คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ประเทศไทยบริจาคเงินรอบใหม่แก่มูลนิธิเอเชีย - ยุโรป (Asia-Europe Foundation - ASEF) จำนวน 12,750,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับที่ได้ตั้งไว้เป็นเงินบาทในการบริจาครอบแรก แต่ในการบริจาคครั้งนี้ประเทศไทยอาจประกาศผูกพันการบริจาคเป็นจำนวนเงินตามสกุลเงินบาทแทนที่จะผูกพันเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจมีในอนาคตด้วย โดยอาจแบ่งให้เป็นงวดตามแนวทางที่ใช้ในรอบแรก โดยเริ่มจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2546
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า มูลนิธิเอเชีย - ยุโรป (Asia-Europe Foundation - ASEF) ได้มีหนังสือขอให้รัฐบาลไทยพิจารณาสนับสนุนบริจาคเงินรอบใหม่แก่ ASEF ตามที่ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 24 - 25 พฤษภาคม 2544 ได้สนับสนุนให้มีการพิจารณาบริจาคเงินรอบใหม่แก่ ASEF ในการประชุมผู้นำเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 4 (The Fourth ASEM Summit) ที่กรุงโคเปนเฮเกน ในเดือนกันยายน 2545
การบริจาคเงินของไทยในรอบแรก นั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2539 อนุมัติในหลักการให้บริจาคเงินสนับสนุน ASEF ครั้งแรก ในวงเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2540 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น อย่างไรก็ตาม เมื่อ ASEF ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเงินใหม่ในการจัดตั้งเป็นกองทุน กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เสนอให้ไทยบริจาคในวงเงิน 500,000ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 12,750,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.50 บาท) สำหรับเวลา5 ปี เพื่อให้ ASEF มีงบประมาณที่เพียงพอในแต่ละปี และเป็นการบริจาคเงินสมทบในครั้งเดียวโดยไม่ต้องบริจาคเพิ่มเติมอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี
อนึ่ง การบริจาคเงินให้ ASEF ในรอบแรกเป็นเรื่องที่เริ่มจากนโยบายในระดับผู้นำในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำในครั้งแรก กิจกรรมของ ASEF ได้เอื้อประโยชน์ในการเชื่อมโยงในระดับประชาชนสู่ประชาชนทั้งในระดับนักเรียน นักศึกษา สื่อมวลชน นักเขียน ปัญญาชน และผู้นำรุ่นใหม่ของชาวเอเชียและยุโรป ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีต่อความสัมพันธ์ในอนาคตของเอเชียและยุโรป และไทยมีบทบาทที่สำคัญและแข็งขันเป็นที่ยอมรับของประเทศสมาชิก ASEM ได้รับเลือกจากที่ประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 9 - 12 พฤษภาคม 2544 ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานและจะเข้ารับตำแหน่งประธานของคณะมนตรีในปีหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในการกำหนดแนวนโยบายการดำเนินงานของ ASEF
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พ.ย. 44--
-สส-
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า มูลนิธิเอเชีย - ยุโรป (Asia-Europe Foundation - ASEF) ได้มีหนังสือขอให้รัฐบาลไทยพิจารณาสนับสนุนบริจาคเงินรอบใหม่แก่ ASEF ตามที่ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 24 - 25 พฤษภาคม 2544 ได้สนับสนุนให้มีการพิจารณาบริจาคเงินรอบใหม่แก่ ASEF ในการประชุมผู้นำเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 4 (The Fourth ASEM Summit) ที่กรุงโคเปนเฮเกน ในเดือนกันยายน 2545
การบริจาคเงินของไทยในรอบแรก นั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2539 อนุมัติในหลักการให้บริจาคเงินสนับสนุน ASEF ครั้งแรก ในวงเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2540 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น อย่างไรก็ตาม เมื่อ ASEF ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเงินใหม่ในการจัดตั้งเป็นกองทุน กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เสนอให้ไทยบริจาคในวงเงิน 500,000ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 12,750,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.50 บาท) สำหรับเวลา5 ปี เพื่อให้ ASEF มีงบประมาณที่เพียงพอในแต่ละปี และเป็นการบริจาคเงินสมทบในครั้งเดียวโดยไม่ต้องบริจาคเพิ่มเติมอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี
อนึ่ง การบริจาคเงินให้ ASEF ในรอบแรกเป็นเรื่องที่เริ่มจากนโยบายในระดับผู้นำในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำในครั้งแรก กิจกรรมของ ASEF ได้เอื้อประโยชน์ในการเชื่อมโยงในระดับประชาชนสู่ประชาชนทั้งในระดับนักเรียน นักศึกษา สื่อมวลชน นักเขียน ปัญญาชน และผู้นำรุ่นใหม่ของชาวเอเชียและยุโรป ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีต่อความสัมพันธ์ในอนาคตของเอเชียและยุโรป และไทยมีบทบาทที่สำคัญและแข็งขันเป็นที่ยอมรับของประเทศสมาชิก ASEM ได้รับเลือกจากที่ประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 9 - 12 พฤษภาคม 2544 ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานและจะเข้ารับตำแหน่งประธานของคณะมนตรีในปีหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในการกำหนดแนวนโยบายการดำเนินงานของ ASEF
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พ.ย. 44--
-สส-