คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัยฉับพลันในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เหตุการณ์การเกิดอุทกภัยฉับพลันที่ผ่านมา ระยะที่ผ่านมาสถานการณ์การเกิดอุทกภัยฉบับพลันได้เพิ่มความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะการไหลบ่าของกระแสน้ำป่าจำนวนมากและการถล่มของดินจากพื้นที่ภูเขาสูงชันได้ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เกิดอุทกภัยอย่างมาก นับตั้งแต่เหตุการณ์ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ที่เทือกเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2542 ที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2544 และล่าสุดที่ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลหนองไขว่ อำเภอหล่มสัก และอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2544 ตามลำดับ
2. การดำเนินการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.1 หน่วยงานต่าง ๆ ได้พยายามแก้ไขปัญหาอุทกภัยฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้ทำการศึกษาโดยใช้ปัจจัย ตัวแปรและวิธีการที่แตกต่างกันในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย แต่อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์ทำให้ทราบจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในข่ายมีความเสี่ยงภัยมากกว่า 2,000 หมู่บ้าน กระจายอยู่ทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคใต้
2.2 จากการประมวลแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัยฉับพลัน พบว่าหน่วยงาน 4 แห่ง ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมการปกครอง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการศึกษาเพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยต่ออุทกภัยฉับพลันและดินถล่ม ทั้งนี้ ข้อมูลการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดินสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเมื่อรวมกับข้อมูลของอีก 3 หน่วยงานดังกล่าว จะทำให้การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยชัดเจนมากขึ้นในระดับหนึ่ง
3. แนวทางการดำเนินการต่อไป
3.1 สำนักงานพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง สศช. ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัย โดยผนวกข้อมูลของ 4 หน่วยงานตามข้อ 2.2 และข้อมูลแผนที่ทางเดินของฝนของกรมอุตุนิยมวิทยา พร้อมทั้งรวบรวมแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาทอุทกภัยฉับพลันในระยะเร่งด่วน โดยเน้นการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยฉับพลันที่อาจเกิดขึ้นในช่วง 4 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะการจัดทำระบบเตือนภัย การฝึกอบรมประชาชน และข้าราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ การบรรเทาความรุนแรงของอุทกภัย การจัดทำแผนและแนวทางปฏิบัติการกู้ภัยขณะเกิดอุทกภัย และการจัดทำแผนปฏิบัติการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและฟื้นฟูพื้นที่
3.2 หน่วยงานต่าง ๆ ทีเกี่ยวข้องได้นำเสนอ แผนงาน/โครงการเบื้องต้นในการป้องกันและแก้ไขอุทกภัยฉับพลันในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว แต่อย่างไรก็ดีแผนงานโครงการต่าง ๆ ยังขาดความสมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมและต้องมีการประสานงานทั้งด้านเทคนิคและแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติงาน การแก้ไขและฟื้นฟูที่ชัดเจนยิ่งขึ้นนอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานทีเกี่ยวข้องดำเนินการในระยะเร่งด่วนหรือช่วงฤดูฝน 4 เดือนข้างหน้า (ก.ย.-ธ.ค. 2544) ดังนี้
1) มอบหมายให้กรมการปกครอง กรมพัฒนาที่ดิน กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานนโยบายแผนและสิ่งแวดล้อม สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณารายละเอียดทางเทคนิค เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยเบื้องต้นตามข้อ 3.1 และแจ้งให้หน่วยงานในพื้นที่ทราบเพื่อจะได้กำหนดแผนปฏิบัติการเตือนภัย การกู้ภัยและการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่
2) มอบหมายให้สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรการ และแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน ในการเตือนภัยประชาชน การเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นให้ตระหนักถึงภัยที่อาจจะเกิดขึ้น และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขและป้องกันอุทกภัยฉับพลัน
3) สำหรับในพื้นที่ที่เคยอุทกภัยและเกิดขึ้นบ่อยครั้งโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช แพร่ เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน และจันทบุรี เห็นควรกำหนดให้เป็นพื้นที่เร่งด่วนที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยให้เน้นการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครให้พร้อมที่จะปฏิบัติการได้ทันที
4) โดยที่การดำเนินการตามแผนการป้องกันอุทกภัยฉับพลันในพื้นที่เสี่ยงภัย เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเห็นสมควรจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านเทคนิค ภายใต้คณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในกำกับดูแลและประสานข้อมูลด้านเทคนิคในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยให้ชัดเจน ถูกต้องตามหลักวิชาการ และกำหนดแนวทางดำเนินงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-
