คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานราชการ
ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานราชการที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญคือให้มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง ตลอดจนให้มีเงินเพิ่มพิเศษและเงินรางวัลประจำปีแก่ข้าราชการ โดยให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการทุกประเภทในสังกัดฝ่ายบริหาร และให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามหลักการตามข้อเสนอดังกล่าว
สำนักงานอัยการสูงสุดขอเรียนว่า ถึงแม้ข้าราชการอัยการจะเป็นข้าราชการในสังกัดฝ่ายบริหาร แต่การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการนั้น เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติว่า
"การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อนในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งและผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.อ. กำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนดให้ออกเป็นกฎกระทรวง"
ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการ กฎหมายบัญญัติให้เลื่อนเป็นปี ปกติปีละหนึ่งขั้น กับทั้งยังไม่มีบทบัญญัติที่ว่าด้วยเงินเพิ่มพิเศษและเงินรางวัลประจำปี ดังนั้นหากจะปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์แห่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ก็จำเป็นจะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 เสียก่อน ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 เห็นชอบในหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในแนวทางเดียวกันกับระบบเงินเดือนข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม กล่าวคือข้าราชการอัยการขั้น 5 ถึงขั้น 8 จะได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตายตัวโดยไม่มีขั้นวิ่ง ส่วนข้าราชการอัยการขั้น 1 ถึงขั้น 4 แม้จะมีขั้นวิ่ง แต่การเลื่อนขั้นจะเป็นไปตามระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ โดยไม่มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี ดังนั้นหากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ก็ไม่จำต้องมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามแบบเดิมอีกต่อไปทั้งนี้เป็นไปตามแนวทางเดียวกันกับระบบเงินเดือนข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งมติคณะรัฐมนตรีนี้ก็มิได้ครอบคลุมถึงเช่นกัน
ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่ามติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้ไม่ควรใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่ระบบเงินเดือนของข้าราชการอัยการตามร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 ก.ค.44--
-สส-
ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานราชการที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญคือให้มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง ตลอดจนให้มีเงินเพิ่มพิเศษและเงินรางวัลประจำปีแก่ข้าราชการ โดยให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการทุกประเภทในสังกัดฝ่ายบริหาร และให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามหลักการตามข้อเสนอดังกล่าว
สำนักงานอัยการสูงสุดขอเรียนว่า ถึงแม้ข้าราชการอัยการจะเป็นข้าราชการในสังกัดฝ่ายบริหาร แต่การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการนั้น เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติว่า
"การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อนในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งและผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.อ. กำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนดให้ออกเป็นกฎกระทรวง"
ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการ กฎหมายบัญญัติให้เลื่อนเป็นปี ปกติปีละหนึ่งขั้น กับทั้งยังไม่มีบทบัญญัติที่ว่าด้วยเงินเพิ่มพิเศษและเงินรางวัลประจำปี ดังนั้นหากจะปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์แห่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ก็จำเป็นจะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 เสียก่อน ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 เห็นชอบในหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในแนวทางเดียวกันกับระบบเงินเดือนข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม กล่าวคือข้าราชการอัยการขั้น 5 ถึงขั้น 8 จะได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตายตัวโดยไม่มีขั้นวิ่ง ส่วนข้าราชการอัยการขั้น 1 ถึงขั้น 4 แม้จะมีขั้นวิ่ง แต่การเลื่อนขั้นจะเป็นไปตามระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ โดยไม่มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี ดังนั้นหากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ก็ไม่จำต้องมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามแบบเดิมอีกต่อไปทั้งนี้เป็นไปตามแนวทางเดียวกันกับระบบเงินเดือนข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งมติคณะรัฐมนตรีนี้ก็มิได้ครอบคลุมถึงเช่นกัน
ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่ามติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้ไม่ควรใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่ระบบเงินเดือนของข้าราชการอัยการตามร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 ก.ค.44--
-สส-