คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานสรุปความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยจังหวัดภาคใต้ดังนี้
1. สภาพความเสียหาย
1.1 ถนน
1.1.1 ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง จำนวน 77 สายทาง 120 แห่ง คือ
(1) ถนนที่การจราจรผ่านไม่ได้ จำนวน 21 สายทาง ได้แก่ นครศรีธรรมราช 3 สายทาง ตรัง 2 สายทาง - ยะลา 10 สายทาง นราธิวาส 1 สายทาง สงขลา 5 สายทาง
(2) ถนนที่ผ่านได้เฉพาะรถใหญ่ จำนวน 7 สายทาง ได้แก่ สงขลา 4 สายทาง ยะลา 2 สายทาง นราธิวาส 1 สายทาง
(3) ถนนที่มีน้ำท่วมแต่การจราจรผ่านได้ จำนวน 49 สายทาง ได้แก่ นครศรีธรรมราช 4 สายทาง ตรัง 6 สายทาง กระบี่ 1 สายทาง สงขลา 10 สายทาง ยะลา 5 สายทาง ปัตตานี 5 สายทาง พัทลุง 11 สายทาง นราธิวาส 6 สายทาง สตูล 1 สายทาง
1.1.2 ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 74 สายทาง คือ
(1) ถนนที่การจราจรผ่านได้ จำนวน 54 สายทาง ได้แก่ กระบี่ 1 สายทาง ตรัง 2 สายทาง นราธิวาส 3 สายทาง นครศรีธรรมราช 5 สายทาง ปัตตานี 9 สายทาง พัทลุง 8 สายทาง ยะลา 11 สายทาง สงขลา 15 สายทาง
(2) ถนนที่การจราจรผ่านไม่ได้ จำนวน 20 สายทาง ได้แก่ ตรัง 2 สายทาง นราธิวาส 5 สายทาง ปัตตานี 4 สายทาง ยะลา 5 สายทาง สงขลา 4 สายทาง
1.2 ทางรถไฟ มูลค่าความเสียหายรวมทั้งสิ้น 8,195,241.00 บาท โดยมีสภาพความเสียหายแยกตามแขวงการเดินรถได้ดังนี้
- ทุ่งสง มีสภาพน้ำท่วมและกัดเซาะคันทางกระแสน้ำพัดพาหินโรยสูญหายมูลค่าความเสียหายรวม 561,571.00 บาท
- เขาชุมทอง มีสภาพน้ำท่วมและกัดเซาะคันทางกระแสน้ำพัดพาหินโรยสูญหาย มูลค่า ความเสียหายรวม 254,270.00 บาท
- หาดใหญ่ มีสภาพน้ำท่วมและกัดเซาะคันทางกระแสน้ำพัดพาหินโรยสูญหาย มูลค่าความเสียหายรวม 5,101,600.00 บาท
- เทพา มีสภาพน้ำท่วมและกัดเซาะคันทางกระแสน้ำพัดพาหินโรยสูญหาย และคันทางคอสะพานขาด มูลค่าความเสียหายรวม 2,250,000 บาท
- ตันหยงมัส มีสภาพดินคันทางที่คอสะพานทรุด มูลค่าความเสียหายรวม 27,800.00 บาท
1.3 ทางน้ำ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้สำรวจพื้นที่ที่ประสบภัยที่อยู่ในความรับผิดชอบ คือ
- จังหวัดชุมพร เกิดน้ำเซาะชายฝั่งทะเลที่บริเวณหมู่ 1 และหมู่ 3 ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมือง และบริเวณหมู่ 3 ตำบลบางจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และน้ำเซาะตลิ่งแม่น้ำหลังสวน บริเวณใกล้ถนนกิโลเมตรที่ 33 หมู่ 1 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดความเสียหายในพื้นที่รวม 10 อำเภอ 34 ตำบล 201 หมู่บ้าน
- จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดความเสียหายในพื้นที่รวม 22 อำเภอ/กิ่งอำเภอ 151 ตำบล 1,103 หมู่บ้าน 77,706 ครอบครัว
- จังหวัดสงขลา มีระดับน้ำขึ้นสูงในพื้นที่อำเภอเทพา จะนะ สะบ้าย้อย สทิงพระ ระโนด หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง นาทวี และสะเดา
- จังหวัดพัทลุง มีระดับน้ำขึ้นสูงในพื้นที่อำเภอปากพะยูน ควนขนุน อำเภอเมือง บางแก้ว เขาชัยสน ป่าบอน ตะโหมด และกงหรา
- จังหวัดปัตตานี เกิดความเสียหายในพื้นที่รวม 6 อำเภอ
- จังหวัดนราธิวาส เกิดความเสียหายในพื้นที่รวม 8 อำเภอ
