ทำเนียบรัฐบาล--25 ม.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบผลการประชุมธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย (ADB) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ระหว่างวันที่ 11 - 13 มกราคม 2543 ณ ธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาแผนงาน GMS ในต้นสหัสวรรษ 2000 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการตามผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.1 แนวทางการพัฒนาในภาพรวมระยะต้นสหัสวรรษ 2000 : ที่ประชุมได้มีมติกำหนดทิศทางการพัฒนาโดยเน้นการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors) อย่างต่อเนื่องควบคู่กับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการบรรเทาความยากจนของประชาชนในพื้นที่ โดย
1) เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก - ตะวันตก เชื่อมโยงไทย - ลาว - เวียตนาม
2) เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวเหนือ - ใต้ เชื่อมโยงไทย - พม่า/สปป.ลาว - จีนต้อนใต้ (ยูนนาน) ให้เป็นรูปธรรมอีกแนวหนึ่ง
3) ทบทวนกลยุทธการพัฒนา GMS ระยะปานกลาง
4) ทบทวนกลไกการประสานงานของ GMS ทั้งระดับประเทศและระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพในการประสานแผนงาน
1.2 แนวทางดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการรายสาขา
1) สาขาคมนาคมขนส่ง โดยเร่งรัดพัฒนาโครงข่ายคมนาคมหลักในพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางบกได้พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงตามแนวตะวันออก - ตะวันตก ระหว่างพม่า - ไทย - สปป.ลาว - เวียตนามให้แล้วเสร็จตลอดเส้นทางภายในปี 2547 และพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงตามแนวเหนือ - ใต้ 3 เส้นทาง ส่วนทางน้ำจะเร่งพัฒนาเส้นทางเดินเรือในแม่น้ำโขงเพื่อรองรับความตกลงเดินเรือพาณิชย์ในลำน้ำโขง 4 ฝ่าย (ไทย - ลาว - พม่า - จีน) ที่จะลงนามในต้นปี 2543 ที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า
2) สาขาสื่อสารโทรคมนาคม โดยเร่งรัดการก่อสร้างโครงข่ายวงรอบด้านตะวันออก (East Loop) ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการบางส่วนอยู่แล้ว และสนับสนุนบทบาทของ ADB ในการช่วยปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อบังคับด้านโทรคมนาคมใน GMS ให้เอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
3) สาขาพลังงาน
- ที่ประชุมให้ความเห็นชอบ Policy Statement ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานทั้งการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Power Pool และการสร้างเครือข่ายสายส่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ
- พัฒนาระบบสายส่งโครงการจิงหงเป็นสายส่งหลัก (Major Transmission Line) ของอนุภูมิภาค - พัฒนาพลังงานให้เพียงพอเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตในพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก - ตะวันตก(East - West Economic Corridor)
4) การท่องเที่ยว
- ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคโดยสนับสนุนภาคเอกชนเปิดธุรกิจท่องเที่ยว เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีระหว่างกันทั้ง ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ในรูป PackageTour พร้อมขายนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกกลุ่ม GMS และพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้าที่ระลึกควบคู่ไปด้วย
- การปรับปรุงและอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว
- การเสริมสร้างบทบาทและขีดความสามารถของศูนย์ประสานงานด้านการท่องเที่ยวของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (AMTA) ให้เป็นกลไกการประสานงานหลักของอนุภูมิภาค
- การปรับรูปแบบการดำเนินงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว จากระดับโครงการเป็นระดับแผนงานรวม
5) สาขาสิ่งแวดล้อม
- ที่ประชุมเห็นชอบให้เน้นความร่วมมือกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา Transborderenvironmental issues รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่าและการค้าของป่าและสัตว์ผิดกฎหมาย
- สนับสนุนการดำเนินงานตามกรอบกลยุทธ์สิ่งแวดล้อม โดยเน้นการประสานเข้ากับกระบวนการวางแผน
- สนับสนุนให้ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์กลางทางวิชาการ
6) สาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- จัดตั้งเครือข่ายการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของ GMS เพื่อระดมแหล่งเงินทุนและเงินช่วยเหลือจากประเทศที่สามสำหรับการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาความร่วมมือด้านสังคม และสนับสนุนแผนงาน/โครงการศึกษาที่ได้รับความช่วยเหลือจาก ADB
