แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คณะรัฐมนตรี
ธ.ก.ส.
งบดุล
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ รายงานกิจการ งบดุล งบกำไรขาดทุน
ประจำปีงบประมาณ 2543 (1 เมษายน 2543 - 31 มีนาคม 2544) ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ซึ่งผ่านการตรวจสอบรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว พร้อมทั้งชี้แจงนโยบายของธนาคาร รวมทั้ง
แผนงานและเป้าหมายที่จะจัดทำในปี 2544 (1 เมษายน 2544 - 31 มีนาคม 2545) สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานประจำปีบัญชี 2543
1.1 ณ วันสิ้นปีบัญชี 2543 (31 มีนาคม 2544) ธ.ก.ส. มีทุนเรือนหุ้นสามัญที่เรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว จำนวน
254,357,349 หุ้น เป็นเงิน 25,435,734,900 บาท โดยกระทรวงการคลังถือหุ้น จำนวน 254,034,027
หุ้น หรือร้อยละ 99.87 เป็นเงิน 25,403,402,700 บาท สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร พนักงาน ธ.ก.ส. และบุคคล
ภายนอกถือหุ้น จำนวน 323,322 หุ้น หรือร้อยละ 0.13 เป็นเงิน 32,332,200 บาท และมีหุ้นบุริมสิทธิที่เรียกชำระเต็ม
มูลค่าแล้ว จำนวน 81,879 หุ้น เป็นเงิน 8,187,900 บาท โดยพนักงาน ธ.ก.ส. และบุคคลภายนอกเป็นผู้ถือหุ้นจำนวนนี้
1.2 ผลการดำเนินงานของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ประจำปีบัญชี 2543 เปรียบเทียบกับปีบัญชี
2542 ตามรายงานกิจการ งบดุล งบกำไรขาดทุน ประจำปีบัญชี 2543 สรุปได้ดังนี้
รายการ ปีบัญชี 2543 ปีบัญชี 2542 เพิ่ม (ลด) จากปีบัญชี 2542
จำนวน %
สินทรัพย์ (ล้านบาท) 308,930.05 276,680.37 32,249.68 11.66
หนี้สิน (ล้านบาท) 286,461.84 256,125.72 30,336.12 11.84
ส่วนของผู้ถือหุ้น (ล้านบาท) 22,468.21 20,554.65 1,913.56 9.31
รายได้ (ล้านบาท) 21,023.61 24,011.08 -2,987.47 -12.44
ค่าใช้จ่าย (ล้านบาท) 20,487.36 23,730.60 -3,243.24 -13.67
กำไรสุทธิ (ล้านบาท) 536.25 280.48 255.77 91.19
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท) 2.31 1.9 0.41 21.58
รายการ ปีบัญชี 2543 ปีบัญชี 2542 เพิ่ม (ลด) จากปีบัญชี 2542
จำนวน %
การให้สินเชื่อระหว่างปีบัญชี 2543
จำแนกตามประเภทลูกหนี้
เกษตรกรลูกค้าโดยตรง
- ครัวเรือน 3,548,626 3,502,051 46,575 1.33
- ล้านบาท 130,365 124,097 6,268 5.05
สมาชิกสหกรณ์การเกษตร
- ครัวเรือน 1,547,221 1,483,058 64,163 4.33
- ล้านบาท 23,859 22,100 1,759 7.96
สมาชิกกลุ่มเกษตรกร
- ครัวเรือน 18,489 21,562 -3,073 -14.25
- ล้านบาท 120 70 50 71.43
รวมทั้งสิ้น
- ครัวเรือน 5,114,336 5,006,671 107,665 2.15
- ล้านบาท 154,344 146,267 8,077 5.52
2. ธ.ก.ส. ได้กำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานตามกรอบนโยบายในปีบัญชี 2544 (1 เมษายน 2544 - 31 มีนาคม 2545)
โดยสรุปดังนี้
2.1 แผนการดำเนินงานสินเชื่อตามโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย
ในปีบัญชี 2544 รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรรายย่อย โดยการพักชำระหนี้ ธ.ก.ส. เป็นเวลา 3 ปี
เพื่อให้เกษตรกรได้มีโอกาสพักฟื้นและฟื้นฟูตนเองในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2547 โดยมีสาระสำคัญ คือ
1) กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อยลูกค้า ธ.ก.ส. ที่มีหนี้เงินกู้คงเหลือรายละไม่เกิน 100,000 บาท ณ
วันที่ 31 มีนาคม 2544 มีจำนวน 2,379,788 ราย หนี้เงินกู้ จำนวน 94,056 ล้านบาท
2) เกษตรกรรายย่อยที่ประสบปัญหาด้านหนี้สินและจำเป็นต้องขอพักชำระหนี้เป็นเวลา 3 ปี นั้น
ในระหว่างพักชำระหนี้จะไม่มีสิทธิ์ขอกู้เงินใหม่จาก ธ.ก.ส. เพิ่มเติม แต่จะได้รับการช่วยเหลือทางด้านวิชาการจาก ธ.ก.ส.
และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงการผลิตเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ รวมทั้งมีการออมเงินตามความสามารถ
3) เกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีความจำเป็นต้องขอรับการพักชำระหนี้ จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกำลังใจ
ในการประกอบอาชีพ ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราที่พึงต้องจ่ายอีกร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา
3 ปี นอกจากนี้ยังให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมที่ ธ.ก.ส. สามารถให้ได้อยู่แล้วควบคู่ไปด้วย
4) รัฐบาลให้การสนับสนุนการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งจะจัดสรรเงินจากแหล่ง
ต่าง ๆ ให้กับ ธ.ก.ส. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการ ได้แก่ ชดเชยค่าดอกเบี้ยของเกษตรกรที่ขอพักชำระหนี้หรือขอลดภาระหนี้
ชดเชยค่าดำเนินการในส่วนที่ ธ.ก.ส. จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมจากการปฏิบัติงานตามปกติ รวมทั้ง
ธ.ก.ส. จะต้องเพิ่มมาตรการกำกับดูแลและแนะนำเกษตรกรลูกค้าที่พักชำระหนี้ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการ
2.2 แผนการขยายการเปิดดำเนินงานธนาคารสาขาและการรับลูกค้า
1) เมื่อต้นปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. มีสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัด 72 แห่ง เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลสาขา
ระดับอำเภอในจังหวัด มีจำนวนสาขาที่ให้บริการทั้งด้านการเงินและสินเชื่อแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร รวมทั้งผู้ใช้บริการด้านเงินฝากทั่วประเทศ
มีจำนวน 587 สาขา จำแนกเป็นสาขาระดับอำเภอจำนวน 432 สาขา สาขาขนาดเล็กซึ่งมีฐานะเทียบเท่าสาขาระดับอำเภอ จำนวน 71 สาขา
และสาขาย่อย (อยู่ในการกำกับดูแลของสาขาอำเภอ) จำนวน 84 สาขา
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยอำเภอที่ให้บริการด้านสินเชื่อ จำนวน 887 หน่วย
สำหรับในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. กำหนดแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของเครือข่ายสาขา
โดยยกระดับสาขาขนาดเล็กที่มีปริมาณธุรกิจด้านสินเชื่อและเงินฝากสูงขึ้นเป็นสาขาขนาดใหญ่ จำนวน 8 สาขา ยกระดับสาขาย่อยเป็นสาขาขนาดเล็ก
จำนวน 20 สาขา และยกระดับหน่วยอำเภอเป็นหน่วยบริการ (Service Unit) จำนวน 12 แห่ง
ทั้งนี้ เพื่อสามารถให้บริการทางการเงินแก่เกษตรกรลูกค้าได้ใกล้ชิด รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2) ธ.ก.ส. ได้กำหนดเป้าหมายการขยายจำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้รับบริการสินเชื่อทั้งโดยตรงและผ่านสถาบันเกษตรกร
อันได้แก่ สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร เป็นจำนวน 5,190,437 ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจาก
ปีบัญชี 2543 จำนวน 76,101 ครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.49 ซึ่งเมื่อสิ้นปีบัญชี 2544 จะทำให้จำนวนครัวเรือน
เกษตรกรผู้รับบริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ทั้งหมดคิดเป็นประมาณร้อยละ 92 ของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งประเทศ
2.3 แผนการให้บริการสินเชื่อและการรับชำระคืน
1) แผนการให้บริการสินเชื่อ ในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. ได้กำหนดแผนการให้สินเชื่อไว้ทั้งสิ้น
128,800 ล้านบาท ลดลงจากปีบัญชี 2543 จำนวน 25,544 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 16.55
แผนการให้สินเชื่อดังกล่าว นอกจากเป็นการให้สินเชื่อตามแผนงานปกติของ ธ.ก.ส. จำนวน
112,800 ล้านบาทแล้ว ยังเป็นการให้สินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาลอีกจำนวน 16,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย
