ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. .... ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ เช่น ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ มีความมั่นคง และมีความเป็นธรรมต่อทั้งผู้ใช้บริการและผู้ประกอบกิจการพลังงาน หรือปกป้องผลประโยชน์ทั้งทางด้านอัตราค่าบริการ และคุณภาพการให้บริการ เป็นต้น
2. กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้
3. ให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา โดยให้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในร่างมาตรา 10 ร่างมาตรา 11 และร่างมาตรา 14 และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในร่างมาตรา 9
4. กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการคณะหนึ่งมีจำนวนสิบสามคน ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้แทนองค์กรเอกชนที่เป็นนิติบุคคล เพื่อทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการ โดยให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กำหนดไว้เป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนกรรมการต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเท่ากับจำนวนกรรมการ แล้วนำเสนอวุฒิสภาเพื่อให้มีมติรับรองผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งคณะ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป
5. กำหนดให้กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว แต่เมื่อกรรมการดำรงตำแหน่งครบสามปี ให้กรรมการ (ยกเว้นประธาน) จับฉลากออกจากตำแหน่งจำนวนสองคน และภายในเวลาสองปีนับแต่พ้นจากตำแหน่งกรรมการจะประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอิสระที่เป็นผลให้ได้รับเงินหรือประโยชน์ใดจากนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานมิได้
6. กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานกรรมการ และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในร่างมาตรา 28 โดยให้สำนักงานมีรายได้จาก
6.1 รายได้หรือผลประโยชน์อันได้มาจากการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและสำนักงาน
6.2 เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้
6.3 เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่สำนักงาน
6.4 รายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน
รายได้ดังกล่าวไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง
7. กำหนดให้การประกอบกิจการพลังงาน ต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
8. ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตและพนักงานพักหรือหยุดให้บริการ เว้นแต่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด และหากจะเลิกประกอบกิจการพลังงานต้องแจ้งให้เลขาธิการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
9. การกำหนดอัตราค่าบริการของผู้รับใบอนุญาตให้ยึดหลักความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสหรือการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค และมีวิธีการคำนวณอัตราค่าบริการชัดเจน โดยให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำกับดูแลอัตราค่าบริการให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติกำหนด
10. กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า "กองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้า" ในสำนักงานเพื่อเป็นเงินชดเชยแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสหรือเพื่อให้มีบริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึง หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค โดยประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินต่อไปนี้ 1) เงินที่ส่งตามมาตรา 85 2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นคราว ๆ 3) เงินค่าปรับตามมาตรา 79 วรรคสาม 4) เงินจากดอกผลและประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากกองทุนนี้
11. ให้คณะกรรมการฯ กำหนดให้มีการเก็บเงินจากผู้ใช้ไฟฟ้าส่งเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ส่งต้องชำระเงินเพิ่มและมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
12. ให้มีคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอีกไม่เกินยี่สิบคน เพื่อพิจารณาให้สิทธิและการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน
13. ในกรณีที่ผู้ใช้พลังงานได้รับความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากการให้บริการพลังงาน ผู้ใช้พลังงานมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขตที่รับผิดชอบได้ และให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ให้ผู้ใช้พลังงานยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อสำนักงาน
14. มาตรการส่งเสริมการแข่งขันและป้องกันการใช้อำนาจผูกขาดในทางมิชอบ
15. ในกรณีมีความจำเป็นที่ผู้ประกอบกิจการด้านพลังงานจะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างระบบโครงข่ายพลังงาน ให้สำนักงานเป็นผู้ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยผู้ประกอบกิจการพลังงานเป็นผู้จ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเวนคืนดังกล่าว และให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจอนุมัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้รับใบอนุญาตเข้าไปใช้สอยหรือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมิใช่เคหะสถานของบุคคลใดเป็นการชั่วคราว เพื่อการสำรวจ สร้างหรือบำรุงรักษาระบบโครงการข่ายพลังงาน โดยจ่ายเงินค่าทดแทน