นอกจากนี้ ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในการพัฒนาความร่วมมือด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะด้านกาารป้องกันและแก้ปัญหาโรคระบาดบริเวณชายแดน
- ส่งเสริมการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน
7) สาขาการลงทุน
- การปรับโครงสร้างการผลิต การลงทุน การตลาดให้เชื่อมโยงและสอดคล้องระหว่างกันในกลุ่มประเทศ GMS
- ลดข้อจำกัดและปรับปรุงกฎระเบียบ (Non - tariff Barriers) ที่เกื้อหนุนต่อการลงทุน ให้มีความคล่องตัวเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน
- พัฒนารูปแบบ GMS Business Forum ให้เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นเครือข่ายของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
- จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก - ตะวันตก (East - West Economic Corridor)
- ปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อมูลการลงทุน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและพิธีสารศุลกากรในพื้นที่เศรษฐกิจ
8) สาขาการอำนวยความสะดวกทางการค้า
- ที่ประชุมให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า การลงทุน และศุลกากรในกลุ่ม GMS
- ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอของผลการประชุมเจ้าหน้าที่ศุลกากร 6 ประเทศ เกี่ยวกับแนวทางลดข้อจำกัดและปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคทางการค้า และการผ่านแดนให้มีความคล่องตัวเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน และมีความสอดคล้องกันในขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ One Stop Service ในระยะต่อไป
- จัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารการลงทุน และพิธีการศุลกากรระหว่างกัน
- ขยายความตกลงทางการค้าในลักษณะทวิภาคีที่มีอยู่แล้วให้เป็นความตกลงในระดับอนุภูมิภาค
- เร่งรัดให้มีความร่วมมือด้านสินค้าเกษตร เพื่อพัฒนาคุณภาพ เพิ่มผลผลิต และขยายการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกันให้มากขึ้น
- พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร กลไกยุติข้อพิพาททางการค้า และระบบการชำระเงินระหว่างกัน เพื่อรองรับกิจกรรมการค้าในพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก - ตะวันตกที่จะเพิ่มมากขึ้น
1.3 แนวทางดำเนินการต่อไป (เฉพาะในส่วนของฝ่ายไทย)
1) ไทยร่วมกับผู้แทนประเทศที่เกี่ยวข้องในการเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้
- การจัดทำพิธีสารแนบท้ายและภาคผนวก (Protocols and Annexes) ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ระหว่างไทย - ลาว - เวียตนาม เพื่อให้มีผลปฏิบัติในปี 2544 และขยายผลต่อไปถึงพม่า
หน่วยดำเนินการ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- เร่งรัดการลงนามความตกลงเดินเรือพาณิชย์ในลำน้ำโขง 4 ฝ่าย ไทย - ลาว - พม่า - จีน ภายในต้นปี 2543และจัดทำ Common Navigation Rules พร้อมทั้งขอความช่วยเหลือจาก ADB ในการศึกษาความเหมาะสมด้านการติดตั้งเครื่องช่วยเดินเรือ การปรับปรุงร่องน้ำ และพัฒนาท่าเรือพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกตามลำน้ำโขง โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและพม่า
หน่วยดำเนินการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
- เร่งรัดแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การก่อสร้างถนนเชื่อมโยงแนวหนือ - ใต้ : เส้นทางเชียงของ - หลวงน้ำทา - บ่อเต้น โดยร่วมมือกับจีน ลาว และ ADB ในการแก้ปัญหาสัมปทานระหว่างรัฐบาลลาวกับภาคเอกชน ตามแนวทางข้อ 1.2 1)
หน่วยดำเนินการ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2) การเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาระยะยาว
- พัฒนาเมืองชายแดนและเมืองสนับสนุนให้เป็นประตูส่งออกและฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องการพัฒนาเมืองชายแดน ได้จัดทำแผนแม่บทเสร็จแล้ว และได้แปรแผนสู่ปฏิบัติพร้อมทั้งได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี และเงินจากกองทุนกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคเพื่อดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2541 - 2543 นอกจากนี้ ADB ได้ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดสรรเงินกู้สนับสนุนองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานปฏิบัติเพื่อพัฒนาเมืองชายแดนและด่านชายแดนต่าง ๆ ต่อไป
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม สศช. กองทุนกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
- การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก - ตะวันตก (East - West Economic Corridor) เพื่อรองรับการลงทุนของภาคเอกชน ด้านอุตสาหกรรม การค้าและบริการ และการท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับประเทศพม่า สปป.ลาว และเวียตนาม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สศช. ได้ขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และรัฐบาลญี่ปุ่น (JICA) เพื่อจัดทำแผนแม่บทและแผนการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจตามแนวตะวันออก - ตะวันตก รวม 3 โครงการ คือ
โครงการ The Study on the Integrated Regional Development Plan for the Northeastern BorderRegion in the Kingdom of Thailand ความช่วยเหลือจาก JICA วงเงินประมาณ 40 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 18 เดือน (มีนาคม 2543 - สิงหาคม 2544) ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร สกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์ พร้อมนี้ลาวก็ได้รับความช่วยเหลือจาก JICA เพื่อจัดทำแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่แขวงคำม่วน และแขวงสะหวันนะเขต ควบคู่กัน
โครงการ Greater Mekong Subregion Preinvestment Study for the East - West Economic Corridor ความช่วยเหลือจาก ADB วงเงินประมาณ 14 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน (ธันวาคม 2542 - มิถุนายน 2543) ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง - แขวงสะหวันนะเขตของลาว - และภาคกลางของเวียตนาม
โครงการ North and Northeast Region Area Development ความช่วยเหลือจาก ADB วงเงินประมาณ36 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 12 เดือน (สิงหาคม 2543 - กรกฎาคม 2544) ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจจากขอนแก่น - ตาก
ทั้งนี้ สศช. จำเป็นต้องจัดเตรียมงบบริหารโครงการสำหรับสนับสนุนการศึกษา โดยได้เคยประสานงานกับสำนัก-งบประมาณเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณ ปี 2543 แต่เนื่องจากระยะที่ผ่านมากำหนดการเริ่มศึกษายังไม่ชัดเจน จึงไม่ได้รับจัดสรร สำหรับขณะนี้กำหนดการเริ่มศึกษามีความชัดเจนแล้ว จึงจำเป็นต้องขอสนับสนุนงบประมาณ ดังนี้
งบประมาณ ปี 2543 (งบประมาณกลางปี 2543) จำนวน 3,818,600 บาท
งบประมาณ ปี 2544 (งบประมาณปกติปี 2544) จำนวน 5,366,840 บาท 2. ให้ความเห็นชอบวงเงินงบประมาณ เพื่อเป็นงบบริหารโครงการศึกษาตามข้อ 2 โดยใช้งบกลางปี 2543 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน จำนวน 3,818,600 บาท และงบประมาณปกติ ปี 2544 ในวงเงิน 5,366,840 บาท โดยให้ สศช. ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 มกราคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบผลการประชุมธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย (ADB) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ระหว่างวันที่ 11 - 13 มกราคม 2543 ณ ธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาแผนงาน GMS ในต้นสหัสวรรษ 2000 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการตามผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.1 แนวทางการพัฒนาในภาพรวมระยะต้นสหัสวรรษ 2000 : ที่ประชุมได้มีมติกำหนดทิศทางการพัฒนาโดยเน้นการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors) อย่างต่อเนื่องควบคู่กับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการบรรเทาความยากจนของประชาชนในพื้นที่ โดย
1) เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก - ตะวันตก เชื่อมโยงไทย - ลาว - เวียตนาม
2) เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวเหนือ - ใต้ เชื่อมโยงไทย - พม่า/สปป.ลาว - จีนต้อนใต้ (ยูนนาน) ให้เป็นรูปธรรมอีกแนวหนึ่ง
3) ทบทวนกลยุทธการพัฒนา GMS ระยะปานกลาง
4) ทบทวนกลไกการประสานงานของ GMS ทั้งระดับประเทศและระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพในการประสานแผนงาน
1.2 แนวทางดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการรายสาขา
1) สาขาคมนาคมขนส่ง โดยเร่งรัดพัฒนาโครงข่ายคมนาคมหลักในพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางบกได้พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงตามแนวตะวันออก - ตะวันตก ระหว่างพม่า - ไทย - สปป.ลาว - เวียตนามให้แล้วเสร็จตลอดเส้นทางภายในปี 2547 และพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงตามแนวเหนือ - ใต้ 3 เส้นทาง ส่วนทางน้ำจะเร่งพัฒนาเส้นทางเดินเรือในแม่น้ำโขงเพื่อรองรับความตกลงเดินเรือพาณิชย์ในลำน้ำโขง 4 ฝ่าย (ไทย - ลาว - พม่า - จีน) ที่จะลงนามในต้นปี 2543 ที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า
2) สาขาสื่อสารโทรคมนาคม โดยเร่งรัดการก่อสร้างโครงข่ายวงรอบด้านตะวันออก (East Loop) ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการบางส่วนอยู่แล้ว และสนับสนุนบทบาทของ ADB ในการช่วยปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อบังคับด้านโทรคมนาคมใน GMS ให้เอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
3) สาขาพลังงาน