(1) โครงการรับจำนำและชะลอการขายผลิตผลการเกษตร จำนวน 11,000 ล้านบาท
(2) โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อการบำรุงอ้อย จำนวน 5,000 ล้านบาท
2) แผนการรับชำระคืนสินเชื่อ ในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. ได้กำหนดแผนการรับชำระคืนสินเชื่อจาก
เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรไว้ทั้งสิ้น จำนวน 117,820 ล้านบาท ลดลงจากปีบัญชี 2543 จำนวน 15,799 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 11.82
2.4 แผนการเงินและการลงทุน
1) แผนการเงิน ในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. มีความต้องการเงินทุนเพิ่มเพื่อให้สินเชื่อ จำนวน
10,980 ล้านบาท รวมกับภาระการชำระคืนเงินกู้ถึงกำหนดที่ ธ.ก.ส. กู้ยืมมาใช้เป็นทุนดำเนินงานอีก จำนวน 17,728
ล้านบาท ดังนั้น จำเป็นต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเป็นจำนวน 28,708 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าส่วนใหญ่จะจัดหาจากแหล่งเงินทุน
ภายในประเทศ เช่น การออกหุ้นเพิ่มทุนเงินรับฝากจากประชาชนทั่วไป และเงินกู้ยืมจากการออกพันธบัตร เป็นต้น
ในด้านค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ธ.ก.ส. จะพยายามควบคุมให้อยู่ในระดับเดียวกับค่าใช้จ่ายในปีก่อน
และคาดว่าผลการดำเนินงานในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. จะมีกำไรสุทธิประมาณ 202 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 62.31 ทั้งนี้ มีผล
สืบเนื่องมาจากการที่ ธ.ก.ส. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 1.00 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์
2544 เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกร
2) แผนการลงทุน ในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. กำหนดแผนการลงทุนในทรัพย์สินไว้ จำนวน 1,637
ล้านบาท จำแนกเป็นค่าก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคารสำนักงาน จำนวน 516 ล้านบาท และลงทุนในทรัพย์สินประเภท
ครุภัณฑ์และยานพาหนะ จำนวน 1,121 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนซื้อครุภัณฑ์สำหรับทดแทนของเดิมที่หมดอายุใช้งาน และซื้อครุภัณฑ์
คอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ เนื่องจากธนาคารมีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบเครือข่าย
การสื่อสารข้อมูลทั้งภาคดาวเทียมและภาคพื้นดิน รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการข้อมูลเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการให้บริการแก่เกษตรกรลูกค้าเป็นสำคัญ
2.5 แผนการธนาคารและบริการ ส่งเสริมและสนับสนุนการระดมเงินออมระยะยาว เพื่อเป็นแหล่ง
เงินทุนสำคัญในการขยายการให้บริการสินเชื่อด้วยผลิตภัณฑ์เงินฝากที่เหมาะสม ประหยัดต้นทุน และแข่งขันได้ พัฒนาและเพิ่มการให้บริการด้าน
การธนาคารและบริการอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า รวมทั้งการเพิ่มรายได้จากการให้บริการหลากหลาย โดยการบริหารต้นทุนต่าง
อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.6 แผนการพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยี ดำเนินการต่อเนื่องในการพัฒนาองค์กรและระบบการบริหารจัดการของธนาคารสู่
ความเป็นสากล ในด้านพัฒนาชนบทและความเป็นเลิศในการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว
ตอบสนองต่อการประกอบอาชีพของลูกค้าทั้งในด้านการผลิตและการตลาด โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและ
เหมาะสม
2.7 แผนทรัพยากรมนุษย์ บริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งคุณภาพและคุณธรรม
โดยมุ่งเน้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้
ระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและทันสมัย
2.8 แผนสังคมและสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างการเป็นธนาคารที่มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมกับสังคมส่วนรวมของประเทศ
-ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-
ประจำปีงบประมาณ 2543 (1 เมษายน 2543 - 31 มีนาคม 2544) ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ซึ่งผ่านการตรวจสอบรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว พร้อมทั้งชี้แจงนโยบายของธนาคาร รวมทั้ง
แผนงานและเป้าหมายที่จะจัดทำในปี 2544 (1 เมษายน 2544 - 31 มีนาคม 2545) สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานประจำปีบัญชี 2543
1.1 ณ วันสิ้นปีบัญชี 2543 (31 มีนาคม 2544) ธ.ก.ส. มีทุนเรือนหุ้นสามัญที่เรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว จำนวน
254,357,349 หุ้น เป็นเงิน 25,435,734,900 บาท โดยกระทรวงการคลังถือหุ้น จำนวน 254,034,027
หุ้น หรือร้อยละ 99.87 เป็นเงิน 25,403,402,700 บาท สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร พนักงาน ธ.ก.ส. และบุคคล
ภายนอกถือหุ้น จำนวน 323,322 หุ้น หรือร้อยละ 0.13 เป็นเงิน 32,332,200 บาท และมีหุ้นบุริมสิทธิที่เรียกชำระเต็ม
มูลค่าแล้ว จำนวน 81,879 หุ้น เป็นเงิน 8,187,900 บาท โดยพนักงาน ธ.ก.ส. และบุคคลภายนอกเป็นผู้ถือหุ้นจำนวนนี้
1.2 ผลการดำเนินงานของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ประจำปีบัญชี 2543 เปรียบเทียบกับปีบัญชี
2542 ตามรายงานกิจการ งบดุล งบกำไรขาดทุน ประจำปีบัญชี 2543 สรุปได้ดังนี้
รายการ ปีบัญชี 2543 ปีบัญชี 2542 เพิ่ม (ลด) จากปีบัญชี 2542
จำนวน %
สินทรัพย์ (ล้านบาท) 308,930.05 276,680.37 32,249.68 11.66
หนี้สิน (ล้านบาท) 286,461.84 256,125.72 30,336.12 11.84
ส่วนของผู้ถือหุ้น (ล้านบาท) 22,468.21 20,554.65 1,913.56 9.31
รายได้ (ล้านบาท) 21,023.61 24,011.08 -2,987.47 -12.44
ค่าใช้จ่าย (ล้านบาท) 20,487.36 23,730.60 -3,243.24 -13.67
กำไรสุทธิ (ล้านบาท) 536.25 280.48 255.77 91.19
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท) 2.31 1.9 0.41 21.58
รายการ ปีบัญชี 2543 ปีบัญชี 2542 เพิ่ม (ลด) จากปีบัญชี 2542
จำนวน %
การให้สินเชื่อระหว่างปีบัญชี 2543
จำแนกตามประเภทลูกหนี้
เกษตรกรลูกค้าโดยตรง
- ครัวเรือน 3,548,626 3,502,051 46,575 1.33
- ล้านบาท 130,365 124,097 6,268 5.05
สมาชิกสหกรณ์การเกษตร
- ครัวเรือน 1,547,221 1,483,058 64,163 4.33
- ล้านบาท 23,859 22,100 1,759 7.96
สมาชิกกลุ่มเกษตรกร
- ครัวเรือน 18,489 21,562 -3,073 -14.25
- ล้านบาท 120 70 50 71.43
รวมทั้งสิ้น
- ครัวเรือน 5,114,336 5,006,671 107,665 2.15
- ล้านบาท 154,344 146,267 8,077 5.52
2. ธ.ก.ส. ได้กำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานตามกรอบนโยบายในปีบัญชี 2544 (1 เมษายน 2544 - 31 มีนาคม 2545)
โดยสรุปดังนี้
2.1 แผนการดำเนินงานสินเชื่อตามโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย
ในปีบัญชี 2544 รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรรายย่อย โดยการพักชำระหนี้ ธ.ก.ส. เป็นเวลา 3 ปี
เพื่อให้เกษตรกรได้มีโอกาสพักฟื้นและฟื้นฟูตนเองในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2547 โดยมีสาระสำคัญ คือ
1) กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อยลูกค้า ธ.ก.ส. ที่มีหนี้เงินกู้คงเหลือรายละไม่เกิน 100,000 บาท ณ
วันที่ 31 มีนาคม 2544 มีจำนวน 2,379,788 ราย หนี้เงินกู้ จำนวน 94,056 ล้านบาท
2) เกษตรกรรายย่อยที่ประสบปัญหาด้านหนี้สินและจำเป็นต้องขอพักชำระหนี้เป็นเวลา 3 ปี นั้น
ในระหว่างพักชำระหนี้จะไม่มีสิทธิ์ขอกู้เงินใหม่จาก ธ.ก.ส. เพิ่มเติม แต่จะได้รับการช่วยเหลือทางด้านวิชาการจาก ธ.ก.ส.
และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงการผลิตเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ รวมทั้งมีการออมเงินตามความสามารถ
3) เกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีความจำเป็นต้องขอรับการพักชำระหนี้ จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกำลังใจ
ในการประกอบอาชีพ ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราที่พึงต้องจ่ายอีกร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา
3 ปี นอกจากนี้ยังให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมที่ ธ.ก.ส. สามารถให้ได้อยู่แล้วควบคู่ไปด้วย
4) รัฐบาลให้การสนับสนุนการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งจะจัดสรรเงินจากแหล่ง
ต่าง ๆ ให้กับ ธ.ก.ส. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการ ได้แก่ ชดเชยค่าดอกเบี้ยของเกษตรกรที่ขอพักชำระหนี้หรือขอลดภาระหนี้
ชดเชยค่าดำเนินการในส่วนที่ ธ.ก.ส. จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมจากการปฏิบัติงานตามปกติ รวมทั้ง
ธ.ก.ส. จะต้องเพิ่มมาตรการกำกับดูแลและแนะนำเกษตรกรลูกค้าที่พักชำระหนี้ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการ
2.2 แผนการขยายการเปิดดำเนินงานธนาคารสาขาและการรับลูกค้า
1) เมื่อต้นปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. มีสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัด 72 แห่ง เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลสาขา
ระดับอำเภอในจังหวัด มีจำนวนสาขาที่ให้บริการทั้งด้านการเงินและสินเชื่อแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร รวมทั้งผู้ใช้บริการด้านเงินฝากทั่วประเทศ
มีจำนวน 587 สาขา จำแนกเป็นสาขาระดับอำเภอจำนวน 432 สาขา สาขาขนาดเล็กซึ่งมีฐานะเทียบเท่าสาขาระดับอำเภอ จำนวน 71 สาขา
และสาขาย่อย (อยู่ในการกำกับดูแลของสาขาอำเภอ) จำนวน 84 สาขา
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยอำเภอที่ให้บริการด้านสินเชื่อ จำนวน 887 หน่วย
สำหรับในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. กำหนดแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของเครือข่ายสาขา
โดยยกระดับสาขาขนาดเล็กที่มีปริมาณธุรกิจด้านสินเชื่อและเงินฝากสูงขึ้นเป็นสาขาขนาดใหญ่ จำนวน 8 สาขา ยกระดับสาขาย่อยเป็นสาขาขนาดเล็ก
จำนวน 20 สาขา และยกระดับหน่วยอำเภอเป็นหน่วยบริการ (Service Unit) จำนวน 12 แห่ง
ทั้งนี้ เพื่อสามารถให้บริการทางการเงินแก่เกษตรกรลูกค้าได้ใกล้ชิด รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2) ธ.ก.ส. ได้กำหนดเป้าหมายการขยายจำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้รับบริการสินเชื่อทั้งโดยตรงและผ่านสถาบันเกษตรกร
อันได้แก่ สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร เป็นจำนวน 5,190,437 ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจาก
ปีบัญชี 2543 จำนวน 76,101 ครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.49 ซึ่งเมื่อสิ้นปีบัญชี 2544 จะทำให้จำนวนครัวเรือน
เกษตรกรผู้รับบริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ทั้งหมดคิดเป็นประมาณร้อยละ 92 ของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งประเทศ
2.3 แผนการให้บริการสินเชื่อและการรับชำระคืน
1) แผนการให้บริการสินเชื่อ ในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. ได้กำหนดแผนการให้สินเชื่อไว้ทั้งสิ้น
128,800 ล้านบาท ลดลงจากปีบัญชี 2543 จำนวน 25,544 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 16.55
แผนการให้สินเชื่อดังกล่าว นอกจากเป็นการให้สินเชื่อตามแผนงานปกติของ ธ.ก.ส. จำนวน
112,800 ล้านบาทแล้ว ยังเป็นการให้สินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาลอีกจำนวน 16,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย
(1) โครงการรับจำนำและชะลอการขายผลิตผลการเกษตร จำนวน 11,000 ล้านบาท
