แท็ก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบมติการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2544 วันที่ 17 สิงหาคม 2544 ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้การรับรองเรียบร้อยแล้ว ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ สรุปเรื่องที่น่าสนใจคือ
1. ขอผ่อนผันการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิดในพื้นที่น้ำจืดเฉพาะแห่ง มติที่ประชุมคือ ให้คงมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในการระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดไว้เช่นเดิม
2. ให้คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดดำเนินการศึกษาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดในปัจจุบัน
2.2 การกำหนดวิธีการจำแนกเขต (Zoning) การเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่ได้ผลในทางปฏิบัติ
2.3 การกำหนดวิธีการและการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในทิศทางที่ถูกต้อง
2.4 ให้กำหนดรายละเอียดของเรื่องที่ต้องดำเนินการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในระบบปิด ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่แท้จริงของการเลี้ยงกุ้ง
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
3. ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จำนวน 4 ท่าน คือ นายปริญญานุตาลัย นายวิเชียร กีรตินิจกาล นายนิกร จำนง และนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เป็นอนุกรรมการที่ปรึกษาในคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด
4. ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งประธานคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังนี้
4.1 แต่งตั้ง นายประสงค์ เอี่ยมอนันต์ เป็นประธานกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และโครงการร่วมกับเอกชนด้านคมนาคม
4.2 แต่งตั้ง นายทวี บุตรสุนทร เป็นประธานกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และโครงการร่วมกับเอกชน
4.3 แต่งตั้ง นายปริญญา นุตาลัย เป็นประธานกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-
1. ขอผ่อนผันการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิดในพื้นที่น้ำจืดเฉพาะแห่ง มติที่ประชุมคือ ให้คงมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในการระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดไว้เช่นเดิม
2. ให้คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดดำเนินการศึกษาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดในปัจจุบัน
2.2 การกำหนดวิธีการจำแนกเขต (Zoning) การเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่ได้ผลในทางปฏิบัติ
2.3 การกำหนดวิธีการและการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในทิศทางที่ถูกต้อง
2.4 ให้กำหนดรายละเอียดของเรื่องที่ต้องดำเนินการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในระบบปิด ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่แท้จริงของการเลี้ยงกุ้ง
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
3. ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จำนวน 4 ท่าน คือ นายปริญญานุตาลัย นายวิเชียร กีรตินิจกาล นายนิกร จำนง และนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เป็นอนุกรรมการที่ปรึกษาในคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด
4. ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งประธานคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังนี้
4.1 แต่งตั้ง นายประสงค์ เอี่ยมอนันต์ เป็นประธานกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และโครงการร่วมกับเอกชนด้านคมนาคม
4.2 แต่งตั้ง นายทวี บุตรสุนทร เป็นประธานกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และโครงการร่วมกับเอกชน
4.3 แต่งตั้ง นายปริญญา นุตาลัย เป็นประธานกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-