- ที่ประชุมให้ความเห็นชอบ Policy Statement ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานทั้งการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Power Pool และการสร้างเครือข่ายสายส่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ
- พัฒนาระบบสายส่งโครงการจิงหงเป็นสายส่งหลัก (Major Transmission Line) ของอนุภูมิภาค - พัฒนาพลังงานให้เพียงพอเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตในพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก - ตะวันตก(East - West Economic Corridor)
4) การท่องเที่ยว
- ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคโดยสนับสนุนภาคเอกชนเปิดธุรกิจท่องเที่ยว เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีระหว่างกันทั้ง ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ในรูป PackageTour พร้อมขายนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกกลุ่ม GMS และพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้าที่ระลึกควบคู่ไปด้วย
- การปรับปรุงและอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว
- การเสริมสร้างบทบาทและขีดความสามารถของศูนย์ประสานงานด้านการท่องเที่ยวของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (AMTA) ให้เป็นกลไกการประสานงานหลักของอนุภูมิภาค
- การปรับรูปแบบการดำเนินงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว จากระดับโครงการเป็นระดับแผนงานรวม
5) สาขาสิ่งแวดล้อม
- ที่ประชุมเห็นชอบให้เน้นความร่วมมือกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา Transborderenvironmental issues รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่าและการค้าของป่าและสัตว์ผิดกฎหมาย
- สนับสนุนการดำเนินงานตามกรอบกลยุทธ์สิ่งแวดล้อม โดยเน้นการประสานเข้ากับกระบวนการวางแผน
- สนับสนุนให้ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์กลางทางวิชาการ
6) สาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- จัดตั้งเครือข่ายการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของ GMS เพื่อระดมแหล่งเงินทุนและเงินช่วยเหลือจากประเทศที่สามสำหรับการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาความร่วมมือด้านสังคม และสนับสนุนแผนงาน/โครงการศึกษาที่ได้รับความช่วยเหลือจาก ADB
นอกจากนี้ ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในการพัฒนาความร่วมมือด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะด้านกาารป้องกันและแก้ปัญหาโรคระบาดบริเวณชายแดน
- ส่งเสริมการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน
7) สาขาการลงทุน
- การปรับโครงสร้างการผลิต การลงทุน การตลาดให้เชื่อมโยงและสอดคล้องระหว่างกันในกลุ่มประเทศ GMS
- ลดข้อจำกัดและปรับปรุงกฎระเบียบ (Non - tariff Barriers) ที่เกื้อหนุนต่อการลงทุน ให้มีความคล่องตัวเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน
- พัฒนารูปแบบ GMS Business Forum ให้เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นเครือข่ายของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
- จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก - ตะวันตก (East - West Economic Corridor)
- ปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อมูลการลงทุน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและพิธีสารศุลกากรในพื้นที่เศรษฐกิจ
8) สาขาการอำนวยความสะดวกทางการค้า
- ที่ประชุมให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า การลงทุน และศุลกากรในกลุ่ม GMS
- ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอของผลการประชุมเจ้าหน้าที่ศุลกากร 6 ประเทศ เกี่ยวกับแนวทางลดข้อจำกัดและปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคทางการค้า และการผ่านแดนให้มีความคล่องตัวเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน และมีความสอดคล้องกันในขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ One Stop Service ในระยะต่อไป
- จัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารการลงทุน และพิธีการศุลกากรระหว่างกัน
- ขยายความตกลงทางการค้าในลักษณะทวิภาคีที่มีอยู่แล้วให้เป็นความตกลงในระดับอนุภูมิภาค
- เร่งรัดให้มีความร่วมมือด้านสินค้าเกษตร เพื่อพัฒนาคุณภาพ เพิ่มผลผลิต และขยายการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกันให้มากขึ้น
- พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร กลไกยุติข้อพิพาททางการค้า และระบบการชำระเงินระหว่างกัน เพื่อรองรับกิจกรรมการค้าในพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก - ตะวันตกที่จะเพิ่มมากขึ้น
1.3 แนวทางดำเนินการต่อไป (เฉพาะในส่วนของฝ่ายไทย)
1) ไทยร่วมกับผู้แทนประเทศที่เกี่ยวข้องในการเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้