- จังหวัดตรัง เกิดน้ำท่วมขังบริเวณ 9 อำเภอ และเขตเทศบาลนครตรังบางแห่ง ในส่วนของท่าเทียบเรือในพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบ
- จังหวัดสตูล เกิดความเสียหายในพื้นที่รวม 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ราษฎรได้รับความเสียหาย 11,754 ครัวเรือน ถนนในหมู่บ้านเสียหาย 79 สายทาง สะพานเสียหาย 3 แห่ง ส่วนท่าเทียบเรือไม่ได้รับความเสียหาย
1.4 ท่าอากาศยาน
1.4.1 กรมการขนส่งทางอากาศ ได้ทำการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น ณ ท่าอากาศยานในภาคใต้ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 7 แห่ง คือ ท่าอากาศยานตรัง สุราษฎร์ธานี ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส และปัตตานี พบว่า ไม่มีความเสียหายใดๆ
1.4.2 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จากเหตุการณ์น้ำท่วมในเขตตัวเมืองหาดใหญ่ และพื้นที่โดยรอบของอำเภอหาดใหญ่ รวมทั้งอำเภอใกล้เคียง ทำให้ถนนเข้าเมืองบางเส้นทาง รถเล็กไม่สามารถผ่านไปมาได้ การให้บริการรถรับ-ส่งผู้โดยสาร (ลีมูซีน) ระหว่างท่าอากาศยานหาดใหญ่-ตัวเมือง ไม่สามารถให้บริการตามปกติได้ ทำให้มีผู้โดยสารบางส่วนไม่สามารถเดินทางเข้าตัวเมืองได้ ส่วนภายในบริเวณท่าอากาศยานหาดใหญ่ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
2. การให้ความช่วยเหลือ
2.1 กรมทางหลวง ได้จัดเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ เครื่องจักร ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในจังหวัดต่างๆ คือ
- จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดส่งเจ้าหน้าที่ 20 คน รถบรรทุกเพื่อขนย้ายผู้ประสบภัย 4 คัน โดยได้ดำเนินการขนย้ายผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช ขุดลอกระบายน้ำ ทำความสะอาดพื้นที่ถนนในเขต อบต.เสาธง ชะอวด บ้านตูล ร่อนพิบูลย์ ชะมาย ห้วยสำเภา และหินตก
- จังหวัดสงขลา จัดส่งเจ้าหน้าที่ 135 คน เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ในพื้นที่เขตเทศบาลสงขลา หาดใหญ่ จะนะ และศูนย์สร้างบูรณะสะพานที่ 4 (นครศรีธรรมราช) ได้ทอดสะพานเบลี่ย์ยาว 24 เมตร ที่ กม. 9+724 ในทางหลวงชนบทสายบ้านท่าไทร-บ้านบางหยี อำเภอบางกล่ำ
- จังหวัดยะลา จัดส่งเจ้าหน้าที่ 14 คน รถขุดตักเพื่อขนย้ายวัสดุสิ่งปรักหักพังที่กีดขวางทาง ระบายน้ำหรือการจราจร 1 คัน ได้ดำเนินการเก็บกวาดวัสดุ ทำความสะอาดบริเวณในพื้นที่เขต อบต.บ้านวังใหม่ อำเภอธารโต
- จังหวัดนราธิวาส จัดส่งเจ้าหน้าที่ 9 คน รถบรรทุก 2 คัน รถเครน 1 คัน รถขุดตักเพื่อขนย้ายวัสดุสิ่งปรักหักพังที่กีดขวางทางระบายน้ำหรือการจราจร 1 คัน ได้ดำเนินการขุดลอกท่อระบายน้ำล้างความสะอาดในพื้นที่ อบต.เจ๊ะเห อำเภอยี่งอ อำเภอตากใบ และในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส
- จังหวัดปัตตานี จัดส่งเจ้าหน้าที่ 15 คน รถขุดตักเพื่อขนย้ายวัสดุสิ่งปรักหักพังที่กีดขวางทางระบายน้ำหรือการจราจร 1 คัน กระสอบทราย 200 ลูก ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพื้นที่เขตเทศบาลปัตตานี วางกระสอบทรายกั้นน้ำบริเวณรอบโรงพยาบาลโคกโพธิ์
