ทำเนียบรัฐบาล--19 ธ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เรื่องการปรับปรุงแนวทางการช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยธรรมชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 ซึ่งมีหลายประเด็นที่ต้องดำเนินการต่อหลายประเด็นต้องรอผลการพิจารณาปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการในการให้ความช่วยเหลือโดยจ่ายเป็นเงินสด (การช่วยเหลือหลังระยะวิกฤตจากเงินงบกลาง) เนื่องจากที่ประชุมเห็นว่าขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังในรายละเอียดต่อไป
2. อนุมัติเพื่อก่อหนี้ผูกพันก่อนได้รับเงินประจำงวด ตามนัยมาตรา 23 (วรรคสี่) ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในการช่วยเหลือพืชอายุสั้น ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการแล้ว เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ได้จัดประชุมร่วมกับกระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และหน่วยงานในสังกัด เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดประชุมเองอีกหลายครั้ง ผลการพิจารณาสรุปได้ดังนี้
1. การช่วยเหลือในช่วงระยะวิกฤตการเกิดภัย (การช่วยเหลือจากเงินทดรองราชการ) เนื่องจากการปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเป็นอำนาจของกระทรวงการคลัง ที่ประชุมจึงมีมติ ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การประกาศระยะวิกฤตการเกิดภัย เห็นสมควรให้ประกาศโดยคณะกรรมการป้องกันภัยระดับจังหวัด โดยมอบให้กรมการปกครองพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การประกาศภัยพิบัติ แล้วแจ้งให้กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางทราบ เพื่อประกอบการแก้ไข ปรับปรุงระเบียบต่อไป
ประเด็นที่ 2 การขยายวงเงินทดรองราชการ และ
ประเด็นที่ 3 การขอแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลัง ที่ประชุมเห็นว่าเป็นอำนาจของกระทรวงการคลังที่จะนำไปพิจารณา ซึ่งกระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการไประดับหนึ่งแล้ว กล่าวคือ ได้มีหนังสือสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับวงเงินและการปรับปรุงแก้ไขการใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2538 และแก้ไขเพิ่มเติม ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา
2. การช่วยเหลือหลังระยะวิกฤต (การช่วยเหลือจากเงินงบกลางและผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.))
ประเด็นที่ 1 ในการเกิดภัยแต่ละครั้ง ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถขอวงเงินงบกลางจำนวนหนึ่งได้ เพื่อใช้สำรองจ่ายเป็นการล่วงหน้าก่อนในช่วงแรกของการช่วยเหลือ ที่ประชุมเห็นสมควรให้มีคณะกรรมการกลางโดยขออำนาจพิจารณาอนุมัติวงเงินจากคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการชุดนี้สามารถอนุมัติวงเงินได้โดยตรงและแจ้งสำนัก-งบประมาณเพื่อจัดสรรเงินได้ทันที คณะกรรมการกลางประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นประธานผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นคณะกรรมการ มีสำนักงบประมาณ เป็นเลขานุการ (ตามมติประชุมที่สำนักงบประมาณ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2543)
ประเด็นที่ 2 เงื่อนไขการช่วยเหลือให้มีการจดทะเบียนเกษตรกร ที่ประชุมเห็นด้วยที่จะให้มีการจดทะเบียนเกษตรกร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรประมวลภาพรวมจากฐานข้อมูลเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.และสมาชิกสหกรณ์ ซึ่งรวมกันแล้วมีถึงร้อยละ 90 ของเกษตรกรทั่วประเทศ
ประเด็นที่ 3 การจ่ายเป็นเงินสด โดยจ่ายเท่ากับจำนวนที่จะได้รับการช่วยเหลือตามเกณฑ์ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล โดยสำนักงบประมาณเห็นว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถดำเนินการได้ โดยทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ประเด็นที่ 4 กรณีการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูสภาพการผลิต โดยให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ผ่าน ธ.ก.ส. ผลต่างของดอกเบี้ย รัฐบาลเป็นผู้ชดเชยให้ โดยสำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดเชยแต่ละปี ทั้งนี้ ให้นำหารือในระดับนโยบายร่วมกับกระทรวงการคลัง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรต่อไป
3. ประเด็นอื่น ๆ (นอกเหนือจากที่เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นการเสนอเพิ่มเติมในที่ประชุม)
ประเด็นที่ 1 ขอเพิ่มเติมช่วยเหลือเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงของกรมชลประธาน กระทรวงการคลังรับที่จะนำเรื่องนี้ไปพิจารณาในการปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการฯ
ประเด็นที่ 2 การช่วยเหลือพืชอายุสั้นไม่ต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ซึ่งสำนักงบประมาณได้ตอบเรื่องนี้ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำหารืออย่างเป็นทางการ เป็นการก่อหนี้ผูกพันก่อนได้รับเงินประจำงวด ซึ่งไม่อาจกระทำได้ตามนัยมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วมีความเห็น ดังนี้
1. ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 หากมีความจำเป็นส่วนราชการสามารถช่วยเหลือเกษตรกรเป็นเงินสดได้โดยขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นกรณีไป แต่สำหรับการช่วยเหลือเกษตรกรหลังระยะวิกฤตนั้นจะต้องมีการสำรวจความเสียหายให้เสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อจะได้ช่วยเหลือเกษตรกรได้ตรงตามความต้องการที่แท้จริงอย่างไรก็ดีอาจมีกรณีที่เกษตรกรไม่อาจรอผลการสำรวจและช่วยตัวเองไปก่อน และมีมติคณะรัฐมนตรีให้ความช่วยเหลือเป็นเงินสดได้ เห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือไม่เกินหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบของกระทรวงการคลัง
2. กรณีขอผูกพันก่อนได้รับอนุมัติเงินประจำงวดในการช่วยเหลือพันธุ์พืชอายุสั้นนั้น ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยอันเนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำและอิทธิพลจากพายุ "เกมี" เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ทันฤดูกาล โดยให้เป็นไปตามแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 เรื่อง ขออนุมัติหลักการสำหรับการดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติในการช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยใช้พันธุ์ข้าวที่มีสำรองไว้ตามศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั่วประเทศและการแจกจ่ายปุ๋ยเคมี โดยใช้ปุ๋ยเคมีตามโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีปี 2540 - 2541 ที่ยังคงเหลือค้างอยู่ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดนั้น หากมีเหตุผลชี้แจงได้ว่าวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมิอาจปฏิบัติตามขั้นตอนปกติของการบริหารงบประมาณ และแนวทางการปฏิบัติการเป็นไปโดยสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่โดยที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังไม่ได้แจ้งจำนวนปุ๋ยที่เหลือค้างอยู่ที่จะผูกพันงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดในการขออนุมัติช่วยเหลือดังกล่าว ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นภาระเงินงบประมาณมากเพียงใด ในกรณีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจ้งจำนวนปุ๋ยที่เหลือค้างอยู่ทั้งหมดที่จะขอผูกพันเงินประจำงวดเพื่อการช่วยเหลือดังกล่าว และสามารถระบุจำนวนเงินที่จะเป็นภาระงบประมาณได้แล้ว สำนักงบประมาณก็ไม่ขัดข้องในหลักการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะขอให้มีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ธ.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เรื่องการปรับปรุงแนวทางการช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยธรรมชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 ซึ่งมีหลายประเด็นที่ต้องดำเนินการต่อหลายประเด็นต้องรอผลการพิจารณาปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการในการให้ความช่วยเหลือโดยจ่ายเป็นเงินสด (การช่วยเหลือหลังระยะวิกฤตจากเงินงบกลาง) เนื่องจากที่ประชุมเห็นว่าขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังในรายละเอียดต่อไป
2. อนุมัติเพื่อก่อหนี้ผูกพันก่อนได้รับเงินประจำงวด ตามนัยมาตรา 23 (วรรคสี่) ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในการช่วยเหลือพืชอายุสั้น ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการแล้ว เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ได้จัดประชุมร่วมกับกระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และหน่วยงานในสังกัด เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดประชุมเองอีกหลายครั้ง ผลการพิจารณาสรุปได้ดังนี้
1. การช่วยเหลือในช่วงระยะวิกฤตการเกิดภัย (การช่วยเหลือจากเงินทดรองราชการ) เนื่องจากการปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเป็นอำนาจของกระทรวงการคลัง ที่ประชุมจึงมีมติ ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การประกาศระยะวิกฤตการเกิดภัย เห็นสมควรให้ประกาศโดยคณะกรรมการป้องกันภัยระดับจังหวัด โดยมอบให้กรมการปกครองพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การประกาศภัยพิบัติ แล้วแจ้งให้กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางทราบ เพื่อประกอบการแก้ไข ปรับปรุงระเบียบต่อไป
ประเด็นที่ 2 การขยายวงเงินทดรองราชการ และ
ประเด็นที่ 3 การขอแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลัง ที่ประชุมเห็นว่าเป็นอำนาจของกระทรวงการคลังที่จะนำไปพิจารณา ซึ่งกระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการไประดับหนึ่งแล้ว กล่าวคือ ได้มีหนังสือสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับวงเงินและการปรับปรุงแก้ไขการใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2538 และแก้ไขเพิ่มเติม ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา
2. การช่วยเหลือหลังระยะวิกฤต (การช่วยเหลือจากเงินงบกลางและผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.))