- การจัดทำพิธีสารแนบท้ายและภาคผนวก (Protocols and Annexes) ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ระหว่างไทย - ลาว - เวียตนาม เพื่อให้มีผลปฏิบัติในปี 2544 และขยายผลต่อไปถึงพม่า
หน่วยดำเนินการ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- เร่งรัดการลงนามความตกลงเดินเรือพาณิชย์ในลำน้ำโขง 4 ฝ่าย ไทย - ลาว - พม่า - จีน ภายในต้นปี 2543และจัดทำ Common Navigation Rules พร้อมทั้งขอความช่วยเหลือจาก ADB ในการศึกษาความเหมาะสมด้านการติดตั้งเครื่องช่วยเดินเรือ การปรับปรุงร่องน้ำ และพัฒนาท่าเรือพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกตามลำน้ำโขง โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและพม่า
หน่วยดำเนินการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
- เร่งรัดแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การก่อสร้างถนนเชื่อมโยงแนวหนือ - ใต้ : เส้นทางเชียงของ - หลวงน้ำทา - บ่อเต้น โดยร่วมมือกับจีน ลาว และ ADB ในการแก้ปัญหาสัมปทานระหว่างรัฐบาลลาวกับภาคเอกชน ตามแนวทางข้อ 1.2 1)
หน่วยดำเนินการ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2) การเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาระยะยาว
- พัฒนาเมืองชายแดนและเมืองสนับสนุนให้เป็นประตูส่งออกและฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องการพัฒนาเมืองชายแดน ได้จัดทำแผนแม่บทเสร็จแล้ว และได้แปรแผนสู่ปฏิบัติพร้อมทั้งได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี และเงินจากกองทุนกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคเพื่อดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2541 - 2543 นอกจากนี้ ADB ได้ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดสรรเงินกู้สนับสนุนองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานปฏิบัติเพื่อพัฒนาเมืองชายแดนและด่านชายแดนต่าง ๆ ต่อไป
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม สศช. กองทุนกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
- การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก - ตะวันตก (East - West Economic Corridor) เพื่อรองรับการลงทุนของภาคเอกชน ด้านอุตสาหกรรม การค้าและบริการ และการท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับประเทศพม่า สปป.ลาว และเวียตนาม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สศช. ได้ขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และรัฐบาลญี่ปุ่น (JICA) เพื่อจัดทำแผนแม่บทและแผนการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจตามแนวตะวันออก - ตะวันตก รวม 3 โครงการ คือ
โครงการ The Study on the Integrated Regional Development Plan for the Northeastern BorderRegion in the Kingdom of Thailand ความช่วยเหลือจาก JICA วงเงินประมาณ 40 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 18 เดือน (มีนาคม 2543 - สิงหาคม 2544) ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร สกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์ พร้อมนี้ลาวก็ได้รับความช่วยเหลือจาก JICA เพื่อจัดทำแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่แขวงคำม่วน และแขวงสะหวันนะเขต ควบคู่กัน
โครงการ Greater Mekong Subregion Preinvestment Study for the East - West Economic Corridor ความช่วยเหลือจาก ADB วงเงินประมาณ 14 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน (ธันวาคม 2542 - มิถุนายน 2543) ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง - แขวงสะหวันนะเขตของลาว - และภาคกลางของเวียตนาม
โครงการ North and Northeast Region Area Development ความช่วยเหลือจาก ADB วงเงินประมาณ36 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 12 เดือน (สิงหาคม 2543 - กรกฎาคม 2544) ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจจากขอนแก่น - ตาก
ทั้งนี้ สศช. จำเป็นต้องจัดเตรียมงบบริหารโครงการสำหรับสนับสนุนการศึกษา โดยได้เคยประสานงานกับสำนัก-งบประมาณเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณ ปี 2543 แต่เนื่องจากระยะที่ผ่านมากำหนดการเริ่มศึกษายังไม่ชัดเจน จึงไม่ได้รับจัดสรร สำหรับขณะนี้กำหนดการเริ่มศึกษามีความชัดเจนแล้ว จึงจำเป็นต้องขอสนับสนุนงบประมาณ ดังนี้
งบประมาณ ปี 2543 (งบประมาณกลางปี 2543) จำนวน 3,818,600 บาท
งบประมาณ ปี 2544 (งบประมาณปกติปี 2544) จำนวน 5,366,840 บาท 2. ให้ความเห็นชอบวงเงินงบประมาณ เพื่อเป็นงบบริหารโครงการศึกษาตามข้อ 2 โดยใช้งบกลางปี 2543 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน จำนวน 3,818,600 บาท และงบประมาณปกติ ปี 2544 ในวงเงิน 5,366,840 บาท โดยให้ สศช. ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 มกราคม 2543--