ทำเนียบรัฐบาล--7 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา พ.ศ. …. ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการขอจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา เป็นองค์การมหาชน ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้จัดตั้ง "สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา" เป็นองค์การมหาชน โดยให้ตั้งอยูที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัย และฝึกอบรมด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาให้แก่บุคลากรของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย
2. ให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
3. กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสถาบัน
4. กำหนดให้ทุนและทรัพย์สินของสถาบันประกอบด้วยเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมและเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ และรายได้ของสถาบันไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
5. กำหนดให้มี "คณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา" ประกอบด้วยประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลและดำเนินกิจการของสถาบัน
6. กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานของสถาบันมี 3 ประเภท คือ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
7. กำหนดให้มีการประเมินผลตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
8. กำหนดบทเฉพาะกาลในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้คณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศประกอบด้วย อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจ อธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ และผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา พ.ศ. …. ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการขอจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา เป็นองค์การมหาชน ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้จัดตั้ง "สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา" เป็นองค์การมหาชน โดยให้ตั้งอยูที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัย และฝึกอบรมด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาให้แก่บุคลากรของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย
2. ให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
3. กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสถาบัน
4. กำหนดให้ทุนและทรัพย์สินของสถาบันประกอบด้วยเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมและเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ และรายได้ของสถาบันไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
5. กำหนดให้มี "คณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา" ประกอบด้วยประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลและดำเนินกิจการของสถาบัน
6. กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานของสถาบันมี 3 ประเภท คือ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
7. กำหนดให้มีการประเมินผลตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
8. กำหนดบทเฉพาะกาลในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้คณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศประกอบด้วย อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจ อธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ และผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-