2.2 กรมทางหลวงชนบท ได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยจัดส่งเครื่องมือ เครื่องจักร พนักงาน วัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งสะพานเหล็กชั่วคราว เข้าทำการซ่อมแซมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ขณะนี้สามารถผ่านไปมาได้เรียบร้อยแล้ว 54 สายทาง ส่วนอีก 20 สายทาง ที่ยังคงมีน้ำท่วมและไม่สามารถผ่านไปได้ จะดำเนินการทันที เมื่อน้ำลดหลังจากนั้นจะดำเนินการฟื้นฟูเส้นทางสู่สภาพเดิมต่อไป
2.3 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการซ่อมแซมสะพานรถไฟในจุดที่น้ำท่วม พร้อมทั้งได้ประสานหน่วยงานทหาร เพื่อนำรถยนต์มาขนถ่ายผู้โดยสารท้องถิ่นที่ประสงค์จะเดินทางระหว่างสถานีเทพากับสถานีปัตตานีที่ถูกน้ำท่วมให้สามารถเดินทางได้ และให้มีการเดินรถท้องถิ่นวิ่งเป็น 2 ช่วง จากสถานีหาดใหญ่ถึงสถานีเทพา และช่วงจากสถานีปัตตานีถึงสถานีสุไหงโกลกในทันที เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชน ดังนั้น การเดินทางของประชาชนในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 จึงมีขบวนรถไฟวิ่งตลอดเส้นทาง แต่ช่วงที่เป็นสะพานถูกกระแสน้ำพัดคอสะพานขาดรอการซ่อมแซมผู้โดยสารจำเป็นต้องขนถ่ายเดินทางโดยรถยนต์ของทหารเพื่อไปโดยสารขบวนรถไฟอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ ได้ทำการตัดเจาะทางรถไฟบริเวณท่อระบายน้ำ กม.923+646.40 แนวคลอง ร.1 โดยตัดเจาะทางรถไฟด้านละ 12 เมตร จากแนวท่อทั้ง 2 ด้าน แล้วทำการวางสะพานแบลี่ย์ เพื่อให้รถไฟวิ่งผ่านได้ คาดว่าจะเปิดทางได้ประมาณเวลา 09.00 น. ของวันที่ 20 ธันวาคม 2548
2.4 กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ คือ
- จังหวัดชุมพร พิจารณาสร้างเขื่อนป้องกันน้ำเซาะ รวมทั้งได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนเรือท้องแบน ถุงยังชีพ เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล รถยนต์ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่
- จังหวัดนครศรีธรรมราช สนับสนุนเรือท้องแบน ถุงยังชีพ เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล รถยนต์ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่
- จังหวัดสงขลา จัดส่งเรือตรวจการณ์ลำน้ำขนาดเล็กและเรือท้องแบนให้ อบต.ท่าหิน อำเภอสทิงพระเพื่อเป็นพาหนะรับส่งผู้ประสบอุทกภัยและสัมภาระที่จำเป็น และได้จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อจัดลำเลียงวัสดุสิ่งของ แจกจ่าย รวมทั้งได้จัดเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยบริการประชาชนตามที่รับการร้องขอจากจังหวัด
- จังหวัดปัตตานี ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่
- จังหวัดนราธิวาส ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่
- จังหวัดตรัง จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยบริเวณศาลากลางจังหวัด และเตรียมเรือเจ้าท่า 180 พร้อมเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานด้วย
- จังหวัดสตูล ประสานกับเจ้าของเรือให้งดรับ-ส่ง นักท่องเที่ยวจากท่าเทียบเรือปากบารา