1. เหตุการณ์การเกิดอุทกภัยฉับพลันที่ผ่านมา ระยะที่ผ่านมาสถานการณ์การเกิดอุทกภัยฉบับพลันได้เพิ่มความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะการไหลบ่าของกระแสน้ำป่าจำนวนมากและการถล่มของดินจากพื้นที่ภูเขาสูงชันได้ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เกิดอุทกภัยอย่างมาก นับตั้งแต่เหตุการณ์ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ที่เทือกเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2542 ที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2544 และล่าสุดที่ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลหนองไขว่ อำเภอหล่มสัก และอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2544 ตามลำดับ
2. การดำเนินการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.1 หน่วยงานต่าง ๆ ได้พยายามแก้ไขปัญหาอุทกภัยฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้ทำการศึกษาโดยใช้ปัจจัย ตัวแปรและวิธีการที่แตกต่างกันในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย แต่อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์ทำให้ทราบจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในข่ายมีความเสี่ยงภัยมากกว่า 2,000 หมู่บ้าน กระจายอยู่ทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคใต้
2.2 จากการประมวลแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัยฉับพลัน พบว่าหน่วยงาน 4 แห่ง ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมการปกครอง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการศึกษาเพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยต่ออุทกภัยฉับพลันและดินถล่ม ทั้งนี้ ข้อมูลการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดินสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเมื่อรวมกับข้อมูลของอีก 3 หน่วยงานดังกล่าว จะทำให้การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยชัดเจนมากขึ้นในระดับหนึ่ง
3. แนวทางการดำเนินการต่อไป
3.1 สำนักงานพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง สศช. ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัย โดยผนวกข้อมูลของ 4 หน่วยงานตามข้อ 2.2 และข้อมูลแผนที่ทางเดินของฝนของกรมอุตุนิยมวิทยา พร้อมทั้งรวบรวมแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาทอุทกภัยฉับพลันในระยะเร่งด่วน โดยเน้นการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยฉับพลันที่อาจเกิดขึ้นในช่วง 4 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะการจัดทำระบบเตือนภัย การฝึกอบรมประชาชน และข้าราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ การบรรเทาความรุนแรงของอุทกภัย การจัดทำแผนและแนวทางปฏิบัติการกู้ภัยขณะเกิดอุทกภัย และการจัดทำแผนปฏิบัติการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและฟื้นฟูพื้นที่
3.2 หน่วยงานต่าง ๆ ทีเกี่ยวข้องได้นำเสนอ แผนงาน/โครงการเบื้องต้นในการป้องกันและแก้ไขอุทกภัยฉับพลันในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว แต่อย่างไรก็ดีแผนงานโครงการต่าง ๆ ยังขาดความสมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมและต้องมีการประสานงานทั้งด้านเทคนิคและแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติงาน การแก้ไขและฟื้นฟูที่ชัดเจนยิ่งขึ้นนอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานทีเกี่ยวข้องดำเนินการในระยะเร่งด่วนหรือช่วงฤดูฝน 4 เดือนข้างหน้า (ก.ย.-ธ.ค. 2544) ดังนี้
1) มอบหมายให้กรมการปกครอง กรมพัฒนาที่ดิน กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานนโยบายแผนและสิ่งแวดล้อม สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณารายละเอียดทางเทคนิค เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยเบื้องต้นตามข้อ 3.1 และแจ้งให้หน่วยงานในพื้นที่ทราบเพื่อจะได้กำหนดแผนปฏิบัติการเตือนภัย การกู้ภัยและการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่
2) มอบหมายให้สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรการ และแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน ในการเตือนภัยประชาชน การเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นให้ตระหนักถึงภัยที่อาจจะเกิดขึ้น และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขและป้องกันอุทกภัยฉับพลัน
3) สำหรับในพื้นที่ที่เคยอุทกภัยและเกิดขึ้นบ่อยครั้งโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช แพร่ เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน และจันทบุรี เห็นควรกำหนดให้เป็นพื้นที่เร่งด่วนที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยให้เน้นการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครให้พร้อมที่จะปฏิบัติการได้ทันที
4) โดยที่การดำเนินการตามแผนการป้องกันอุทกภัยฉับพลันในพื้นที่เสี่ยงภัย เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเห็นสมควรจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านเทคนิค ภายใต้คณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในกำกับดูแลและประสานข้อมูลด้านเทคนิคในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยให้ชัดเจน ถูกต้องตามหลักวิชาการ และกำหนดแนวทางดำเนินงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-