คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานจากผู้เชี่ยวชาญศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center) ซึ่งได้ไปสำรวจความเสียหายจากอุทกภัย ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกระแส ชนะวงศ์) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ในช่วงระยะเวลา 1 อาทิตย์ก่อนการเกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน ได้มีฝนตกมาอย่างต่อเนื่องในบริเวณลุ่มน้ำตอนบนของตำบลน้ำก้อและตำบลน้ำชุน ในทางตรงกันข้ามหมู่บ้านในบริเวณหุบเขา กลับมีฝนตกเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาดังกล่าว จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทราบว่า ได้มีการเตือนภัยที่อาจเกิดจากน้ำท่วม โดยมีการสั่งการให้เตรียมการระวังภัยในระหว่างการประชุมต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับชุมชน เพื่อให้คำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดจากน้ำท่วม และหาวิธีการป้องกัน อย่างไรก็ตามทั้งเจ้าหน้าที่และชุมชนก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้ถึงระยะเวลา และความรุนแรงที่อาจเกิดจากน้ำท่วมได้อย่างแน่ชัด
ในขณะที่ความเสียหายจากน้ำท่วมได้เกิดขึ้นมากที่สุดที่ตำบลน้ำก้อ และได้พบว่าบริเวณลำน้ำชุนที่อยู่ใกล้เคียงก็มีปริมาณน้ำและโคลน รวมถึงซากต้นไม้ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นที่ตำบลน้ำชุนนั้นกลับมีน้อยกว่ามาก ทั้งนี้คณะผู้สำรวจพบว่า โคลน และซากต้นไม้เหล่านี้ได้ถูกกักไว้โดยโครงสร้างของฝายทดน้ำ รวมทั้งสะพาน 3 แห่ง ที่อยู่ในพื้นที่ตอบบน ซึ่งหากปราศจากสิ่งก่อสร้างเหล่านี้แล้ว คาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในตำบลน้ำชุนจะรุนแรงเท่ากับในตำบลน้ำก้ออย่างแน่นอน การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำทั้งสองแห่งนี้ น่าจะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ในการวางแผนเพื่อการป้องกันภัยพิบัติในอนาคต
2. การประเมินสถานการณ์ร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงาน ควรมีการประเมินสถานการณ์ ร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงาน โดยการปฏิบัติงานร่วมระหว่างกรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรธรณี กรมพัฒนาที่ดิน กรมการปกครอง และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการประเมิน คือต้องมีผู้แทนจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ เข้าร่วมในกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้น
3. การจัดการกับซากต้นไม้ในบริเวณลำน้ำ ฝาย และบริเวณสิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรมอื่น ๆ สิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างเร่งด่วนคือ การจัดการเพื่อเคลื่อนย้ายเศษซากต้นไม้ออกจากลำน้ำ จากฝาย และจากบริเวณที่มีสิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้เนื่องจากเศษซากต้นไม้ที่หลงเหลืออยู่จะกีดขวางทางน้ำไหลเมื่อมีฝนตก และทำหน้าที่เหมือนเขื่อนธรรมชาติที่เป็นที่รวมตัวของน้ำ โคลน และเศษซากพืช ซึ่งมีพลังงานที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ตอนล่างได้
4. การเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยออกจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เหตุการณ์ในวันที่ 11 สิ่งหาคม 2544 ทำให้พบว่ามีที่อยู่อาศัยของชุมชนหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดความเสียหายจากน้ำท่วมอย่างฉับพลัน การเคลื่อนย้ายท่อยู่อาศัยออกจากพื้นที่ดังกล่าว มีปัจจัยที่ควรพิจารณา 2 ประการคือ
1) การประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ใหม่ที่จะเคลื่อนย้ายไป
2) การทำประชาพิจารณ์ร่วมกับชุมชนกลุ่มต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
