ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการพัฒนาบริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ในส่วนภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
และโครงการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ (ปรับปรุงใหม่) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. โครงการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ โดย
1.1 ให้บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จัดตั้งบริษัทจำกัด และเมื่อบริษัทจำกัดดังกล่าวจดทะเบียน
เพิ่มทุนครบเต็มจำนวน 1,200 ล้านบาท จะมีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย
ผู้ถือหุ้น ร้อยละ จำนวนเงิน (ล้านบาท)
- องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) 54.98 659.80
- การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) 40.00 480.00
- บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) 0.20 0.20
- พนักงาน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย 5.00 60.00
รวม 100.00 1,200.00
1.2 ให้บริษัทจำกัดดังกล่าวได้รับสิทธิการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ ย่านความถี่ 1900 MHz
จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย
1.3 ให้บริษัทจำกัดดังกล่าวได้รับ
1) ยกเว้นไม่ต้องนำคำสั่ง กฎระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่ว
ไปมาใช้บังคับ
2) สิทธิสามารถปรับอัตราค่าบริการได้อย่างอิสระเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับกลยุทธ์
ทางการตลาด ทั้งนี้ อัตราค่าบริการที่ปรับในภาพรวมจะไม่เกินอัตราค่าบริการที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่ง
ประเทศไทยกำหนด
1.4 ให้ บวท. ทศท. และ กสท. ลงทุนถือหุ้นในบริษัทจำกัดดังกล่าว ตามสัดส่วนในข้อ 1.1 โดยไม่ต้อง
นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติอีก
2. โครงการพัฒนาบริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ในส่วนภูมิภาคของ กสท. โดยมีเป้าหมาย จัดซื้ออุปกรณ์ชุมสายวิทยุ
เซลลูล่าร์ ขนาดชุมสายละไม่ต่ำกว่า 30,000 เลขหมาย จำนวน 3 ชุมสาย และสถานีวิทยุเครือข่ายระบบ (Digital CDMA) จำนวน
ไม่น้อยกว่า 41 สถานี พร้อมอุปกรณ์ประกอบที่จำเป็น ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 2 ปี (ปีงบประมาณ 2542 - 2543) และคาดว่า
จะสามารถเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป ใช้เงินรายได้ของ กสท. เป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,200 ล้านบาท
สำหรับสาระสำคัญของโครงการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ สรุปได้ดังนี้
1. โครงสร้างผู้ถือหุ้น ของบริษัทร่วมทุนที่จะดำเนินโครงการ ตามสัดส่วนในข้อ 1.1
2. เป้าหมาย บริษัทร่วมทุนได้กำหนดเป้าหมายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่เป็น 2 ระยะ กล่าวคือ
ระยะที่ 1
- ดำเนินการก่อสร้างข่ายระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในย่าน 1900 MHz ให้ครอบคลุมพื้นที่ในเขต กรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล ให้สามารถรองรับเครื่องลูกข่ายในระยะเริ่มแรกได้ประมาณ 100,000 เลขหมาย เริ่มให้บริการได้ภายในปี 2544 หรือ 13
เดือน นับตั้งแต่โครงการได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และดำเนินการเพื่อความจุโครงข่ายให้รองรับเครื่องลูกข่ายได้เพิ่มเป็น 300,000
เลขหมาย ภายในปี 2547
ระยะที่ 2
- ดำเนินการก่อสร้างโครงข่ายระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป โดยจะขยายโครงข่าย
ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ทั้งนี้ จะนำรายได้จากการให้บริการตามผลการดำเนินงานของระยะที่ 1 มา
เป็นเงินลงทุนดำเนินการ
3. โครงการนี้ (ระยะที่ 1) มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี นับตั้งแต่จัดตั้งบริษัทถึงกำหนดติดตั้งแล้วเสร็จทั้งโครงข่าย
4. แผนการเงิน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 4,216 ล้านบาท โดยจะใช้เงินลงทุนจาก
- เงินรายได้ของบริษัท ประมาณ 2,116 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 50
- เงินกู้ประมาณ 2,100 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 50
5. ผลตอบแทนการลงทุน โครงการนี้จะมีผลตอบแทนทางการเงิน (IRR) ประมาณ 13.11% มูลค่าปัจจุบัน (NPV ณ อัตราคิด
ลด 12%) เท่ากับ 127.86 ล้านบาท และระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 9 ปี 5 เดือน และระบบนี้จะคิดค่าเช่าเลขหมาย 300