(2) โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อการบำรุงอ้อย จำนวน 5,000 ล้านบาท
2) แผนการรับชำระคืนสินเชื่อ ในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. ได้กำหนดแผนการรับชำระคืนสินเชื่อจาก
เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรไว้ทั้งสิ้น จำนวน 117,820 ล้านบาท ลดลงจากปีบัญชี 2543 จำนวน 15,799 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 11.82
2.4 แผนการเงินและการลงทุน
1) แผนการเงิน ในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. มีความต้องการเงินทุนเพิ่มเพื่อให้สินเชื่อ จำนวน
10,980 ล้านบาท รวมกับภาระการชำระคืนเงินกู้ถึงกำหนดที่ ธ.ก.ส. กู้ยืมมาใช้เป็นทุนดำเนินงานอีก จำนวน 17,728
ล้านบาท ดังนั้น จำเป็นต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเป็นจำนวน 28,708 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าส่วนใหญ่จะจัดหาจากแหล่งเงินทุน
ภายในประเทศ เช่น การออกหุ้นเพิ่มทุนเงินรับฝากจากประชาชนทั่วไป และเงินกู้ยืมจากการออกพันธบัตร เป็นต้น
ในด้านค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ธ.ก.ส. จะพยายามควบคุมให้อยู่ในระดับเดียวกับค่าใช้จ่ายในปีก่อน
และคาดว่าผลการดำเนินงานในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. จะมีกำไรสุทธิประมาณ 202 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 62.31 ทั้งนี้ มีผล
สืบเนื่องมาจากการที่ ธ.ก.ส. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 1.00 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์
2544 เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกร
2) แผนการลงทุน ในปีบัญชี 2544 ธ.ก.ส. กำหนดแผนการลงทุนในทรัพย์สินไว้ จำนวน 1,637
ล้านบาท จำแนกเป็นค่าก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคารสำนักงาน จำนวน 516 ล้านบาท และลงทุนในทรัพย์สินประเภท
ครุภัณฑ์และยานพาหนะ จำนวน 1,121 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนซื้อครุภัณฑ์สำหรับทดแทนของเดิมที่หมดอายุใช้งาน และซื้อครุภัณฑ์
คอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ เนื่องจากธนาคารมีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบเครือข่าย
การสื่อสารข้อมูลทั้งภาคดาวเทียมและภาคพื้นดิน รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการข้อมูลเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการให้บริการแก่เกษตรกรลูกค้าเป็นสำคัญ
2.5 แผนการธนาคารและบริการ ส่งเสริมและสนับสนุนการระดมเงินออมระยะยาว เพื่อเป็นแหล่ง
เงินทุนสำคัญในการขยายการให้บริการสินเชื่อด้วยผลิตภัณฑ์เงินฝากที่เหมาะสม ประหยัดต้นทุน และแข่งขันได้ พัฒนาและเพิ่มการให้บริการด้าน
การธนาคารและบริการอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า รวมทั้งการเพิ่มรายได้จากการให้บริการหลากหลาย โดยการบริหารต้นทุนต่าง
อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.6 แผนการพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยี ดำเนินการต่อเนื่องในการพัฒนาองค์กรและระบบการบริหารจัดการของธนาคารสู่
ความเป็นสากล ในด้านพัฒนาชนบทและความเป็นเลิศในการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว
ตอบสนองต่อการประกอบอาชีพของลูกค้าทั้งในด้านการผลิตและการตลาด โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและ
เหมาะสม
2.7 แผนทรัพยากรมนุษย์ บริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งคุณภาพและคุณธรรม
โดยมุ่งเน้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้
ระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและทันสมัย
2.8 แผนสังคมและสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างการเป็นธนาคารที่มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมกับสังคมส่วนรวมของประเทศ
-ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-