นอกจากนี้ ได้ดำเนินการปรับแผนงานการขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและ เร่งการระบายน้ำ ขณะนี้ได้มีชุดปฏิบัติงานที่กำลังเร่งขุดลอกเพื่อระบายน้ำให้ไหลออกได้เร็วขึ้น ได้แก่
- บริเวณหาดปอ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
- บริเวณร่องน้ำสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
- บริเวณอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
- บริเวณทะเลน้อย จังหวัดสงขลา
2.5 กรมการขนส่งทางอากาศ ได้อนุโลมให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถนำรถมาจอดในบริเวณท่าอากาศยานได้ และได้แจกจ่ายน้ำดื่มแก่ผู้ที่ได้รับความเดือนร้อน นอกจากนี้ ได้ให้การสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ใช้สนามบินของกรมการขนส่งทางอากาศ ในการขนถ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์
2.6 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ประสานขอความร่วมมือการช่วยเหลือจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา สหกรณ์รถเล็ก บริษัท หาดทิพย์ จำกัด ในการช่วยขนผู้โดยสารที่ประสงค์จะเดินทางเข้าตัวเมืองตลอดทั้งวันจนหมดเที่ยวบิน และได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการให้ข้อมูลข่าวสารด้านการบินกับ สทท.11 เพื่อออกประกาศประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่จะเดินทางโดยอากาศยานทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3. การบูรณะซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
กระทรวงคมนาคมจะประเมินสภาพและค่าเสียหายทั้งหมดและจะเร่งรัดการขอรับจัดสรรงบประมาณดำเนินการบูรณะซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--
1. สภาพความเสียหาย
1.1 ถนน
1.1.1 ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง จำนวน 77 สายทาง 120 แห่ง คือ
(1) ถนนที่การจราจรผ่านไม่ได้ จำนวน 21 สายทาง ได้แก่ นครศรีธรรมราช 3 สายทาง ตรัง 2 สายทาง - ยะลา 10 สายทาง นราธิวาส 1 สายทาง สงขลา 5 สายทาง
(2) ถนนที่ผ่านได้เฉพาะรถใหญ่ จำนวน 7 สายทาง ได้แก่ สงขลา 4 สายทาง ยะลา 2 สายทาง นราธิวาส 1 สายทาง
(3) ถนนที่มีน้ำท่วมแต่การจราจรผ่านได้ จำนวน 49 สายทาง ได้แก่ นครศรีธรรมราช 4 สายทาง ตรัง 6 สายทาง กระบี่ 1 สายทาง สงขลา 10 สายทาง ยะลา 5 สายทาง ปัตตานี 5 สายทาง พัทลุง 11 สายทาง นราธิวาส 6 สายทาง สตูล 1 สายทาง
1.1.2 ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 74 สายทาง คือ
(1) ถนนที่การจราจรผ่านได้ จำนวน 54 สายทาง ได้แก่ กระบี่ 1 สายทาง ตรัง 2 สายทาง นราธิวาส 3 สายทาง นครศรีธรรมราช 5 สายทาง ปัตตานี 9 สายทาง พัทลุง 8 สายทาง ยะลา 11 สายทาง สงขลา 15 สายทาง
(2) ถนนที่การจราจรผ่านไม่ได้ จำนวน 20 สายทาง ได้แก่ ตรัง 2 สายทาง นราธิวาส 5 สายทาง ปัตตานี 4 สายทาง ยะลา 5 สายทาง สงขลา 4 สายทาง
1.2 ทางรถไฟ มูลค่าความเสียหายรวมทั้งสิ้น 8,195,241.00 บาท โดยมีสภาพความเสียหายแยกตามแขวงการเดินรถได้ดังนี้
- ทุ่งสง มีสภาพน้ำท่วมและกัดเซาะคันทางกระแสน้ำพัดพาหินโรยสูญหายมูลค่าความเสียหายรวม 561,571.00 บาท
- เขาชุมทอง มีสภาพน้ำท่วมและกัดเซาะคันทางกระแสน้ำพัดพาหินโรยสูญหาย มูลค่า ความเสียหายรวม 254,270.00 บาท
