ทำเนียบรัฐบาล--31 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานประมาณการดุลการชำระเงินของไทยปี 2543 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
ดุลการชำระเงินในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2543 ขาดดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศของภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร สูงถึง 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการชำระหนี้ก่อนกำหนดประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการชำระภาวะ swap Y2K ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มสภาพคล่องเงินบาทให้แก่สถาบันการเงินในประเทศในช่วงเดือนธันวาคม 2542 จำนวน 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดยังอยู่ในระดับสูง 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 2543 คาดว่าฐานะดุลการชำระเงินที่ประมาณจากดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลบัญชีเงินทุนจะมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากการชะลอลงของการชำระหนี้ต่างประเทศภาคเอกชน เพราะได้มีการชำระหนี้ต่างประเทศทั้งที่ครบกำหนด และชำระก่อนกำหนดไปเป็นจำนวนมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ส่วนภาคทางการจะมีการชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศงวดแรกประมาณ 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่แม้จะมีแนวโน้มลดลงจากปีที่แล้วแต่ก็ยังคงอยู่ในระดับสูง
ดังนั้น ดุลการชำระเงินในปี 2543 จะขาดดุลประมาณ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขาดดุลบัญชีเงินทุนประมาณ 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปัจจุบัน (ระดับเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 เป็น 32.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยดุลการค้าคาดว่าจะเกินดุล 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และดุลบริการบริจาค เกินดุล 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้
การส่งออก คาดว่ามูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 30.0 โดยมีมูลค่า 60.0 พันล้านดอลลารห์สหรัฐฯ ปริมาณการส่งออกจะขยายตัวสูงต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าขยายตัวต่อเนื่อง แต่ราคาจะลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากภาวะตกต่ำของราคาสินค้าเกษตร และราคาสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดโลกในช่วงครึ่งแรกของปี โดยสินค้าสำคัญที่คาดว่าจะขยายตัวสูงคือ สินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีสูง ได้แก่ แผนวงจรรวมและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก เนื่องจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าขยายตัวสูง ประกอบกับยังมีกำลังการผลิตภายในประเทศที่สามารถตอบสนองได้ ทางด้านสินค้าสำคัญในกลุ่มที่ใช้แรงงานสูง และในกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบในประเทศขยายตัวดีเช่นกัน ที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง และ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ส่วนสินค้าเกษตรและประมงคาดว่าจะขยายตัวดี โดยเฉพาะยางพารา และกุ้งสดแช่แข็ง ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มว่าราคาสินค้าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น
การนำเข้า คาดว่ามูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 31.0 โดยมีมูลค่า 62.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณจะเพิ่มขั้นต่อเนื่องจากปีก่อนในทุกหมวดสินค้า ทั้งสินค้าทุน วัตถุดิบ และกึ่งวัตถุดิบ และน้ำมันดิบ ทางด้านราคานำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 จากผลของราคานำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงครึ่งหลังของปีเป็นสำคัญ และการอ่อนค่าของเงินบาท
ดุลบริการและบริจาค คาดว่าจะเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเป็น 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากรายรับจากการท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจโลก ประกอบกับยอดหนี้คงค้างของภาคเอกชน ที่ลดลง เนื่องจากการชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดและก่อนกำหนดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายในช่วงที่เหลือของปีลดลงมาก
ดุลบัญชีเงินทุนเครื่อนย้าย ขาดดุล 12.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยเป็นการขาดดุลเงินทุนของภาคเอกชนเกือบทั้งหมด ในขณะที่มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศน้อยกว่าปีก่อน ซึ่งมีการเพิ่มทุนสูงในภาคสถาบันการเงิน
ภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร มีการชำระหนี้ต่างประเทศ 6.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (รวมการชำระหนี้ก่อนกำหนดประมาณ 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ธนาคารพาณิชย์ มีการชำระหนี้ของกิจการในวิเทศธนกิจ และการทำธุรกรรมเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงตามปกติของการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ทำให้มีเงินทุนไหลออกรวม 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ภาคทางการ ธนาคารแห่งประเทศไทยชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ในขณะที่กระทรวงการคลังนำเข้าเงินกู้สุทธิเพียงเล็กน้อย ทำให้ดุลเงินทุนภาคทางการขาดดุล 0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานประมาณการดุลการชำระเงินของไทยปี 2543 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
ดุลการชำระเงินในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2543 ขาดดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศของภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร สูงถึง 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการชำระหนี้ก่อนกำหนดประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการชำระภาวะ swap Y2K ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มสภาพคล่องเงินบาทให้แก่สถาบันการเงินในประเทศในช่วงเดือนธันวาคม 2542 จำนวน 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดยังอยู่ในระดับสูง 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 2543 คาดว่าฐานะดุลการชำระเงินที่ประมาณจากดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลบัญชีเงินทุนจะมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากการชะลอลงของการชำระหนี้ต่างประเทศภาคเอกชน เพราะได้มีการชำระหนี้ต่างประเทศทั้งที่ครบกำหนด และชำระก่อนกำหนดไปเป็นจำนวนมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ส่วนภาคทางการจะมีการชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศงวดแรกประมาณ 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่แม้จะมีแนวโน้มลดลงจากปีที่แล้วแต่ก็ยังคงอยู่ในระดับสูง
ดังนั้น ดุลการชำระเงินในปี 2543 จะขาดดุลประมาณ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขาดดุลบัญชีเงินทุนประมาณ 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปัจจุบัน (ระดับเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 เป็น 32.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยดุลการค้าคาดว่าจะเกินดุล 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และดุลบริการบริจาค เกินดุล 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้
การส่งออก คาดว่ามูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 30.0 โดยมีมูลค่า 60.0 พันล้านดอลลารห์สหรัฐฯ ปริมาณการส่งออกจะขยายตัวสูงต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าขยายตัวต่อเนื่อง แต่ราคาจะลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากภาวะตกต่ำของราคาสินค้าเกษตร และราคาสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดโลกในช่วงครึ่งแรกของปี โดยสินค้าสำคัญที่คาดว่าจะขยายตัวสูงคือ สินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีสูง ได้แก่ แผนวงจรรวมและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก เนื่องจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าขยายตัวสูง ประกอบกับยังมีกำลังการผลิตภายในประเทศที่สามารถตอบสนองได้ ทางด้านสินค้าสำคัญในกลุ่มที่ใช้แรงงานสูง และในกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบในประเทศขยายตัวดีเช่นกัน ที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง และ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ส่วนสินค้าเกษตรและประมงคาดว่าจะขยายตัวดี โดยเฉพาะยางพารา และกุ้งสดแช่แข็ง ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มว่าราคาสินค้าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น
การนำเข้า คาดว่ามูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 31.0 โดยมีมูลค่า 62.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณจะเพิ่มขั้นต่อเนื่องจากปีก่อนในทุกหมวดสินค้า ทั้งสินค้าทุน วัตถุดิบ และกึ่งวัตถุดิบ และน้ำมันดิบ ทางด้านราคานำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 จากผลของราคานำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงครึ่งหลังของปีเป็นสำคัญ และการอ่อนค่าของเงินบาท
ดุลบริการและบริจาค คาดว่าจะเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเป็น 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากรายรับจากการท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจโลก ประกอบกับยอดหนี้คงค้างของภาคเอกชน ที่ลดลง เนื่องจากการชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดและก่อนกำหนดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายในช่วงที่เหลือของปีลดลงมาก
ดุลบัญชีเงินทุนเครื่อนย้าย ขาดดุล 12.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยเป็นการขาดดุลเงินทุนของภาคเอกชนเกือบทั้งหมด ในขณะที่มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศน้อยกว่าปีก่อน ซึ่งมีการเพิ่มทุนสูงในภาคสถาบันการเงิน
ภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร มีการชำระหนี้ต่างประเทศ 6.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (รวมการชำระหนี้ก่อนกำหนดประมาณ 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ธนาคารพาณิชย์ มีการชำระหนี้ของกิจการในวิเทศธนกิจ และการทำธุรกรรมเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงตามปกติของการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ทำให้มีเงินทุนไหลออกรวม 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ภาคทางการ ธนาคารแห่งประเทศไทยชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ในขณะที่กระทรวงการคลังนำเข้าเงินกู้สุทธิเพียงเล็กน้อย ทำให้ดุลเงินทุนภาคทางการขาดดุล 0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ต.ค. 2543--
-สส-