5. ข้อคำนึงในการแก้ปัญหาโดยวิธีการทางด้านโครงสร้าง จากเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันในครั้งนี้ทำให้ทราบอย่างแน่ชัดว่า โครงสร้างทางวิศวกรรมบางประการ เช่น การก่อสร้างฝายกั้นน้ำในบริเวณพื้นที่ตอบบน สามารถที่จะช่วยป้องกันความเสียหายได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม โครงการเพื่อการแก้ปัญหาโดยวิธีการก่อสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรมดังกล่าวนี้ ควรดำเนินการหลังจากที่ได้มีการประเมินในทุก ๆ ด้านอย่างผสมผสาน ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ด้วย6. การรณรงค์ให้ชุมชนตื่นตัวในเรื่องของภัยพิบัติ มีความจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ให้ชุมชนมีความตื่นตัวและเล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมการและการป้องกันภัยจากน้ำท่วม การตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ที่คล้ายคลึงกับคณะกรรมการจัดการลุ่มน้ำแบบผสมผสานของกรมป่าไม้ น่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มความตื่นตัวและความร่วมมือในชุมชนให้สูงขึ้น
7. ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้สำหรับประเทศ
1) ขณะนี้ยังไม่มีการนำข้อมูลมาจัดทำแผนที่แบ่งเขตอันตรายที่แสดงระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากดินถล่ม และน้ำท่วมฉับพลัน การจัดทำแผนที่แสดงระดับอันตรายดังกล่าว ต้องการกระบวนการในระยะยาวที่จะผสมผสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
2) เจ้าหน้าที่ของสถานีอุตุนิยมวิทยาควรได้รับการผึกอบรมในการใช้ประโยชน์จากปัจจัยต่าง ๆ การเคลื่อนตัวของพายุใต้ฝุ่นในทะเลจีนใต้ในระหว่างเดือนที่มีลมมรสุม ฝนที่ตกก่อนหน้าการเกิดพายุ ลักษณะฝนในช่วงระยะทุก ๆ 5 วัน เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประกอบในการเตือนภัยที่อาจเกิดขึ้นจากฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำของจังหวัดต่าง ๆ การเตือนภัยเหล่านี้ควรที่จะผสมผสานกับการทำงานของกรมชลประทาน เพื่อการพยากรณ์ปริมาณน้ำในลำน้ำที่อาจอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายได้ ผลจากระบบการเตือนภัยนี้จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการสนับสนุนการเตรียมการป้องกันภัยพิบัติในระดับท้องถิ่นได้
3) ควรจะต้องมีการจัดตั้งกลุ่มจัดการภัยจากน้ำท่วมที่ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยกลุ่มจัดการภัยจากน้ำท่วมในระดับจังหวัดนี้ควรมีการประชุมก่อนฤดูมรสุมจะมาถึงในแต่ละปี เพื่อทำการประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมและหาวิธีการเตรียมการที่เหมาะสม กลุ่มดังกล่าวนี้ยังสามารถที่จะคิดหาวิธีการล่วงหน้าในการบรรเทาความเสียหายจากภัยน้ำท่วมในระยะยาวด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ส.ค.44--
-สส-
1. ในช่วงระยะเวลา 1 อาทิตย์ก่อนการเกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน ได้มีฝนตกมาอย่างต่อเนื่องในบริเวณลุ่มน้ำตอนบนของตำบลน้ำก้อและตำบลน้ำชุน ในทางตรงกันข้ามหมู่บ้านในบริเวณหุบเขา กลับมีฝนตกเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาดังกล่าว จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทราบว่า ได้มีการเตือนภัยที่อาจเกิดจากน้ำท่วม โดยมีการสั่งการให้เตรียมการระวังภัยในระหว่างการประชุมต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับชุมชน เพื่อให้คำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดจากน้ำท่วม และหาวิธีการป้องกัน อย่างไรก็ตามทั้งเจ้าหน้าที่และชุมชนก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้ถึงระยะเวลา และความรุนแรงที่อาจเกิดจากน้ำท่วมได้อย่างแน่ชัด
ในขณะที่ความเสียหายจากน้ำท่วมได้เกิดขึ้นมากที่สุดที่ตำบลน้ำก้อ และได้พบว่าบริเวณลำน้ำชุนที่อยู่ใกล้เคียงก็มีปริมาณน้ำและโคลน รวมถึงซากต้นไม้ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นที่ตำบลน้ำชุนนั้นกลับมีน้อยกว่ามาก ทั้งนี้คณะผู้สำรวจพบว่า โคลน และซากต้นไม้เหล่านี้ได้ถูกกักไว้โดยโครงสร้างของฝายทดน้ำ รวมทั้งสะพาน 3 แห่ง ที่อยู่ในพื้นที่ตอบบน ซึ่งหากปราศจากสิ่งก่อสร้างเหล่านี้แล้ว คาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในตำบลน้ำชุนจะรุนแรงเท่ากับในตำบลน้ำก้ออย่างแน่นอน การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำทั้งสองแห่งนี้ น่าจะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ในการวางแผนเพื่อการป้องกันภัยพิบัติในอนาคต
2. การประเมินสถานการณ์ร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงาน ควรมีการประเมินสถานการณ์ ร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงาน โดยการปฏิบัติงานร่วมระหว่างกรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรธรณี กรมพัฒนาที่ดิน กรมการปกครอง และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการประเมิน คือต้องมีผู้แทนจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ เข้าร่วมในกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้น