ประเด็นที่ 1 ในการเกิดภัยแต่ละครั้ง ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถขอวงเงินงบกลางจำนวนหนึ่งได้ เพื่อใช้สำรองจ่ายเป็นการล่วงหน้าก่อนในช่วงแรกของการช่วยเหลือ ที่ประชุมเห็นสมควรให้มีคณะกรรมการกลางโดยขออำนาจพิจารณาอนุมัติวงเงินจากคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการชุดนี้สามารถอนุมัติวงเงินได้โดยตรงและแจ้งสำนัก-งบประมาณเพื่อจัดสรรเงินได้ทันที คณะกรรมการกลางประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นประธานผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นคณะกรรมการ มีสำนักงบประมาณ เป็นเลขานุการ (ตามมติประชุมที่สำนักงบประมาณ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2543)
ประเด็นที่ 2 เงื่อนไขการช่วยเหลือให้มีการจดทะเบียนเกษตรกร ที่ประชุมเห็นด้วยที่จะให้มีการจดทะเบียนเกษตรกร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรประมวลภาพรวมจากฐานข้อมูลเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.และสมาชิกสหกรณ์ ซึ่งรวมกันแล้วมีถึงร้อยละ 90 ของเกษตรกรทั่วประเทศ
ประเด็นที่ 3 การจ่ายเป็นเงินสด โดยจ่ายเท่ากับจำนวนที่จะได้รับการช่วยเหลือตามเกณฑ์ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล โดยสำนักงบประมาณเห็นว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถดำเนินการได้ โดยทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ประเด็นที่ 4 กรณีการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูสภาพการผลิต โดยให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ผ่าน ธ.ก.ส. ผลต่างของดอกเบี้ย รัฐบาลเป็นผู้ชดเชยให้ โดยสำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดเชยแต่ละปี ทั้งนี้ ให้นำหารือในระดับนโยบายร่วมกับกระทรวงการคลัง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรต่อไป
3. ประเด็นอื่น ๆ (นอกเหนือจากที่เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นการเสนอเพิ่มเติมในที่ประชุม)
ประเด็นที่ 1 ขอเพิ่มเติมช่วยเหลือเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงของกรมชลประธาน กระทรวงการคลังรับที่จะนำเรื่องนี้ไปพิจารณาในการปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการฯ
ประเด็นที่ 2 การช่วยเหลือพืชอายุสั้นไม่ต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ซึ่งสำนักงบประมาณได้ตอบเรื่องนี้ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำหารืออย่างเป็นทางการ เป็นการก่อหนี้ผูกพันก่อนได้รับเงินประจำงวด ซึ่งไม่อาจกระทำได้ตามนัยมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วมีความเห็น ดังนี้
1. ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 หากมีความจำเป็นส่วนราชการสามารถช่วยเหลือเกษตรกรเป็นเงินสดได้โดยขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นกรณีไป แต่สำหรับการช่วยเหลือเกษตรกรหลังระยะวิกฤตนั้นจะต้องมีการสำรวจความเสียหายให้เสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อจะได้ช่วยเหลือเกษตรกรได้ตรงตามความต้องการที่แท้จริงอย่างไรก็ดีอาจมีกรณีที่เกษตรกรไม่อาจรอผลการสำรวจและช่วยตัวเองไปก่อน และมีมติคณะรัฐมนตรีให้ความช่วยเหลือเป็นเงินสดได้ เห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือไม่เกินหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบของกระทรวงการคลัง
2. กรณีขอผูกพันก่อนได้รับอนุมัติเงินประจำงวดในการช่วยเหลือพันธุ์พืชอายุสั้นนั้น ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยอันเนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำและอิทธิพลจากพายุ "เกมี" เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ทันฤดูกาล โดยให้เป็นไปตามแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 เรื่อง ขออนุมัติหลักการสำหรับการดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติในการช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยใช้พันธุ์ข้าวที่มีสำรองไว้ตามศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั่วประเทศและการแจกจ่ายปุ๋ยเคมี โดยใช้ปุ๋ยเคมีตามโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีปี 2540 - 2541 ที่ยังคงเหลือค้างอยู่ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดนั้น หากมีเหตุผลชี้แจงได้ว่าวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมิอาจปฏิบัติตามขั้นตอนปกติของการบริหารงบประมาณ และแนวทางการปฏิบัติการเป็นไปโดยสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่โดยที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังไม่ได้แจ้งจำนวนปุ๋ยที่เหลือค้างอยู่ที่จะผูกพันงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดในการขออนุมัติช่วยเหลือดังกล่าว ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นภาระเงินงบประมาณมากเพียงใด ในกรณีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจ้งจำนวนปุ๋ยที่เหลือค้างอยู่ทั้งหมดที่จะขอผูกพันเงินประจำงวดเพื่อการช่วยเหลือดังกล่าว และสามารถระบุจำนวนเงินที่จะเป็นภาระงบประมาณได้แล้ว สำนักงบประมาณก็ไม่ขัดข้องในหลักการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะขอให้มีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ธ.ค. 2543--
-สส-