คณะรัฐมนตรีอนุมัติการจัดตั้งองค์ประกอบคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยในคณะกรรมาธิการร่วมไทย - กาตาร์ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ 8 ของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจการพาณิชย์ และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐกาตาร์ ที่ระบุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการฯ
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า จากการที่ประเทศไทยและกาตาร์ได้ลงนามความตกลงทางเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และวิชาการ ระหว่างกันเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2542 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างการเสด็จเยือนไทยของเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ และในข้อ 8 ของความตกลงฯ ได้ระบุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย - กาตาร์ (Joint Commission) ขึ้น เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมฯ และจัดประชุมดังกล่าว และในการเยือนรัฐกาตาร์อย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 7 - 9 กรกฎาคม ศกนี้ ได้มีการพบและหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีการต่างประเทศของกาตาร์ และทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ควรจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ขึ้น โดยในครั้งแรกนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพ คาดว่าการประชุมฯ ครั้งแรกจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27 - 28 ตุลาคม 2544ที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการจัดประชุมดังกล่าว จึงได้จัดตั้งองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมไทย - กาตาร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ชื่อคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมไทย - กาตาร์
2. หลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมความสัมพันธ์ภาคีในด้านการเมืองเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว พลังงาน แรงงาน ก่อสร้าง สาธารณสุข และความร่วมมือทางวิชาการอื่น ๆ กับฝ่ายกาตาร์ เพื่อสร้างเอกภาพและความสอดคล้องของท่าทีระหว่างหน่วยงานของไทย อันจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของฝ่ายไทยในการเจรจากับฝ่ายกาตาร์ และความเป็นระบบในการเจรจาและการส่งเสริมประโยชน์ของไทย
3. อำนาจหน้าที่
3.1 กำหนดท่าทีและเป้าหมายของฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กาตาร์
3.2 จัดการประชุมและเข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมาธิการร่วมฯ
3.3 ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดท่าทีของฝ่ายไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และในการดำเนินการต่าง ๆ อันเป็นผลต่อเนื่องจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ
3.4 ติดตามผลและความคืบหน้าของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ
3.5 รายงานผลและความคืบหน้าของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 พิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการ อันเป็นผลต่อเนื่องจากการประชุมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4. องค์ประกอบ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน เป็นประธาน และอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา หรือผู้แทน เป็นกรรมาธิการและเลขานุการ และมีกรรมาธิการอีก 19 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า จากการที่ประเทศไทยและกาตาร์ได้ลงนามความตกลงทางเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และวิชาการ ระหว่างกันเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2542 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างการเสด็จเยือนไทยของเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ และในข้อ 8 ของความตกลงฯ ได้ระบุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย - กาตาร์ (Joint Commission) ขึ้น เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมฯ และจัดประชุมดังกล่าว และในการเยือนรัฐกาตาร์อย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 7 - 9 กรกฎาคม ศกนี้ ได้มีการพบและหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีการต่างประเทศของกาตาร์ และทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ควรจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ขึ้น โดยในครั้งแรกนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพ คาดว่าการประชุมฯ ครั้งแรกจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27 - 28 ตุลาคม 2544ที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการจัดประชุมดังกล่าว จึงได้จัดตั้งองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมไทย - กาตาร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ชื่อคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมไทย - กาตาร์
2. หลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมความสัมพันธ์ภาคีในด้านการเมืองเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว พลังงาน แรงงาน ก่อสร้าง สาธารณสุข และความร่วมมือทางวิชาการอื่น ๆ กับฝ่ายกาตาร์ เพื่อสร้างเอกภาพและความสอดคล้องของท่าทีระหว่างหน่วยงานของไทย อันจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของฝ่ายไทยในการเจรจากับฝ่ายกาตาร์ และความเป็นระบบในการเจรจาและการส่งเสริมประโยชน์ของไทย
3. อำนาจหน้าที่
3.1 กำหนดท่าทีและเป้าหมายของฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กาตาร์
3.2 จัดการประชุมและเข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมาธิการร่วมฯ
3.3 ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดท่าทีของฝ่ายไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และในการดำเนินการต่าง ๆ อันเป็นผลต่อเนื่องจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ
3.4 ติดตามผลและความคืบหน้าของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ
3.5 รายงานผลและความคืบหน้าของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 พิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการ อันเป็นผลต่อเนื่องจากการประชุมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4. องค์ประกอบ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน เป็นประธาน และอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา หรือผู้แทน เป็นกรรมาธิการและเลขานุการ และมีกรรมาธิการอีก 19 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-