ทำเนียบรัฐบาล--12 เม.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบการประเมินผลโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้สนับสนุนการจัดทำโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค เพื่อเป็นกลไกเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนโดยปลูกจิตสำนึกให้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ ตลอดจนปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีของสังคม
โครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2539 ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) และจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ชื่อว่า "โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ" สศช. ได้ประสานขอความร่วมมือให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา เป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินผลโครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ เนื่องจากเป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีความเป็นกลาง มีชื่อเสียงและผลเป็นที่ยอมรับในด้านการวิจัยและบริการวิชาการ ซง สศช. และ สยช. ได้พิจารณากรอบแนวคิดในการติดตามประเมินผลแผนการดำเนินงาน เครื่องมือและกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว เห็นว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยมีแนวทางการติดตามประเมินผลโครงการ ดังนี้
1. กรอบแนวคิดในการติดตามโครงการ จะประเมินกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ผู้จัด ผู้รับผิดชอบกิจกรรม และครู อาจารย์ โดยจะประเมิน 4 ด้าน คือ การบริหารจัดการคุณลักษณะของเยาวชน การมีส่วนร่วมของชุมชน ผลกระทบ
กลุ่มที่ 2 ผู้ปกครอง ประชาชน และพระ โดยจะประเมิน 3 ด้าน คือ คุณลักษณะของเยาวชน การมีส่วนร่วมของชุมชน ผลกระทบ
กลุ่มที่ 3 เด็ก และเยาวชน โดยจะประเมิน 2 ด้าน คือ คุณลักษณะของเยาวชน ผลกระทบ
2. วิธีการประเมิน ใช้แบบประเมิน และการสัมภาษณ์กลุ่มป้าหมายทั้ง 3 กลุ่ม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์- เมษายน 2543 ณ เขตอำเภอเมืองและเทศบาลเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้เงินงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 41,000 บาท และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 30,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประเมินโครงการ
- ได้ข้อมูลบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี โดยมีเครื่องมือภูมิจริยธรรมเป็นกลไกชี้วัดและสนับสนุนเพื่อให้เกิดชุมชนและสังคมที่มีความอบอุ่นเอื้ออาทรและเข้มแข็ง
- ได้ข้อมูลนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการนำร่องฯ ให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ และนำไปขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 เมษายน 2543--
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบการประเมินผลโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้สนับสนุนการจัดทำโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค เพื่อเป็นกลไกเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนโดยปลูกจิตสำนึกให้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ ตลอดจนปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีของสังคม
โครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2539 ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) และจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ชื่อว่า "โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ" สศช. ได้ประสานขอความร่วมมือให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา เป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินผลโครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ เนื่องจากเป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีความเป็นกลาง มีชื่อเสียงและผลเป็นที่ยอมรับในด้านการวิจัยและบริการวิชาการ ซง สศช. และ สยช. ได้พิจารณากรอบแนวคิดในการติดตามประเมินผลแผนการดำเนินงาน เครื่องมือและกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว เห็นว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยมีแนวทางการติดตามประเมินผลโครงการ ดังนี้
1. กรอบแนวคิดในการติดตามโครงการ จะประเมินกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ผู้จัด ผู้รับผิดชอบกิจกรรม และครู อาจารย์ โดยจะประเมิน 4 ด้าน คือ การบริหารจัดการคุณลักษณะของเยาวชน การมีส่วนร่วมของชุมชน ผลกระทบ
กลุ่มที่ 2 ผู้ปกครอง ประชาชน และพระ โดยจะประเมิน 3 ด้าน คือ คุณลักษณะของเยาวชน การมีส่วนร่วมของชุมชน ผลกระทบ
กลุ่มที่ 3 เด็ก และเยาวชน โดยจะประเมิน 2 ด้าน คือ คุณลักษณะของเยาวชน ผลกระทบ
2. วิธีการประเมิน ใช้แบบประเมิน และการสัมภาษณ์กลุ่มป้าหมายทั้ง 3 กลุ่ม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์- เมษายน 2543 ณ เขตอำเภอเมืองและเทศบาลเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้เงินงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 41,000 บาท และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 30,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประเมินโครงการ
- ได้ข้อมูลบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี โดยมีเครื่องมือภูมิจริยธรรมเป็นกลไกชี้วัดและสนับสนุนเพื่อให้เกิดชุมชนและสังคมที่มีความอบอุ่นเอื้ออาทรและเข้มแข็ง
- ได้ข้อมูลนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการนำร่องฯ ให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ และนำไปขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 เมษายน 2543--