- หาดใหญ่ มีสภาพน้ำท่วมและกัดเซาะคันทางกระแสน้ำพัดพาหินโรยสูญหาย มูลค่าความเสียหายรวม 5,101,600.00 บาท
- เทพา มีสภาพน้ำท่วมและกัดเซาะคันทางกระแสน้ำพัดพาหินโรยสูญหาย และคันทางคอสะพานขาด มูลค่าความเสียหายรวม 2,250,000 บาท
- ตันหยงมัส มีสภาพดินคันทางที่คอสะพานทรุด มูลค่าความเสียหายรวม 27,800.00 บาท
1.3 ทางน้ำ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้สำรวจพื้นที่ที่ประสบภัยที่อยู่ในความรับผิดชอบ คือ
- จังหวัดชุมพร เกิดน้ำเซาะชายฝั่งทะเลที่บริเวณหมู่ 1 และหมู่ 3 ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมือง และบริเวณหมู่ 3 ตำบลบางจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และน้ำเซาะตลิ่งแม่น้ำหลังสวน บริเวณใกล้ถนนกิโลเมตรที่ 33 หมู่ 1 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดความเสียหายในพื้นที่รวม 10 อำเภอ 34 ตำบล 201 หมู่บ้าน
- จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดความเสียหายในพื้นที่รวม 22 อำเภอ/กิ่งอำเภอ 151 ตำบล 1,103 หมู่บ้าน 77,706 ครอบครัว
- จังหวัดสงขลา มีระดับน้ำขึ้นสูงในพื้นที่อำเภอเทพา จะนะ สะบ้าย้อย สทิงพระ ระโนด หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง นาทวี และสะเดา
- จังหวัดพัทลุง มีระดับน้ำขึ้นสูงในพื้นที่อำเภอปากพะยูน ควนขนุน อำเภอเมือง บางแก้ว เขาชัยสน ป่าบอน ตะโหมด และกงหรา
- จังหวัดปัตตานี เกิดความเสียหายในพื้นที่รวม 6 อำเภอ
- จังหวัดนราธิวาส เกิดความเสียหายในพื้นที่รวม 8 อำเภอ
- จังหวัดตรัง เกิดน้ำท่วมขังบริเวณ 9 อำเภอ และเขตเทศบาลนครตรังบางแห่ง ในส่วนของท่าเทียบเรือในพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบ
- จังหวัดสตูล เกิดความเสียหายในพื้นที่รวม 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ราษฎรได้รับความเสียหาย 11,754 ครัวเรือน ถนนในหมู่บ้านเสียหาย 79 สายทาง สะพานเสียหาย 3 แห่ง ส่วนท่าเทียบเรือไม่ได้รับความเสียหาย
1.4 ท่าอากาศยาน
1.4.1 กรมการขนส่งทางอากาศ ได้ทำการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น ณ ท่าอากาศยานในภาคใต้ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 7 แห่ง คือ ท่าอากาศยานตรัง สุราษฎร์ธานี ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส และปัตตานี พบว่า ไม่มีความเสียหายใดๆ
1.4.2 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จากเหตุการณ์น้ำท่วมในเขตตัวเมืองหาดใหญ่ และพื้นที่โดยรอบของอำเภอหาดใหญ่ รวมทั้งอำเภอใกล้เคียง ทำให้ถนนเข้าเมืองบางเส้นทาง รถเล็กไม่สามารถผ่านไปมาได้ การให้บริการรถรับ-ส่งผู้โดยสาร (ลีมูซีน) ระหว่างท่าอากาศยานหาดใหญ่-ตัวเมือง ไม่สามารถให้บริการตามปกติได้ ทำให้มีผู้โดยสารบางส่วนไม่สามารถเดินทางเข้าตัวเมืองได้ ส่วนภายในบริเวณท่าอากาศยานหาดใหญ่ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
2. การให้ความช่วยเหลือ
2.1 กรมทางหลวง ได้จัดเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ เครื่องจักร ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในจังหวัดต่างๆ คือ
- จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดส่งเจ้าหน้าที่ 20 คน รถบรรทุกเพื่อขนย้ายผู้ประสบภัย 4 คัน โดยได้ดำเนินการขนย้ายผู้ประสบภัยในเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช ขุดลอกระบายน้ำ ทำความสะอาดพื้นที่ถนนในเขต อบต.เสาธง ชะอวด บ้านตูล ร่อนพิบูลย์ ชะมาย ห้วยสำเภา และหินตก
- จังหวัดสงขลา จัดส่งเจ้าหน้าที่ 135 คน เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ในพื้นที่เขตเทศบาลสงขลา หาดใหญ่ จะนะ และศูนย์สร้างบูรณะสะพานที่ 4 (นครศรีธรรมราช) ได้ทอดสะพานเบลี่ย์ยาว 24 เมตร ที่ กม. 9+724 ในทางหลวงชนบทสายบ้านท่าไทร-บ้านบางหยี อำเภอบางกล่ำ
- จังหวัดยะลา จัดส่งเจ้าหน้าที่ 14 คน รถขุดตักเพื่อขนย้ายวัสดุสิ่งปรักหักพังที่กีดขวางทาง ระบายน้ำหรือการจราจร 1 คัน ได้ดำเนินการเก็บกวาดวัสดุ ทำความสะอาดบริเวณในพื้นที่เขต อบต.บ้านวังใหม่ อำเภอธารโต
- จังหวัดนราธิวาส จัดส่งเจ้าหน้าที่ 9 คน รถบรรทุก 2 คัน รถเครน 1 คัน รถขุดตักเพื่อขนย้ายวัสดุสิ่งปรักหักพังที่กีดขวางทางระบายน้ำหรือการจราจร 1 คัน ได้ดำเนินการขุดลอกท่อระบายน้ำล้างความสะอาดในพื้นที่ อบต.เจ๊ะเห อำเภอยี่งอ อำเภอตากใบ และในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส
- จังหวัดปัตตานี จัดส่งเจ้าหน้าที่ 15 คน รถขุดตักเพื่อขนย้ายวัสดุสิ่งปรักหักพังที่กีดขวางทางระบายน้ำหรือการจราจร 1 คัน กระสอบทราย 200 ลูก ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพื้นที่เขตเทศบาลปัตตานี วางกระสอบทรายกั้นน้ำบริเวณรอบโรงพยาบาลโคกโพธิ์
2.2 กรมทางหลวงชนบท ได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยจัดส่งเครื่องมือ เครื่องจักร พนักงาน วัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งสะพานเหล็กชั่วคราว เข้าทำการซ่อมแซมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ขณะนี้สามารถผ่านไปมาได้เรียบร้อยแล้ว 54 สายทาง ส่วนอีก 20 สายทาง ที่ยังคงมีน้ำท่วมและไม่สามารถผ่านไปได้ จะดำเนินการทันที เมื่อน้ำลดหลังจากนั้นจะดำเนินการฟื้นฟูเส้นทางสู่สภาพเดิมต่อไป
2.3 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการซ่อมแซมสะพานรถไฟในจุดที่น้ำท่วม พร้อมทั้งได้ประสานหน่วยงานทหาร เพื่อนำรถยนต์มาขนถ่ายผู้โดยสารท้องถิ่นที่ประสงค์จะเดินทางระหว่างสถานีเทพากับสถานีปัตตานีที่ถูกน้ำท่วมให้สามารถเดินทางได้ และให้มีการเดินรถท้องถิ่นวิ่งเป็น 2 ช่วง จากสถานีหาดใหญ่ถึงสถานีเทพา และช่วงจากสถานีปัตตานีถึงสถานีสุไหงโกลกในทันที เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชน ดังนั้น การเดินทางของประชาชนในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 จึงมีขบวนรถไฟวิ่งตลอดเส้นทาง แต่ช่วงที่เป็นสะพานถูกกระแสน้ำพัดคอสะพานขาดรอการซ่อมแซมผู้โดยสารจำเป็นต้องขนถ่ายเดินทางโดยรถยนต์ของทหารเพื่อไปโดยสารขบวนรถไฟอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ ได้ทำการตัดเจาะทางรถไฟบริเวณท่อระบายน้ำ กม.923+646.40 แนวคลอง ร.1 โดยตัดเจาะทางรถไฟด้านละ 12 เมตร จากแนวท่อทั้ง 2 ด้าน แล้วทำการวางสะพานแบลี่ย์ เพื่อให้รถไฟวิ่งผ่านได้ คาดว่าจะเปิดทางได้ประมาณเวลา 09.00 น. ของวันที่ 20 ธันวาคม 2548
2.4 กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ คือ
