แท็ก
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานก.พ.
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา พ.ศ…..ตามที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงานก.พ.เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้ และเห็นชอบข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ให้องค์การมหาชนทุกแห่งต้องระบุสถานะการเป็นองค์การมหาชนต่อท้ายจากชื่อขององค์การนั้น ๆ ตามความเหมาะสมด้วย
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า "สถานศึกษา" หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยโรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
2. ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นเรียกว่า "สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)" เรียกโดยย่อว่า "สมศ." มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา
3. บรรดารายได้ของสำนักงานไม่เป็นรายได้ที่ต้อง่นำส่งกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
4. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา" ประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 3 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเป็นกรรมการและเลขานุการ รวม 11 คน
5. ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีอำนาจหน้าที่สนับสนุนงานด้านวิชาการแก่คณะกรรมการ พัฒนาปรับปรุงระบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก กำกับการดำเนินการให้มีการรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และกระทำการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
6. ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่จะต้องไม่ประกอบกิจการ ซึ่งมีสภาพเป็นการแข่งขันกับสำนักงาน หรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับสำนักงาน และจะต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการรับรองมาตรฐานหรือการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่ตนเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
7. ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานมีสามประเภท คือ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวตามที่รัฐมนตรีขอ
8. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลการดำเนินกิจการของสำนักงาน และมีอำนาจสั่งให้สำนักงานชี้แจง ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของสำนักงาน ตลอดจนสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
9. ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ใช้บังคับ ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่ง เฉพาะที่เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา พ.ศ…..ตามที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงานก.พ.เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้ และเห็นชอบข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ให้องค์การมหาชนทุกแห่งต้องระบุสถานะการเป็นองค์การมหาชนต่อท้ายจากชื่อขององค์การนั้น ๆ ตามความเหมาะสมด้วย
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า "สถานศึกษา" หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยโรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
2. ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นเรียกว่า "สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)" เรียกโดยย่อว่า "สมศ." มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา
3. บรรดารายได้ของสำนักงานไม่เป็นรายได้ที่ต้อง่นำส่งกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
4. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา" ประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 3 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเป็นกรรมการและเลขานุการ รวม 11 คน
5. ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีอำนาจหน้าที่สนับสนุนงานด้านวิชาการแก่คณะกรรมการ พัฒนาปรับปรุงระบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก กำกับการดำเนินการให้มีการรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และกระทำการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
6. ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่จะต้องไม่ประกอบกิจการ ซึ่งมีสภาพเป็นการแข่งขันกับสำนักงาน หรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับสำนักงาน และจะต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการรับรองมาตรฐานหรือการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่ตนเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
7. ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานมีสามประเภท คือ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวตามที่รัฐมนตรีขอ
8. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลการดำเนินกิจการของสำนักงาน และมีอำนาจสั่งให้สำนักงานชี้แจง ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของสำนักงาน ตลอดจนสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
9. ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ใช้บังคับ ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่ง เฉพาะที่เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-