บาท/เลขหมาย/เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการพัฒนาบริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ในส่วนภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
และโครงการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ (ปรับปรุงใหม่) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. โครงการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ โดย
1.1 ให้บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จัดตั้งบริษัทจำกัด และเมื่อบริษัทจำกัดดังกล่าวจดทะเบียน
เพิ่มทุนครบเต็มจำนวน 1,200 ล้านบาท จะมีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย
ผู้ถือหุ้น ร้อยละ จำนวนเงิน (ล้านบาท)
- องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) 54.98 659.80
- การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) 40.00 480.00
- บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) 0.20 0.20
- พนักงาน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย 5.00 60.00
รวม 100.00 1,200.00
1.2 ให้บริษัทจำกัดดังกล่าวได้รับสิทธิการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ ย่านความถี่ 1900 MHz
จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย
1.3 ให้บริษัทจำกัดดังกล่าวได้รับ
1) ยกเว้นไม่ต้องนำคำสั่ง กฎระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่ว
ไปมาใช้บังคับ
2) สิทธิสามารถปรับอัตราค่าบริการได้อย่างอิสระเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับกลยุทธ์
ทางการตลาด ทั้งนี้ อัตราค่าบริการที่ปรับในภาพรวมจะไม่เกินอัตราค่าบริการที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่ง
ประเทศไทยกำหนด
1.4 ให้ บวท. ทศท. และ กสท. ลงทุนถือหุ้นในบริษัทจำกัดดังกล่าว ตามสัดส่วนในข้อ 1.1 โดยไม่ต้อง
นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติอีก
2. โครงการพัฒนาบริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ในส่วนภูมิภาคของ กสท. โดยมีเป้าหมาย จัดซื้ออุปกรณ์ชุมสายวิทยุ
เซลลูล่าร์ ขนาดชุมสายละไม่ต่ำกว่า 30,000 เลขหมาย จำนวน 3 ชุมสาย และสถานีวิทยุเครือข่ายระบบ (Digital CDMA) จำนวน
ไม่น้อยกว่า 41 สถานี พร้อมอุปกรณ์ประกอบที่จำเป็น ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 2 ปี (ปีงบประมาณ 2542 - 2543) และคาดว่า
จะสามารถเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป ใช้เงินรายได้ของ กสท. เป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,200 ล้านบาท
สำหรับสาระสำคัญของโครงการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ สรุปได้ดังนี้
1. โครงสร้างผู้ถือหุ้น ของบริษัทร่วมทุนที่จะดำเนินโครงการ ตามสัดส่วนในข้อ 1.1
2. เป้าหมาย บริษัทร่วมทุนได้กำหนดเป้าหมายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่เป็น 2 ระยะ กล่าวคือ
ระยะที่ 1
- ดำเนินการก่อสร้างข่ายระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในย่าน 1900 MHz ให้ครอบคลุมพื้นที่ในเขต กรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล ให้สามารถรองรับเครื่องลูกข่ายในระยะเริ่มแรกได้ประมาณ 100,000 เลขหมาย เริ่มให้บริการได้ภายในปี 2544 หรือ 13
เดือน นับตั้งแต่โครงการได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และดำเนินการเพื่อความจุโครงข่ายให้รองรับเครื่องลูกข่ายได้เพิ่มเป็น 300,000
เลขหมาย ภายในปี 2547
ระยะที่ 2
- ดำเนินการก่อสร้างโครงข่ายระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป โดยจะขยายโครงข่าย
ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ทั้งนี้ จะนำรายได้จากการให้บริการตามผลการดำเนินงานของระยะที่ 1 มา
เป็นเงินลงทุนดำเนินการ
3. โครงการนี้ (ระยะที่ 1) มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี นับตั้งแต่จัดตั้งบริษัทถึงกำหนดติดตั้งแล้วเสร็จทั้งโครงข่าย
4. แผนการเงิน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 4,216 ล้านบาท โดยจะใช้เงินลงทุนจาก
- เงินรายได้ของบริษัท ประมาณ 2,116 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 50
- เงินกู้ประมาณ 2,100 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 50
5. ผลตอบแทนการลงทุน โครงการนี้จะมีผลตอบแทนทางการเงิน (IRR) ประมาณ 13.11% มูลค่าปัจจุบัน (NPV ณ อัตราคิด
ลด 12%) เท่ากับ 127.86 ล้านบาท และระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 9 ปี 5 เดือน และระบบนี้จะคิดค่าเช่าเลขหมาย 300
บาท/เลขหมาย/เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ค. 2543--
-สส-