- จังหวัดชุมพร พิจารณาสร้างเขื่อนป้องกันน้ำเซาะ รวมทั้งได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนเรือท้องแบน ถุงยังชีพ เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล รถยนต์ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่
- จังหวัดนครศรีธรรมราช สนับสนุนเรือท้องแบน ถุงยังชีพ เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล รถยนต์ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่
- จังหวัดสงขลา จัดส่งเรือตรวจการณ์ลำน้ำขนาดเล็กและเรือท้องแบนให้ อบต.ท่าหิน อำเภอสทิงพระเพื่อเป็นพาหนะรับส่งผู้ประสบอุทกภัยและสัมภาระที่จำเป็น และได้จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อจัดลำเลียงวัสดุสิ่งของ แจกจ่าย รวมทั้งได้จัดเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยบริการประชาชนตามที่รับการร้องขอจากจังหวัด
- จังหวัดปัตตานี ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่
- จังหวัดนราธิวาส ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่
- จังหวัดตรัง จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยบริเวณศาลากลางจังหวัด และเตรียมเรือเจ้าท่า 180 พร้อมเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานด้วย
- จังหวัดสตูล ประสานกับเจ้าของเรือให้งดรับ-ส่ง นักท่องเที่ยวจากท่าเทียบเรือปากบารา
นอกจากนี้ ได้ดำเนินการปรับแผนงานการขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและ เร่งการระบายน้ำ ขณะนี้ได้มีชุดปฏิบัติงานที่กำลังเร่งขุดลอกเพื่อระบายน้ำให้ไหลออกได้เร็วขึ้น ได้แก่
- บริเวณหาดปอ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
- บริเวณร่องน้ำสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
- บริเวณอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
- บริเวณทะเลน้อย จังหวัดสงขลา
2.5 กรมการขนส่งทางอากาศ ได้อนุโลมให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถนำรถมาจอดในบริเวณท่าอากาศยานได้ และได้แจกจ่ายน้ำดื่มแก่ผู้ที่ได้รับความเดือนร้อน นอกจากนี้ ได้ให้การสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ใช้สนามบินของกรมการขนส่งทางอากาศ ในการขนถ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์
2.6 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ประสานขอความร่วมมือการช่วยเหลือจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา สหกรณ์รถเล็ก บริษัท หาดทิพย์ จำกัด ในการช่วยขนผู้โดยสารที่ประสงค์จะเดินทางเข้าตัวเมืองตลอดทั้งวันจนหมดเที่ยวบิน และได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการให้ข้อมูลข่าวสารด้านการบินกับ สทท.11 เพื่อออกประกาศประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่จะเดินทางโดยอากาศยานทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3. การบูรณะซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
กระทรวงคมนาคมจะประเมินสภาพและค่าเสียหายทั้งหมดและจะเร่งรัดการขอรับจัดสรรงบประมาณดำเนินการบูรณะซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--