16. กำหนดให้จัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า "ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าแห่งประเทศไทย" เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ดังนี้
16.1 ประกอบกิจการเป็นศูนย์ควบคุมระบบส่งไฟฟ้าของประเทศเพื่อให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้ามีความมั่นคง เสถียรภาพและประสิทธิภาพ
16.2 ประกอบกิจการเป็นศูนย์ปฏิบัติการทางการตลาด ซึ่งให้บริการเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายไฟฟ้า
16.3 ประกอบกิจการเป็นศูนย์บริการการชำระเงิน เพื่อให้บริการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายไฟฟ้า โดยให้ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้ามีอำนาจตามที่ระบุไว้ในร่างมาตรา 119
17. กำหนดให้มีคณะกรรมการตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าแห่งประเทศไทยคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสิบสี่คน โดยให้คณะกรรมการสรรหาตามมาตรา 12 ทำหน้าที่เสนอรายชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า และให้นำร่างมาตรา 12 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้เสนอราชื่อเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนกรรมการตลาดการซื้อขายไฟฟ้าที่จะได้รับแต่งตั้งต่อคณะรัฐมนตรี
18. ในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเห็นว่า หากตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าเริ่มปฏิบัติงานแล้วจะส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าลดต่ำลงจนทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีรายได้ไม่เพียงพอในการชำระค่าใช้จ่ายตามข้อผูกพัน แม้ว่าจะได้มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็ตาม ให้เรียกเก็บค่าการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบการแข่งขันจากผู้ใช้ไฟฟ้าตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด หากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ชำระค่าการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบการแข่งขันหรือชำระไม่ครบถ้วน ให้ชำระเงินเพิ่ม และต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ซึ่งในกรณีนี้ให้รวมถึงกรณีของก๊าซธรรมชาติด้วย
19 ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้มีบทกำหนดโทษทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ
20. ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ได้กำหนดบทเฉพาะกาลในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกำหนดให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการฯ หรือให้คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า หรือให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยปฏิบัติหน้าที่ของตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. .... ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ เช่น ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ มีความมั่นคง และมีความเป็นธรรมต่อทั้งผู้ใช้บริการและผู้ประกอบกิจการพลังงาน หรือปกป้องผลประโยชน์ทั้งทางด้านอัตราค่าบริการ และคุณภาพการให้บริการ เป็นต้น
2. กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้
3. ให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา โดยให้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในร่างมาตรา 10 ร่างมาตรา 11 และร่างมาตรา 14 และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในร่างมาตรา 9
4. กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการคณะหนึ่งมีจำนวนสิบสามคน ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้แทนองค์กรเอกชนที่เป็นนิติบุคคล เพื่อทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการ โดยให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กำหนดไว้เป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนกรรมการต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเท่ากับจำนวนกรรมการ แล้วนำเสนอวุฒิสภาเพื่อให้มีมติรับรองผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งคณะ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป
5. กำหนดให้กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว แต่เมื่อกรรมการดำรงตำแหน่งครบสามปี ให้กรรมการ (ยกเว้นประธาน) จับฉลากออกจากตำแหน่งจำนวนสองคน และภายในเวลาสองปีนับแต่พ้นจากตำแหน่งกรรมการจะประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอิสระที่เป็นผลให้ได้รับเงินหรือประโยชน์ใดจากนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานมิได้
6. กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานกรรมการ และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในร่างมาตรา 28 โดยให้สำนักงานมีรายได้จาก
6.1 รายได้หรือผลประโยชน์อันได้มาจากการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและสำนักงาน
6.2 เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้
6.3 เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่สำนักงาน
6.4 รายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน
รายได้ดังกล่าวไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง
7. กำหนดให้การประกอบกิจการพลังงาน ต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
8. ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตและพนักงานพักหรือหยุดให้บริการ เว้นแต่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด และหากจะเลิกประกอบกิจการพลังงานต้องแจ้งให้เลขาธิการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
