คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้มีมติอนุมัติหลักการ และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไของค์ประกอบของการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และกำหนดให้การโฆษณาหรือประกาศ หรือการกระทำใด ๆ ให้ประชาชนนำเงินเข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศหรือเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย เพื่อให้ครอบคลุมพฤติการณ์การกระทำความผิดมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าในกรณีการกู้ยืมเงิน ผู้กู้ยืมเงินตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้กับผู้ให้กู้ยืมเงินหรือไม่
2. กำหนดการประมาณการอัตราผลประโยชน์ตอบแทนจากการให้กู้ยืมเงินในกรณีไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ เนื่องจากโดยลักษณะของการกู้ยืมเงินบางรูปแบบไม่สามารถกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนที่ชัดเจนได้
3. กำหนดให้ผู้ตรวจค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดมีสิทธิได้รับรางวัลจากค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลเมื่อคดีถึงที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้จับกุมมีกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบกับเจ้าหน้าที่จะต้องใช้เงินในการปฏิบัติการเช่น การสุ่มลงทุนในธุรกิจเพื่อตรวจสอบพฤติการณ์
4. กำหนดความรับผิดพนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งมีพฤติกรรมเป็นผุ้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคล ให้ต้องรับโทษในความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน อย่างเดียวกับกรรมการและผู้จัดการของนิติบุคคล เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิด เพื่อให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. เพิ่มโทษในกรณีที่มีการกระทำความผิดซ้ำ เพื่อให้ผู้กระทำความผิดไม่กล้ากระทำความผิดอีก
6. กำหนดให้เนรเทศคนต่างด้าวซึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เนื่องจากพบว่าผู้กระทำความผิดหรือผู้อยู่เบื้องหลังการกระทำความผิดเป็นคนต่างชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไของค์ประกอบของการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และกำหนดให้การโฆษณาหรือประกาศ หรือการกระทำใด ๆ ให้ประชาชนนำเงินเข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศหรือเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย เพื่อให้ครอบคลุมพฤติการณ์การกระทำความผิดมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าในกรณีการกู้ยืมเงิน ผู้กู้ยืมเงินตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้กับผู้ให้กู้ยืมเงินหรือไม่
2. กำหนดการประมาณการอัตราผลประโยชน์ตอบแทนจากการให้กู้ยืมเงินในกรณีไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ เนื่องจากโดยลักษณะของการกู้ยืมเงินบางรูปแบบไม่สามารถกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนที่ชัดเจนได้
3. กำหนดให้ผู้ตรวจค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดมีสิทธิได้รับรางวัลจากค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลเมื่อคดีถึงที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้จับกุมมีกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบกับเจ้าหน้าที่จะต้องใช้เงินในการปฏิบัติการเช่น การสุ่มลงทุนในธุรกิจเพื่อตรวจสอบพฤติการณ์
4. กำหนดความรับผิดพนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งมีพฤติกรรมเป็นผุ้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคล ให้ต้องรับโทษในความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน อย่างเดียวกับกรรมการและผู้จัดการของนิติบุคคล เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิด เพื่อให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. เพิ่มโทษในกรณีที่มีการกระทำความผิดซ้ำ เพื่อให้ผู้กระทำความผิดไม่กล้ากระทำความผิดอีก
6. กำหนดให้เนรเทศคนต่างด้าวซึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เนื่องจากพบว่าผู้กระทำความผิดหรือผู้อยู่เบื้องหลังการกระทำความผิดเป็นคนต่างชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-