ทำเนียบรัฐบาล--28 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอของบประมาณจำนวน 12 ล้านบาท สนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมการประชุมนานาชาติ ซึ่งเป็นอัตราส่วนเท่ากับการระดมทุนของภาคเอกชนซึ่งปัจจุบันมีการจัดหาทุนเริ่มแรกมาได้แล้วจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนเงินให้ยืมเป็นทุนหมุนเวียนแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเป็นเจ้าภาพหรือเข้าแข่งขันเพื่อเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติในประเทศไทย อันจะช่วยให้หน่วยงานดังกล่าวมีความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ดีขึ้น เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่า
1. การสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมการประชุมนานาชาติ จะสอดคล้องกับกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ในส่วนของยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงวัฒนธรรม และเชิงเกษตร รวมทั้งการท่องเที่ยวในรูปการจัดประชุมสัมมนานาชาติควบคู่ไปกับการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน องค์กรท้องถิ่น และประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ร่วมกัน
2. ในระยะสั้น เห็นควรสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมการประชุมนานาชาติ ซึ่งได้มีการดำเนินการโดยภาคเอกชนขึ้นแล้ว เพราะจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันและสนับสนุนการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยการสนับสนุนของภาครัฐอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ เห็นควรให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดสรรเงินงบประมาณโดยเจียดจ่ายจากงบประมาณด้านการตลาดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนกองทุนฯดังกล่าว ในงบประมาณ 2543 หรือ 2544 ในอัตราส่วนที่เท่ากับการระดมทุนของภาคเอกชนคือ จำนวน 12 ล้านบาท
3. ในระยะต่อไป ควรมีการจัดตั้ง Convention Burcau ขึ้นมารับผิดชอบกิจกรรม MICE และกองทุนฯเพื่อเพิมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่เป็นเอกภาพและทันสมัย และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในการชักจูงให้มีการจัดประชุมนานาชาติเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นควรมีขนาดเล็ก โดยให้แยกตัวออกมาจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีอิสระและคล่องตัวในการทำงานภายใต้การกำหนดทางร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ รวมทั้งมีการบริหารงานโดยนักบริหารมืออาชีพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ส.ค. 2543--
-นช-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอของบประมาณจำนวน 12 ล้านบาท สนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมการประชุมนานาชาติ ซึ่งเป็นอัตราส่วนเท่ากับการระดมทุนของภาคเอกชนซึ่งปัจจุบันมีการจัดหาทุนเริ่มแรกมาได้แล้วจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนเงินให้ยืมเป็นทุนหมุนเวียนแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเป็นเจ้าภาพหรือเข้าแข่งขันเพื่อเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติในประเทศไทย อันจะช่วยให้หน่วยงานดังกล่าวมีความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ดีขึ้น เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่า
1. การสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมการประชุมนานาชาติ จะสอดคล้องกับกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ในส่วนของยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงวัฒนธรรม และเชิงเกษตร รวมทั้งการท่องเที่ยวในรูปการจัดประชุมสัมมนานาชาติควบคู่ไปกับการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน องค์กรท้องถิ่น และประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ร่วมกัน
2. ในระยะสั้น เห็นควรสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมการประชุมนานาชาติ ซึ่งได้มีการดำเนินการโดยภาคเอกชนขึ้นแล้ว เพราะจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันและสนับสนุนการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยการสนับสนุนของภาครัฐอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ เห็นควรให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดสรรเงินงบประมาณโดยเจียดจ่ายจากงบประมาณด้านการตลาดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนกองทุนฯดังกล่าว ในงบประมาณ 2543 หรือ 2544 ในอัตราส่วนที่เท่ากับการระดมทุนของภาคเอกชนคือ จำนวน 12 ล้านบาท
3. ในระยะต่อไป ควรมีการจัดตั้ง Convention Burcau ขึ้นมารับผิดชอบกิจกรรม MICE และกองทุนฯเพื่อเพิมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่เป็นเอกภาพและทันสมัย และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในการชักจูงให้มีการจัดประชุมนานาชาติเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นควรมีขนาดเล็ก โดยให้แยกตัวออกมาจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีอิสระและคล่องตัวในการทำงานภายใต้การกำหนดทางร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ รวมทั้งมีการบริหารงานโดยนักบริหารมืออาชีพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ส.ค. 2543--
-นช-