คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ค้างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อน ในวาระที่ 1 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป และให้กระทรวงมหาดไทยรับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 ไปพิจารณาด้วย
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "นายทะเบียน" เพื่อกำหนดให้มีนายทะเบียนเพิ่มขึ้น และเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "รัฐมนตรี"
2. กำหนดยกเว้นมิให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้แก่สัตว์พาหนะของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
3. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมและออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ได้
4. แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดระยะเวลาและประเภทของสัตว์พาหนะที่ต้องจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณและสถานที่จดทะเบียน การกำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณสัตว์พาหนะที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร และหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์สัตว์พาหนะ
5. เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้การเปลี่ยนแปลงตำหนิรูปพรรณช้าง การตัดงา หรือแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากช้าง กระทำได้เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตที่กำหนดไว้ในระเบียบ และกำหนดสิทธิการอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตของนายทะเบียนท้องที่
6. แก้ไขปรับปรุงการกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสม
7. ยกเลิกบทกำหนดโทษผู้ครอบครองสัตว์พาหนะไว้โดยไม่มีตั๋วรูปพรรณ และไม่อาจแสดงหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าตนเป็นเจ้าของ และเพิ่มบทกำหนดโทษผู้เปลี่ยนแปลงตำหนิรูปพรรณช้าง ตัดงา หรือแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากช้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
8. แก้ไขปรับปรุงการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสม
อนึ่ง คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 มีข้อสังเกตว่าคำว่า "สัตว์พาหนะ" ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมายถึง ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา แต่ปัจจุบันสัตว์เหล่านี้ถูกนำไปใช้กิจการอื่นด้วย เช่น โคกระบือ ขณะนี้จัดได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ดังนั้น กระทรวงมหาดไทยสมควรศึกษาและพิจารณาความเหมาะสมต่อไปด้วยว่า จะสมควรจัดให้สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์พาหนะตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ต่อไปหรือไม่ นอกจากนี้การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณก็เพื่อคุ้มครองกรรมสิทธิ์ของประชาชน จึงควรพิจารณาด้วยว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อให้มีวิธีการตรวจสอบที่รัดกุมและชัดเจนเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันได้หรือไม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "นายทะเบียน" เพื่อกำหนดให้มีนายทะเบียนเพิ่มขึ้น และเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "รัฐมนตรี"
2. กำหนดยกเว้นมิให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้แก่สัตว์พาหนะของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
3. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมและออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ได้
4. แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดระยะเวลาและประเภทของสัตว์พาหนะที่ต้องจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณและสถานที่จดทะเบียน การกำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณสัตว์พาหนะที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร และหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์สัตว์พาหนะ
5. เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้การเปลี่ยนแปลงตำหนิรูปพรรณช้าง การตัดงา หรือแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากช้าง กระทำได้เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตที่กำหนดไว้ในระเบียบ และกำหนดสิทธิการอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตของนายทะเบียนท้องที่
6. แก้ไขปรับปรุงการกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสม
7. ยกเลิกบทกำหนดโทษผู้ครอบครองสัตว์พาหนะไว้โดยไม่มีตั๋วรูปพรรณ และไม่อาจแสดงหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าตนเป็นเจ้าของ และเพิ่มบทกำหนดโทษผู้เปลี่ยนแปลงตำหนิรูปพรรณช้าง ตัดงา หรือแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากช้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
8. แก้ไขปรับปรุงการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสม
อนึ่ง คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 มีข้อสังเกตว่าคำว่า "สัตว์พาหนะ" ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมายถึง ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา แต่ปัจจุบันสัตว์เหล่านี้ถูกนำไปใช้กิจการอื่นด้วย เช่น โคกระบือ ขณะนี้จัดได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ดังนั้น กระทรวงมหาดไทยสมควรศึกษาและพิจารณาความเหมาะสมต่อไปด้วยว่า จะสมควรจัดให้สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์พาหนะตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ต่อไปหรือไม่ นอกจากนี้การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณก็เพื่อคุ้มครองกรรมสิทธิ์ของประชาชน จึงควรพิจารณาด้วยว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อให้มีวิธีการตรวจสอบที่รัดกุมและชัดเจนเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันได้หรือไม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-