3. การจัดการกับซากต้นไม้ในบริเวณลำน้ำ ฝาย และบริเวณสิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรมอื่น ๆ สิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างเร่งด่วนคือ การจัดการเพื่อเคลื่อนย้ายเศษซากต้นไม้ออกจากลำน้ำ จากฝาย และจากบริเวณที่มีสิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้เนื่องจากเศษซากต้นไม้ที่หลงเหลืออยู่จะกีดขวางทางน้ำไหลเมื่อมีฝนตก และทำหน้าที่เหมือนเขื่อนธรรมชาติที่เป็นที่รวมตัวของน้ำ โคลน และเศษซากพืช ซึ่งมีพลังงานที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ตอนล่างได้
4. การเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยออกจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เหตุการณ์ในวันที่ 11 สิ่งหาคม 2544 ทำให้พบว่ามีที่อยู่อาศัยของชุมชนหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดความเสียหายจากน้ำท่วมอย่างฉับพลัน การเคลื่อนย้ายท่อยู่อาศัยออกจากพื้นที่ดังกล่าว มีปัจจัยที่ควรพิจารณา 2 ประการคือ
1) การประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ใหม่ที่จะเคลื่อนย้ายไป
2) การทำประชาพิจารณ์ร่วมกับชุมชนกลุ่มต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
5. ข้อคำนึงในการแก้ปัญหาโดยวิธีการทางด้านโครงสร้าง จากเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันในครั้งนี้ทำให้ทราบอย่างแน่ชัดว่า โครงสร้างทางวิศวกรรมบางประการ เช่น การก่อสร้างฝายกั้นน้ำในบริเวณพื้นที่ตอบบน สามารถที่จะช่วยป้องกันความเสียหายได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม โครงการเพื่อการแก้ปัญหาโดยวิธีการก่อสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรมดังกล่าวนี้ ควรดำเนินการหลังจากที่ได้มีการประเมินในทุก ๆ ด้านอย่างผสมผสาน ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ด้วย6. การรณรงค์ให้ชุมชนตื่นตัวในเรื่องของภัยพิบัติ มีความจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ให้ชุมชนมีความตื่นตัวและเล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมการและการป้องกันภัยจากน้ำท่วม การตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ที่คล้ายคลึงกับคณะกรรมการจัดการลุ่มน้ำแบบผสมผสานของกรมป่าไม้ น่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มความตื่นตัวและความร่วมมือในชุมชนให้สูงขึ้น
7. ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้สำหรับประเทศ
1) ขณะนี้ยังไม่มีการนำข้อมูลมาจัดทำแผนที่แบ่งเขตอันตรายที่แสดงระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากดินถล่ม และน้ำท่วมฉับพลัน การจัดทำแผนที่แสดงระดับอันตรายดังกล่าว ต้องการกระบวนการในระยะยาวที่จะผสมผสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
2) เจ้าหน้าที่ของสถานีอุตุนิยมวิทยาควรได้รับการผึกอบรมในการใช้ประโยชน์จากปัจจัยต่าง ๆ การเคลื่อนตัวของพายุใต้ฝุ่นในทะเลจีนใต้ในระหว่างเดือนที่มีลมมรสุม ฝนที่ตกก่อนหน้าการเกิดพายุ ลักษณะฝนในช่วงระยะทุก ๆ 5 วัน เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประกอบในการเตือนภัยที่อาจเกิดขึ้นจากฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำของจังหวัดต่าง ๆ การเตือนภัยเหล่านี้ควรที่จะผสมผสานกับการทำงานของกรมชลประทาน เพื่อการพยากรณ์ปริมาณน้ำในลำน้ำที่อาจอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายได้ ผลจากระบบการเตือนภัยนี้จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการสนับสนุนการเตรียมการป้องกันภัยพิบัติในระดับท้องถิ่นได้
3) ควรจะต้องมีการจัดตั้งกลุ่มจัดการภัยจากน้ำท่วมที่ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยกลุ่มจัดการภัยจากน้ำท่วมในระดับจังหวัดนี้ควรมีการประชุมก่อนฤดูมรสุมจะมาถึงในแต่ละปี เพื่อทำการประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมและหาวิธีการเตรียมการที่เหมาะสม กลุ่มดังกล่าวนี้ยังสามารถที่จะคิดหาวิธีการล่วงหน้าในการบรรเทาความเสียหายจากภัยน้ำท่วมในระยะยาวด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ส.ค.44--
-สส-