห้องประชุมประชาพิจารณ์ฯ เมื่อเวลา 09.40 น. โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่จนคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ สามารถเข้าไปยังห้องประชุมดังกล่าวได้เมื่อเวลา 10.20 น.
3. ประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้เปิดการประชาพิจารณ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย เมื่อเวลา 10.30 น. โดยให้ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กรมทรัพยากรธรณี (กทธ.) และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ชี้แจงข้อมูลและข้อเท็จจริงในภาพรวมของแผนพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สาระสำคัญของโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย และความสำคัญของก๊าซธรรมชาติต่อการใช้พลังงาน และการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม รวมประมาณ 30 นาที
4. ในระหว่างที่การประชาพิจารณ์ฯ ได้ดำเนินการไปแล้ว 30 นาที ซึ่งอยู่ในช่วงที่ผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมได้ชี้แจงผลการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เกือบจะแล้วเสร็จก็ได้มีกลุ่มผู้คัดค้านบุกเข้ามาภายในสนามกีฬา และพยายามจะเข้ามาในห้องประชุมเพื่อขัดขวางการประชุม ดังนั้นประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าการประชาพิจารณ์ฯ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดครบถ้วน และได้สอบถามต่อที่ประชุมว่ามีผู้ใดจะคัดค้านในประเด็นต่าง ๆ หรือเพิ่มเติมในประเด็นใดอีกหรือไม่ ซึ่งไม่มีผู้ใดคัดค้านหรือเพิ่มเติม ประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงได้ขอให้ที่ประชุมฯ แสดงข้อคิดเห็นโดยรวมของโครงการโดยใช้วิธียกมือ ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่ได้แสดงความเห็นด้วยโดยการยกมือ และในระหว่างนั้นได้มีกลุ่มผู้คัดค้านบุกเข้ามาภายในห้องประชุม ประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงได้ขอเอาผลของการยกมือเป็นข้อสรุปของการประชาพิจารณ์ฯ ในครั้งนี้ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยการดำเนินโครงการดังกล่าว และจะนำผลนี้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีและปิดการประชาพิจารณ์ฯ เมื่อเวลา 11.10 น.
5. เมื่อเวลา 12.30 น. ประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้ประชุมคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯเพื่อหารือข้อพิจารณาประกอบการจัดประชาพิจารณ์ฯ ซึ่งจากการประชุมคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ มีความเห็นว่าการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้ดำเนินการตามระเบียบที่กำหนด และได้ดำเนินการเสร็จสิ้นตามขั้นตอน และกระบวนการตามระเบียบที่กำหนดแล้ว อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ยังมีเวลาอีก 15 วัน ที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าว โดยส่งเป็นเอกสารให้คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ซึ่งได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำรูปแบบเอกสารแจ้งประชาชนดำเนินการ แล้วคณะกรรมการฯ จึงจะประชุมสรุปผลการประชาพิจารณ์ฯ เพื่อรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป
ข้อเสนอของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันประชาชนโดยทั่วไปยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงว่า การประชาพิจารณ์ได้ข้อยุติแล้ว ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ยังมีเวลาอีก 15 วัน ที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ โดยส่งเป็นเอกสารให้คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ดังนั้นเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริง และได้แสดงข้อคิดเห็นในโครงการดังกล่าวในประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติม อย่างกว้างขวาง และสะดวกยิ่งขึ้น คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงเสนอแนะแนวทางที่สมควรให้มีการดำเนินงานที่สำคัญเพิ่มเติม ดังนี้
1. การประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย รวมทั้งตอบข้อสงสัยที่เกี่ยวกับโครงการดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์เพื่อการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้เป็นการเฉพาะ
2. จัดให้มีการรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย ในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบการจัดทำประชาพิจารณ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ สรุปได้ดังนี้
กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับรายงานจากคณะกรรมการประชาพิจารณ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย เกี่ยวกับผลการดำเนินการประชาพิจารณ์ฯ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม2543 สรุปความได้ว่า หลังจากคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ดำเนินการประชาพิจารณ์ฯ ต่อไปนั้น คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้หารือกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้ช่วยดูแลความสงบเรียบร้อย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการประชาพิจารณ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯไทย - มาเลเซีย โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายวีระชัย แนวบุญเนียร) เป็นประธาน ซึ่งจากการหารือร่วมกันจึงได้กำหนดให้ทำประชาพิจารณ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย ในวันที่ 21 - 22 ตุลาคม 2543 ณ ห้องประชุมโรงยิมเนเซียม (อาคารสุวรรณวงศ์) สนามกีฬาจิระนคร อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. เมื่อเวลา 06.30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม 2543 คณะกรรมการฯ ซึ่งเตรียมที่จะเดินทางไปห้องประชุมประชาพิจารณ์ฯ ที่โรงยิมเนเซียมฯ ได้รับทราบว่ากลุ่มผู้คัดค้านได้ยึดจุดลงทะเบียนสำหรับผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ฯ และเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับลงทะเบียนไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงได้จัดประชุมหารือกับคณะกรรมการสนับสนุนฯ ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและจังหวัดสงขลา โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายวีระชัย แนวบุญเนียร) ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. คณะกรรมการสนับสนุนฯ ได้ประชุมหารือแนวทางการดำเนินการที่จะนำคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ไปสู่ห้องประชุมประชาพิจารณ์ฯ ณ โรงยิมเนเซียม และหลังจากนั้นได้แจ้งให้คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ออกเดินทางไปยังห้องประชุมประชาพิจารณ์ฯ เมื่อเวลา 09.40 น. โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่จนคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ สามารถเข้าไปยังห้องประชุมดังกล่าวได้เมื่อเวลา 10.20 น.
3. ประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้เปิดการประชาพิจารณ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย เมื่อเวลา 10.30 น. โดยให้ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กรมทรัพยากรธรณี (กทธ.) และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ชี้แจงข้อมูลและข้อเท็จจริงในภาพรวมของแผนพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สาระสำคัญของโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย และความสำคัญของก๊าซธรรมชาติต่อการใช้พลังงาน และการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม รวมประมาณ 30 นาที
4. ในระหว่างที่การประชาพิจารณ์ฯ ได้ดำเนินการไปแล้ว 30 นาที ซึ่งอยู่ในช่วงที่ผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมได้ชี้แจงผลการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เกือบจะแล้วเสร็จก็ได้มีกลุ่มผู้คัดค้านบุกเข้ามาภายในสนามกีฬา และพยายามจะเข้ามาในห้องประชุมเพื่อขัดขวางการประชุม ดังนั้นประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าการประชาพิจารณ์ฯ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดครบถ้วน และได้สอบถามต่อที่ประชุมว่ามีผู้ใดจะคัดค้านในประเด็นต่าง ๆ หรือเพิ่มเติมในประเด็นใดอีกหรือไม่ ซึ่งไม่มีผู้ใดคัดค้านหรือเพิ่มเติม ประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงได้ขอให้ที่ประชุมฯ แสดงข้อคิดเห็นโดยรวมของโครงการโดยใช้วิธียกมือ ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่ได้แสดงความเห็นด้วยโดยการยกมือ และในระหว่างนั้นได้มีกลุ่มผู้คัดค้านบุกเข้ามาภายในห้องประชุม ประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงได้ขอเอาผลของการยกมือเป็นข้อสรุปของการประชาพิจารณ์ฯ ในครั้งนี้ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยการดำเนินโครงการดังกล่าว และจะนำผลนี้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีและปิดการประชาพิจารณ์ฯ เมื่อเวลา 11.10 น.
5. เมื่อเวลา 12.30 น. ประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้ประชุมคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯเพื่อหารือข้อพิจารณาประกอบการจัดประชาพิจารณ์ฯ ซึ่งจากการประชุมคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ มีความเห็นว่าการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้ดำเนินการตามระเบียบที่กำหนด และได้ดำเนินการเสร็จสิ้นตามขั้นตอน และกระบวนการตามระเบียบที่กำหนดแล้ว อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ยังมีเวลาอีก 15 วัน ที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าว โดยส่งเป็นเอกสารให้คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ซึ่งได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำรูปแบบเอกสารแจ้งประชาชนดำเนินการ แล้วคณะกรรมการฯ จึงจะประชุมสรุปผลการประชาพิจารณ์ฯ เพื่อรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป
ข้อเสนอของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันประชาชนโดยทั่วไปยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงว่า การประชาพิจารณ์ได้ข้อยุติแล้ว ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ยังมีเวลาอีก 15 วัน ที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ โดยส่งเป็นเอกสารให้คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ดังนั้นเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริง และได้แสดงข้อคิดเห็นในโครงการดังกล่าวในประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติม อย่างกว้างขวาง และสะดวกยิ่งขึ้น คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ จึงเสนอแนะแนวทางที่สมควรให้มีการดำเนินงานที่สำคัญเพิ่มเติม ดังนี้
1. การประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย รวมทั้งตอบข้อสงสัยที่เกี่ยวกับโครงการดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์เพื่อการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้เป็นการเฉพาะ
2. จัดให้มีการรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย และโครงการโรงแยกก๊าซฯ ไทย - มาเลเซีย ในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-