9. การกำหนดอัตราค่าบริการของผู้รับใบอนุญาตให้ยึดหลักความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสหรือการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค และมีวิธีการคำนวณอัตราค่าบริการชัดเจน โดยให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำกับดูแลอัตราค่าบริการให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติกำหนด
10. กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า "กองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้า" ในสำนักงานเพื่อเป็นเงินชดเชยแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสหรือเพื่อให้มีบริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึง หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค โดยประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินต่อไปนี้ 1) เงินที่ส่งตามมาตรา 85 2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นคราว ๆ 3) เงินค่าปรับตามมาตรา 79 วรรคสาม 4) เงินจากดอกผลและประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากกองทุนนี้
11. ให้คณะกรรมการฯ กำหนดให้มีการเก็บเงินจากผู้ใช้ไฟฟ้าส่งเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ส่งต้องชำระเงินเพิ่มและมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
12. ให้มีคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอีกไม่เกินยี่สิบคน เพื่อพิจารณาให้สิทธิและการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน
13. ในกรณีที่ผู้ใช้พลังงานได้รับความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากการให้บริการพลังงาน ผู้ใช้พลังงานมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขตที่รับผิดชอบได้ และให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ให้ผู้ใช้พลังงานยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อสำนักงาน
14. มาตรการส่งเสริมการแข่งขันและป้องกันการใช้อำนาจผูกขาดในทางมิชอบ
15. ในกรณีมีความจำเป็นที่ผู้ประกอบกิจการด้านพลังงานจะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างระบบโครงข่ายพลังงาน ให้สำนักงานเป็นผู้ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยผู้ประกอบกิจการพลังงานเป็นผู้จ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเวนคืนดังกล่าว และให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจอนุมัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้รับใบอนุญาตเข้าไปใช้สอยหรือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมิใช่เคหะสถานของบุคคลใดเป็นการชั่วคราว เพื่อการสำรวจ สร้างหรือบำรุงรักษาระบบโครงการข่ายพลังงาน โดยจ่ายเงินค่าทดแทน
16. กำหนดให้จัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า "ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าแห่งประเทศไทย" เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ดังนี้
16.1 ประกอบกิจการเป็นศูนย์ควบคุมระบบส่งไฟฟ้าของประเทศเพื่อให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้ามีความมั่นคง เสถียรภาพและประสิทธิภาพ
16.2 ประกอบกิจการเป็นศูนย์ปฏิบัติการทางการตลาด ซึ่งให้บริการเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายไฟฟ้า
16.3 ประกอบกิจการเป็นศูนย์บริการการชำระเงิน เพื่อให้บริการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายไฟฟ้า โดยให้ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้ามีอำนาจตามที่ระบุไว้ในร่างมาตรา 119
17. กำหนดให้มีคณะกรรมการตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าแห่งประเทศไทยคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสิบสี่คน โดยให้คณะกรรมการสรรหาตามมาตรา 12 ทำหน้าที่เสนอรายชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า และให้นำร่างมาตรา 12 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้เสนอราชื่อเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนกรรมการตลาดการซื้อขายไฟฟ้าที่จะได้รับแต่งตั้งต่อคณะรัฐมนตรี
18. ในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเห็นว่า หากตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าเริ่มปฏิบัติงานแล้วจะส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าลดต่ำลงจนทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีรายได้ไม่เพียงพอในการชำระค่าใช้จ่ายตามข้อผูกพัน แม้ว่าจะได้มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็ตาม ให้เรียกเก็บค่าการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบการแข่งขันจากผู้ใช้ไฟฟ้าตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด หากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ชำระค่าการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบการแข่งขันหรือชำระไม่ครบถ้วน ให้ชำระเงินเพิ่ม และต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ซึ่งในกรณีนี้ให้รวมถึงกรณีของก๊าซธรรมชาติด้วย
19 ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้มีบทกำหนดโทษทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ
20. ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ได้กำหนดบทเฉพาะกาลในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกำหนดให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการฯ หรือให้คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า หรือให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยปฏิบัติหน้าที่ของตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-