ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรที่คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรได้พิจารณาอนุมัติแล้ว 3 โครงการ คือ โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดเล็ก วงเงินรวม 500 ล้านบาท โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อพัฒนาแหล่งผลิตของชุมชน วงเงิน 2,500 ล้านบาท และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ ปฏิบัติการฝนหลวง วงเงิน 300 ล้านบาท
โครงการต่าง ๆ มีรายละเอียด ดังนี้
1. โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดเล็ก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเขตการผลิตสินค้าเกษตร (Production Unit) ที่มีศักยภาพ จึงได้จัดทำโครงการนำร่องที่จะทำการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำต่ำ นำมากำหนดเป็นเขตผลิตสินค้าเกษตร โดยมีระบบการพัฒนาสอดคล้องกับกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) จำนวน 50 แห่ง โดยให้องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการ และจัดตั้งเครือข่ายการจัดสรรน้ำในพื้นที่ โดยให้เกษตรกรมอบที่ดินร่วมในโครงการ ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารการใช้น้ำและบำรุงรักษาแหล่งน้ำขนาดเล็ก พ.ศ. 2525 ด้วย
สำหรับโครงการนำร่องที่เสนอขอใช้เงินกู้ มีจำนวน 35 แห่ง ส่วนที่เหลือ 15 แห่ง จะใช้งบประมาณปกติดำเนินการ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นโครงการที่มีหลักการ เหตุผล วัตถุประสงค์ และแนวทางการดำเนินงานที่จะพัฒนาให้เกิดเป็นเขตผลิตสินค้าเกษตร จึงเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้ฯ
2. โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อพัฒนาแหล่งผลิตสินค้าของชุมชน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเขตผลิตสินค้าเกษตร (Production Unit) นอกเขตชลประทาน โดยการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนใช้ในการเกษตร แต่ขาดการดูแลรักษา ทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติมีสภาพตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จึงจำเป็นต้องขุดลอกเพื่อเพิ่มความจุกักเก็บน้ำ และพัฒนาระบบการส่งน้ำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง จึงได้จัดทำโครงการนำร่องพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 130 แห่ง โดยให้องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการและการดูแลบำรุงรักษา แต่เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ในพื้นที่สาธารณะของชุมชน จึงต้องปฏิบัติตามระเบียบและกฎเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งการส่งมอบพื้นที่โครงการให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการ โดยให้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรการใช้พื้นที่โครงการให้เกิดความเป็นธรรมและไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นโครงการที่มีหลักการ เหตุผล วัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานที่จะพัฒนาให้เกิดเป็นเขตผลิตสินค้าเกษตร จึงเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้ฯ
3. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติฝนหลวง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันภัยแล้ง ตลอดจนการจัดเตรียมแผนระดับชาติในการพัฒนาทรัพยากรน้ำโดยเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้ง จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อปฏิบัติภารกิจในการเติมน้ำในเขื่อนในลุ่มน้ำที่มีความสำคัญให้เพียงพอใช้ในช่วงฤดูแล้ง การสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่เกษตรที่ประสบภาวะฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน ตลอดจนการดำเนินงานช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยดำเนินงานสอดคล้องกับกรอบนโยบายเพื่อการพัฒนา (Development Policy Letter) ที่จะวางแผนการจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสานเพื่อแก้ไขวิกฤตการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ
สำหรับการดำเนินงานในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติการฝนหลวง เป็นการซ่อมเครื่องบินให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและสามารถตั้งฐานปฏิบัติการได้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจวัดอากาศและกลุ่มเมฆฝน เพื่อปฎิบัติการฝนหลวงได้ถูกต้องและแม่นยำเพิ่มขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรที่คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรได้พิจารณาอนุมัติแล้ว 3 โครงการ คือ โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดเล็ก วงเงินรวม 500 ล้านบาท โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อพัฒนาแหล่งผลิตของชุมชน วงเงิน 2,500 ล้านบาท และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ ปฏิบัติการฝนหลวง วงเงิน 300 ล้านบาท
โครงการต่าง ๆ มีรายละเอียด ดังนี้
1. โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดเล็ก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเขตการผลิตสินค้าเกษตร (Production Unit) ที่มีศักยภาพ จึงได้จัดทำโครงการนำร่องที่จะทำการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำต่ำ นำมากำหนดเป็นเขตผลิตสินค้าเกษตร โดยมีระบบการพัฒนาสอดคล้องกับกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) จำนวน 50 แห่ง โดยให้องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการ และจัดตั้งเครือข่ายการจัดสรรน้ำในพื้นที่ โดยให้เกษตรกรมอบที่ดินร่วมในโครงการ ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารการใช้น้ำและบำรุงรักษาแหล่งน้ำขนาดเล็ก พ.ศ. 2525 ด้วย
สำหรับโครงการนำร่องที่เสนอขอใช้เงินกู้ มีจำนวน 35 แห่ง ส่วนที่เหลือ 15 แห่ง จะใช้งบประมาณปกติดำเนินการ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นโครงการที่มีหลักการ เหตุผล วัตถุประสงค์ และแนวทางการดำเนินงานที่จะพัฒนาให้เกิดเป็นเขตผลิตสินค้าเกษตร จึงเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้ฯ
2. โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อพัฒนาแหล่งผลิตสินค้าของชุมชน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเขตผลิตสินค้าเกษตร (Production Unit) นอกเขตชลประทาน โดยการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนใช้ในการเกษตร แต่ขาดการดูแลรักษา ทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติมีสภาพตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จึงจำเป็นต้องขุดลอกเพื่อเพิ่มความจุกักเก็บน้ำ และพัฒนาระบบการส่งน้ำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง จึงได้จัดทำโครงการนำร่องพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 130 แห่ง โดยให้องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการและการดูแลบำรุงรักษา แต่เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ในพื้นที่สาธารณะของชุมชน จึงต้องปฏิบัติตามระเบียบและกฎเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งการส่งมอบพื้นที่โครงการให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการ โดยให้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรการใช้พื้นที่โครงการให้เกิดความเป็นธรรมและไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นโครงการที่มีหลักการ เหตุผล วัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานที่จะพัฒนาให้เกิดเป็นเขตผลิตสินค้าเกษตร จึงเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้ฯ
3. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติฝนหลวง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันภัยแล้ง ตลอดจนการจัดเตรียมแผนระดับชาติในการพัฒนาทรัพยากรน้ำโดยเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้ง จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อปฏิบัติภารกิจในการเติมน้ำในเขื่อนในลุ่มน้ำที่มีความสำคัญให้เพียงพอใช้ในช่วงฤดูแล้ง การสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่เกษตรที่ประสบภาวะฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน ตลอดจนการดำเนินงานช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยดำเนินงานสอดคล้องกับกรอบนโยบายเพื่อการพัฒนา (Development Policy Letter) ที่จะวางแผนการจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสานเพื่อแก้ไขวิกฤตการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ
สำหรับการดำเนินงานในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติการฝนหลวง เป็นการซ่อมเครื่องบินให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและสามารถตั้งฐานปฏิบัติการได้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจวัดอากาศและกลุ่มเมฆฝน เพื่อปฎิบัติการฝนหลวงได้ถูกต้องและแม่นยำเพิ่มขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ต.ค. 2543--
-สส-