ทำเนียบรัฐบาล--6 ก.พ.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร ครั้งที่ 4 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2543) ดังนี้
1. การพิจารณาโครงการของคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร (Program Steering Committee : PSC) คณะกรรมการบริหารฯ ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติรายละเอียดแผนงาน/โครงการ และกรอบวงเงินแล้ว รวมทั้งสิ้น 22 ครั้ง จำนวน 15 โครงการ อนุมัติให้ดำเนินการจำนวน 14 โครงการ วงเงิน 16,654.04 ล้านบาท ให้ปรับปรุงและจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมจำนวน 1 โครงการ ยังมิได้นำเสนอคณะกรรมการบริหารฯ จำนวน 5 โครงการ
2. ผลการอนุมัติค่าใช้จ่ายโครงการ ส่วนราชการซึ่งได้รับการอนุมัติโครงการตามข้อ 1 จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายของแต่ละโครงการ ให้สำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่าย โดยสำนักงบประมาณได้อนุมัติค่าใช้จ่ายแล้วจำนวน 9 โครงการ วงเงิน 3,083.93 ล้านบาท ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นการอนุมัติเฉพาะยอดเงินที่ต้องเบิกจ่ายในปี 2543-44 และยอดเงินผูกพันข้ามปี
3. การดำเนินงานตามกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) ซึ่งระบุไว้ในหนังสือสดงกรอบ นโยบายเพื่อการพัฒนา ซึ่งรัฐบาลไทยได้ตกลงไว้ในการขอรับความช่วยเหลือจากแหล่งเงินกู้ จำนวน 72 รายการ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 41 รายการ ดังนี้
3.1 มาตรการที่เป็นเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินกู้งวดแรก (1st Tranche US$ 150 m) จำนวน 22 รายการ ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และ ADB ได้ปล่อยเงินกู้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2542)
3.2 มาตรการที่เป็นเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินกู้งวดจูงใจพิเศษ (Incentive Subtranche US$ 50 m) จำนวน 10 รายการ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 6 รายการ คาดว่าจะมี 2 มาตรการที่จะดำเนินการเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ส่วนอีก 2 มาตรการต้องรอมติคณะรัฐมนตรี
3.3 มาตรการที่เป็นเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินกู้งวดสุดท้าย (Final Subtranche US$ 100 m) จำนวน 11 รายการ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 3 รายการ มาตรการที่เหลือคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544
3.4 มาตรการที่ไม่ได้เป็นเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินกู้ แต่รัฐบาลจะต้องดำเนินการ จำนวน 29 รายการ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 10 รายการ
4. การจัดระบบการติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างการเกษตร บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนด ในช่วงของการเริ่มต้นการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องวางระบบการติดตาม ประเมินผล และรายงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารโครงการทุกระดับ ในการติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรม ตลอดช่วงการดำเนินงานของโครงการ มีความพร้อมอยู่เสมอ ที่จะกระทำการแก้ไขได้ทันท่วงทีที่โครงการเกิดปัญหา หรือดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ก.พ. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร ครั้งที่ 4 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2543) ดังนี้
1. การพิจารณาโครงการของคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร (Program Steering Committee : PSC) คณะกรรมการบริหารฯ ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติรายละเอียดแผนงาน/โครงการ และกรอบวงเงินแล้ว รวมทั้งสิ้น 22 ครั้ง จำนวน 15 โครงการ อนุมัติให้ดำเนินการจำนวน 14 โครงการ วงเงิน 16,654.04 ล้านบาท ให้ปรับปรุงและจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมจำนวน 1 โครงการ ยังมิได้นำเสนอคณะกรรมการบริหารฯ จำนวน 5 โครงการ
2. ผลการอนุมัติค่าใช้จ่ายโครงการ ส่วนราชการซึ่งได้รับการอนุมัติโครงการตามข้อ 1 จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายของแต่ละโครงการ ให้สำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่าย โดยสำนักงบประมาณได้อนุมัติค่าใช้จ่ายแล้วจำนวน 9 โครงการ วงเงิน 3,083.93 ล้านบาท ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นการอนุมัติเฉพาะยอดเงินที่ต้องเบิกจ่ายในปี 2543-44 และยอดเงินผูกพันข้ามปี
3. การดำเนินงานตามกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) ซึ่งระบุไว้ในหนังสือสดงกรอบ นโยบายเพื่อการพัฒนา ซึ่งรัฐบาลไทยได้ตกลงไว้ในการขอรับความช่วยเหลือจากแหล่งเงินกู้ จำนวน 72 รายการ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 41 รายการ ดังนี้
3.1 มาตรการที่เป็นเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินกู้งวดแรก (1st Tranche US$ 150 m) จำนวน 22 รายการ ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และ ADB ได้ปล่อยเงินกู้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2542)
3.2 มาตรการที่เป็นเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินกู้งวดจูงใจพิเศษ (Incentive Subtranche US$ 50 m) จำนวน 10 รายการ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 6 รายการ คาดว่าจะมี 2 มาตรการที่จะดำเนินการเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ส่วนอีก 2 มาตรการต้องรอมติคณะรัฐมนตรี
3.3 มาตรการที่เป็นเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินกู้งวดสุดท้าย (Final Subtranche US$ 100 m) จำนวน 11 รายการ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 3 รายการ มาตรการที่เหลือคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544
3.4 มาตรการที่ไม่ได้เป็นเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินกู้ แต่รัฐบาลจะต้องดำเนินการ จำนวน 29 รายการ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 10 รายการ
4. การจัดระบบการติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างการเกษตร บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนด ในช่วงของการเริ่มต้นการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องวางระบบการติดตาม ประเมินผล และรายงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารโครงการทุกระดับ ในการติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรม ตลอดช่วงการดำเนินงานของโครงการ มีความพร้อมอยู่เสมอ ที่จะกระทำการแก้ไขได้ทันท่วงทีที่โครงการเกิดปัญหา หรือดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ก.พ. 2544--
-สส-